รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
26 กรกฎาคม 2567
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
ผู้เขียน ขนิษฐา จันทร์เจริญ
คณะจิตวิทยา จุฬาฯ จัดงานแถลงข่าว“การคัดเลือกรางวัลสุดยอดองค์กรเสริมสร้างสุขภาวะทางจิต (Thai Mind Awards)” ด้วยความร่วมมือกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เมื่อวันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม 2567 ณ ศูนย์กลางนวัตกรรมทางสังคมแห่งจุฬาฯ (CU Social Innovation Hub) อาคารวิศิษฐ์ ประจวบเหมาะ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ เพื่อดำเนินการพัฒนาระบบเกณฑ์การคัดเลือกสุดยอดองค์กรสร้างเสริมสุขภาวะทางจิต ด้วยความมุ่งหวังผลักดันให้องค์กรทุกระดับเล็งเห็นถึงความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาวะทางจิต และคัดเลือกองค์กรต้นแบบด้านสุขภาวะ โดยมี ผศ.ดร.ณัฐสุดา เต้พันธ์ คณบดีคณะจิตวิทยา จุฬาฯ กล่าวต้อนรับ และ ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เป็นประธานเปิดงานแถลงข่าวครั้งนี้
ในงานมีการเสวนาในหัวข้อ “การเข้าร่วมการคัดเลือกสุดยอดองค์กรสร้างเสริมสุขภาวะทางจิต Thai Mind Awards” ผู้ร่วมเสวนาได้แก่ ศ.ดร.คณพล จันทร์หอม ผู้รักษาการรองอธิการบดีจุฬาฯ กล่าวถึงความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาวะที่ดีในการทำงานในบริบทของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.นพ.วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ รองโฆษกกระทรวงสาธารณสุข และผู้ร่วมก่อตั้งสถาบันวิชาการเพื่อความยั่งยืนทางสุขภาพจิต (TIMS) กล่าวถึงความสำคัญของปัญหาสุขภาพจิตในองค์กร ดร.ตฤณ ทวิธารานนท์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กล่าวถึงสุขภาพจิตคนทำงานและองค์กรในยุคดิจิทัล อ.ดร.เจนนิเฟอร์ ชวโนวานิช รองคณบดีคณะจิตวิทยา จุฬาฯ และผู้ร่วมก่อตั้งสถาบันวิชาการเพื่อความยั่งยืนทางสุขภาพจิต กล่าวถึงผลการสำรวจสุขภาวะของคนทำงานและปัจจัยสำคัญในการสร้างเสริมสุขภาวะในองค์กรและ ผศ.ดร.ประพิมพา จรัสรัตนกุล รองคณบดีคณะจิตวิทยา จุฬฯ ผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวถึงสุดยอดองค์กรสร้างเสริมสุขภาวะทางจิต และโครงสร้างการวัดผลองค์กรสร้างเสริมสุขภาวะทางจิต
ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า โครงการ “Thai Mind Awards” เป็นความร่วมมือระหว่าง สสส. กับคณะจิตวิทยา จุฬาฯ ที่ได้ร่วมมือกันผ่านการสนับสนุนทุนการดำเนินงานและทุนวิจัยในการสนับสนุนการขับเคลื่อนงานด้านสร้างเสริมสุขภาพจิต ปัจจุบันพบว่าสถานที่ทำงานเป็นแหล่งที่สร้างความเครียดและสุขภาพจิตทางลบให้แก่พนักงาน จากข้อมูลพบว่าประเทศไทยมีผู้ป่วยจิตเวชเพิ่มขึ้น และมีอัตราการฆ่าตัวตายที่สูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มคนวัยทำงาน ข้อมูลจากกรมสุขภาพจิตระบุว่าสาเหตุุหลักของการฆ่าตัวตายในกลุ่มคนทำงานมาจากปัญหาความเครียดสะสมเรื่องงาน เศรษฐกิจ และครอบครัว ดังนั้นการประเมินสุดยอดองค์กรสร้างเสริมสุขภาวะทางจิต Thai Mind Awards ในครั้งนี้ จึงเป็นเหมือนการสำรวจและเฟ้นหาองค์กรที่ให้ความสำคัญกับสุขภาวะทางจิตของพนักงาน มีการสร้างระบบงานที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาด้านจิตใจของคนทำงาน เพื่อที่จะขับเคลื่อนและสร้างองค์กรต้นแบบด้านสุขภาวะที่ดีของสังคมไทย และเป็นแบบอย่างหรือแรงบันดาลใจในการพัฒนาด้านสุขภาวะของคนทำงานต่อไปในอนาคต
ศ.ดร.คณพล จันทน์หอม ผู้รักษาการรองอธิการบดีจุฬาฯ กล่าวว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีนโยบายให้ความสำคัญกับสุขภาวะทางจิตของทั้งนิสิต อาจารย์ และบุคลากรมหาวิทยาลัยอย่างสม่ำเสมอ เพราะการทำงานไม่ได้มีเพียงแค่ฝ่ายบริหารที่เป็นผู้กำหนดความก้าวหน้าและการเติบโตขององค์กร แต่บุคลากรทุกคนคือฟันเฟืองที่จะนำพาให้องค์กรขับเคลื่อนไปข้างหน้าด้วยกัน ดังนั้นการให้ความสำคัญกับสุขภาวะของบุคลากรทั้งด้านกายภาพและจิตใจจึงมีความสำคัญมาก เหมือนเป็นการหยอดเติมน้ำมันให้กับฟันเฟืองขององค์กรให้มีความแข็งแรงและมีประสิทธิภาพอยู่เสมอ โดยเฉพาะองค์กรที่เกี่ยวข้องกับผู้คนจำนวนมาก ยิ่งต้องทำให้พนักงานตระหนักว่าการมีสุขภาวะทางจิตในการทำงานที่ดีซึ่งจะสามารถทำให้องค์กรของเราก้าวไปข้างหน้า
ดร.นพ.วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ รองโฆษกกระทรวงสาธารณสุข และผู้ร่วมก่อตั้งสถาบันวิชาการเพื่อความยั่งยืนทางสุขภาพจิต (TIMS) กล่าวว่า ปัญหาสุขภาพจิตกำลังกลายเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันที่ AI กำลังเข้ามาแทนที่แรงงานมนุษย์ ซึ่งทำให้เกิดความเครียดในการทำงานที่เพิ่มขึ้น เสมือนสภาพจิตใจของพนักงานนั้นถูกมองข้ามไป ดังนั้นเทคโนโลยีเป็นเสมือนดาบสองคมที่มีทั้งข้อดีและมีข้อเสีย หากองค์กรต่างไม่พร้อมรับมือจะทำให้ล้มเหลวในการบริหารดูแลสุขภาวะทางจิตของพนักงาน เป้าหมายของงาน Thai Mind Awards จึงไม่ได้มุ่งหวังไปที่องค์กรผู้ชนะเพียงอย่างเดียว แต่ต้องการให้ทุกหน่วยงานเกิดความตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาวะทางจิตของพนักงานที่เพิ่มขึ้น
ดร.ตฤณ ทวิธารานนท์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) ระบุว่า ที่ ETDA มีความต้องการให้พนักงานเน้นการใช้เทคโนโลยีมาช่วยทำงานมากขึ้น แต่ที่ผ่านมากลับเจอผลลัพธ์ในทางลบ โดยพบว่าการที่มีเทคโนโลยีเข้ามาทำให้พนักงานมีความเครียดสะสม ยกตัวอย่างเช่น การทำงาน Work from home ที่สะดวกก็จริง ในขณะเดียวกันก็ทำให้คนทำงานหนักมากขึ้น และอยู่กับงานในระยะเวลาที่ยาวนานมากขึ้น หน่วยงานต่าง ๆ จึงต้องมานั่งตีความในมุมมองใหม่เพื่อหากลยุทธที่จะสามารถใช้เทคโนโลยีอย่างไรให้เกิด Productivity และไม่ไปทำลายสุขภาวะทางจิตของพนักงาน
อ.ดร.เจนนิเฟอร์ ชวโนวานิช รองคณบดีคณะจิตวิทยา จุฬาฯ และผู้ร่วมก่อตั้งสถาบันวิชาการเพื่อความยั่งยืนทางสุขภาพจิต (TIMS) ได้รายงานผลการสำรวจสุขภาวะของคนทำงาน และปัจจัยสำคัญในการสร้างเสริมสุขภาวะในองค์กร โดยระบุว่าในปัจจุบันพนักงานมีภาวะที่เรียกว่า Presenteeism หรือภาวะการณ์ฝืนทำงานแม้มีความเจ็บป่วยทางร่างกายสูงขึ้น โดยสาเหตุหลักที่ทำให้คนเลือกที่จะฝืนทำงาน ได้แก่ ความคิดที่ว่าไม่มีใครสามารถทำงานที่รับผิดชอบแทนเราได้ ความจำเป็นทางด้านการเงิน หรือกลัวการถูกประเมินไม่ดีจากหัวหน้า ตลอดจนความรู้สึกที่ว่ายังทำไหวอยู่ และไม่ได้เป็นมากพอที่จะต้องหยุดทำงาน จากการสำรวจมุมมองของคนทำงานพบว่านโยบายที่พนักงานคิดว่ามีความสำคัญต่อการส่งเสริมสุขภาวะทางจิตที่ดีในการทำงานนั้น ได้แก่ การเพิ่มสวัสดิการด้านการรักษาสุขภาพกายและใจ คิดเป็นสัดส่วนมากที่สุด รองลงมาคือการจัดอบรมให้ความรู้และจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพกายและจิตใจ การเพิ่มสวัสดิการการลาและการพักผ่อน ด้านการส่งเสริมการพูดคุยสื่อสารและรับฟังปัญหาซึ่งกันและกัน การสร้างบรรยากาศและวัฒนธรรมที่ดีในองค์กร และการเพิ่มสวัสดิการค่าตอบแทน ค่าอาหาร และโบนัส
ผศ.ดร.ประพิมพา จรัลรัตนกุล รองคณบดีคณะจิตวิทยา จุฬาฯ ผู้รับผิดชอบโครงการ Thai Mind Awards กล่าวทิ้งท้ายว่า ที่ผ่านมาหลายองค์กรมักเข้าใจผิดคิดว่าการดูแลพนักงานที่ดีคือการดูแค่พนักงานร่างกายไม่เจ็บป่วยหรือได้รับเงินเดือนที่เพียงพอ ในความเป็นจริงแล้วองค์กรที่ดีควรต้องดูแลสิ่งแวดล้อมทางด้านกายภาพ (Physical environment) และสิ่งแวดล้อมด้านจิตใจ (Psychological environment) ของพนักงานควบคู่ไปด้วยกัน ซึ่งหัวใจสำคัญของการเสริมสร้างสุขภาวะทางจิตที่ดีต้องประกอบไปด้วยมิติทั้ง 5 ด้านของ GRACE ประกอบด้วย G = Growth & Development หรือการสนับสนุนด้านการเติบโตและพัฒนาการของพนักงาน R = Recognition หรือการแสดงออกและการรับรู้ถึงความสามารถและความสำเร็จของพนักงาน A = All for inclusion หรือการให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของพนักงาน C = Care for health & safety หรือการดูแลด้านสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงาน และ E = work-life Enrichment หรือการมีนโยบายด้านความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน หากองค์กรสามารถดูแลทั้ง 5 ด้านของ GRACE ให้พนักงานได้จะเป็นแนวทางการพัฒนาที่เสริมสร้างสุขภาวะทางจิตที่ดีให้แก่พนักงานได้ต่อไป
สำหรับองค์กรที่สนใจเข้าร่วมประกวดคัดเลือกเป็น “สุดยอดองค์กรสร้างเสริมสุขภาวะทางจิต” (Thai Mind Awards) สามารถส่งใบสมัครและผลงานเข้าร่วมประกวดได้ที่ https://chulapsychology.qualtrics.com/jfe/form/SV_eDKHjhhzzZV1I2i ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 15 กันยายน 2567 รับจำนวนจำกัดเพียง 50 องค์กรเท่านั้น โดยคณะจิตวิทยา จุฬาฯ จะทำการคัดเลือกผู้ชนะ 5 องค์กรที่มีความโดดเด่นในมิติด้านต่าง ๆ ของ GRACE และมีสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมสุขภาวะทางจิตที่ดีให้แก่พนักงาน ทุกองค์กรที่เข้าร่วมประกวดจะได้รับประกาศนียบัตรและได้รับผลการประเมินสุขภาวะทางจิตของพนักงานภายในองค์กรของตนเองที่ผ่านการวิเคราะห์โดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านจิตวิทยาและการบริหารทรัพยากรมนุษย์
ทั้งนี้องค์กรที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้ชนะทั้ง 5 องค์กร จะได้รับถ้วยรางวัล Thai Mind Awards และประกาศนียบัตร พร้อมได้รับเชิญให้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ในงานมอบรางวัล Thai Mind Awards ซึ่งเป็นโอกาสในการสร้างเครือข่ายกับองค์กรชั้นนำ และผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพจิต ตลอดจนยังจะได้รับการถ่ายทอดเรื่องราวขององค์กรผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ของคณะจิตวิทยา จุฬาฯ เพื่อเป็นแบบอย่างและแนวทางให้องค์กรอื่น ๆ สามารถนำไปประยุกต์และปรับใช้เพื่อสร้างเสริมสุขภาวะทางจิตให้แก่พนักงานทุกองค์กรได้ต่อไป
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมบริจาคโลหิต โครงการ “MDCU Give Blood for All”
30 ก.ย. - 4 ต.ค. 67
ลานอเนกประสงค์ อาคารอานันทมหิดล คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
นิสิต BBA จุฬาฯ คว้ารางวัลระดับโลกจากการแข่งขัน ASEAN-CHINA-INDIA Youth Leadership Summit 2024
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมการประชุมมนุษยศาสตร์ดิจิทัลไทย 2024: วิถีดิจิทัลในมนุษยศาสตร์สู่การพัฒนาทุนมนุษย์อย่างยั่งยืน
SHECU จัดประชุมเครือข่ายความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ครั้งที่ 4 ชูแนวคิด Digital Transformation เพื่อยกระดับความปลอดภัยระดับประเทศ
วิศวฯ จุฬาฯ จับมือประเทศญี่ปุ่น เสริมสมรรถภาพโครงสร้างพื้นฐานไทย พร้อมรับมอบระบบทดสอบความล้ามูลค่า 19 ล้าน
โครงการ “เล่นเพลิน” ต้อนรับปิดเทอมสำหรับน้อง ๆ ปฐมวัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้