รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
31 กรกฎาคม 2567
งานวิจัยและนวัตกรรม, Awards & Honours, ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ, ความเป็นนานาชาติ, ภาพข่าว
ผู้เขียน ธิติรัตน์ สมบูรณ์
อาจารย์คณะครุศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์นวัตกรรมโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ส่งผลงานนวัตกรรมทั้งสิ้น 16 ผลงานเข้าร่วมการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมในงาน 13th 2024 World Invention Creativity Olympics & Conference จัดโดย Korea University Invention Association (KUIA) and World Invention Intellectual Property Association (WIIPA) เมื่อวันที่ 23-24 กรกฎาคม 2567 ณ Seoul University of education Convention Hall กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี โดยสามารถคว้ารางวัล Grand Prize 3 Special Award on stage 3 Special Award และ 16 เหรียญทอง จากการประกวดนวัตกรรมครั้งนี้ นำชื่อเสียงและความภาคภูมิใจมาสู่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผลงานของอาจารย์จุฬาฯ และนักเรียนโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ที่กวาดรางวัลจากการประกวดนวัตกรรมระดับนานาชาติครั้งนี้มีดังนี้
1. ผลงาน “Pinto Scent: a customizable multi-scented inhaler” ได้รับรางวัล Grand Prize และรางวัลเหรียญทอง พัฒนาโดย ด.ญ.เอวิกา คล้ายสังข์ และ อ.จีระศักดิ์ จิตรโรจนรักษ์ (อาจารย์ที่ปรึกษา)
2. ผลงาน “Kitty Go : Eco friendly portable disposable litter box” ได้รับรางวัลเหรียญทอง และ Special Award on stage จาก World Invention Intellectual Property Association (WIIPA) พัฒนาโดย Mr.Robert Armstrong และ อ.จีระศักดิ์ จิตรโรจนรักษ์
3. ผลงาน “WASEN” ได้รับรางวัลเหรียญทอง และ Special Award on stage จาก Korea University Invention Association (KUIA) พัฒนาโดย ด.ญ.พิริยา วงศ์พิวัฒน์ ด.ญ.พิรดา วงศ์พิวัฒน์ ด.ช.ศุภณัฐ์ กุลหิรัญ และด.ช.เจตน์ กุลหิรัญ
4. ผลงาน “NCDs free Analysis” ได้รับรางวัลเหรียญทอง และ Special Award on stage จาก Korea University Invention Association (KUIA) พัฒนาโดย น.ส.นาราภัทร เห็นการไกล
5. ผลงาน “FutureMe: a game-changing self-learning platform for learners to boost their future skillsets” ได้รับรางวัลเหรียญทอง และ Special Award จาก World Invention Intellectual Property Association (WIIPA) พัฒนาโดย ศ.ดร.จินตวีร์ คล้ายสังข์ และ รศ.ดร.ประกอบ กรณีกิจ
6. ผลงาน “BERD: The Bio-Eco Rock Development Project” ได้รับรางวัลเหรียญทอง และ Special Award จาก World Invention Intellectual Property Association (WIIPA) พัฒนาโดย นายธิปก ตั้งศิริพัฒน์ ด.ญ.อลิสา ไตรวิทยากร ด.ช.ภัทรพล วนิชวัฒนะ
7. ผลงาน “Yummy Move : Mobile Street Food Tracking Application for Enhancing Local Commerce” ได้รับรางวัลเหรียญทอง และ Special Award จาก World Invention Intellectual Property Association (WIIPA) พัฒนาโดย ด.ช.สรกฤช ธัญญวรรณ์ ด.ช.ภาริธ น้อยคง ด.ช.ศรัณยพงศ์ ภิยโยภาพ และ ด.ช.วัชรวิชย์ พงษ์ไพรัช
8. ผลงาน “Red cell detector” ได้รับรางวัลเหรียญทอง พัฒนาโดย รศ.ดร.ดวงดาว ปาละสุวรรณ รศ.ดร.อรรถกร ปาละสุวรรณ ภาควิชาจุลทรรศน์ศาสตร์คลินิก คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ และ รศ.ดร.ธนารัตน์ ชลิดาพงศ์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
9. ผลงาน “Blox-cycle : Eco-Friendly Building Blocks from Recycled Parcel Boxes” ได้รับรางวัลเหรียญทอง พัฒนาโดย อ.จีระศักดิ์ จิตรโรจนรักษ์ Mr.Robert Armstrong อ.น้ำผึ้ง ทวีพรปฐมกุล และนายปรินทร แจ้งทวี
10. ผลงาน “Virtual StudioLab: Igniting Scientific Creativity: Fostering Scientific Creativity through STEAM Tools, Reflective Learning, and Real-World Engagement” ได้รับรางวัลเหรียญทอง พัฒนาโดย น.ส.กุลชญา พิบูลย์ (นิสิตปริญญาเอก) ศ.ดร.จินตวีร์ คล้ายสังข์ (อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก) รศ.ดร.ประกอบ กรณีกิจ (อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม)
11. ผลงาน “Comfy Me” ได้รับรางวัลเหรียญทอง พัฒนาโดย น.ส.สุธากร แก้วคำฟู น.ส.ภิญญดา ธัญญวรรณ์ นายธรรญ์ อิษฎาวงศ์ นายรัชพล ธรรมจาโร (โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์)
12. ผลงาน “Eyebrella” ได้รับรางวัลเหรียญทอง พัฒนาโดย ด.ญ.ณิชานันท์ สมานมงคล ด.ญ.มานะมิ ฮิโกะ ชมภู ด.ญ.กวิสรา อัศวกำธร และ ด.ช.กฤตลักษณ์ อัศวกำธร
13. ผลงาน “TenniTube” ได้รับรางวัลเหรียญทอง พัฒนาโดย ด.ช.ธนภณ ปาละสุวรรณ และ ด.ช.ณัฐณพัชร์ ปาละสุวรรณ
14. ผลงาน “Miracle Eyes” ได้รับรางวัลเหรียญทอง พัฒนาโดย ด.ช.พีร์วศุตม์ แสงตระกูล ด.ญ.ปุญชรัศมิ์ เจนสุทธิเวชกุล และ ด.ช.จักร์ ลียากาศ
15. ผลงาน “CASE 1st AID distributor” ได้รับรางวัลเหรียญทอง พัฒนาโดย ด.ญ.สิรรินทร์ ประสิทธิ์ดำรง ด.ญ.ลภัส อุดมแสวงทรัพย์ ด.ช.ธนินกิตติ์ ประสิทธิ์ดำรง (โรงเรียนสาธิตปทุมวัน) และ ด.ช.ปรานต์ อุดมแสวงทรัพย์ (โรงเรียนนานาชาติโชรส์เบอรี)
16. ผลงาน “Brain Stormer Box” ได้รับรางวัลเหรียญทอง พัฒนาโดย ด.ช.ภูธน ตั้งสืบกุล ด.ญ.ภูริชญา วัชราภรนินทร์
นิสิตบัญชี จุฬาฯ คว้ารางวัลจากการแข่งขันกรณีศึกษาทางบัญชีระดับประเทศ ครั้งที่ 8 ประจำปี 2567
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ เชิญฟังการบรรยายพิเศษ 2 หัวข้อในโครงการ “Architecture and Design for Society Lecture Series AY2024”
นวัตกรรมจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้รับรางวัลเลิศรัฐ ประจำปี 2567 สาขาบริการภาครัฐ ระดับดีเด่น ประเภทนวัตกรรมการบริการ
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดโครงการ “พุทธศิลป์ พุทธศึกษา จากพระพุทธปฏิมาสู่การอนุรักษ์”
ศศินทร์ เสริมทักษะนักลงทุนให้นิสิตด้วย TradingView
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เชิญชมนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ “แผนที่ประวัติศาสตร์ กรุงเทพฯ 2515”
23 กันยายน - 8 พฤศจิกายน 2567
ห้องสมุดคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้