รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
1 สิงหาคม 2567
ข่าวเด่น
ผู้เขียน ธิติรัตน์ สมบูรณ์
รศ.ดร.วิเชฏฐ์ คนซื่อ ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ เป็นผู้แทนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเข้าร่วมพิธีประกาศเจตจำนงเครือข่ายพลังสื่อสารวิทยาศาสตร์ เครือข่ายพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้วิทยาศาสตร์ครั้งแรกของประเทศไทย ในงาน “Empowering Science Communication and Science Museums” เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2567 ณ ห้องประชุม 208 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยมีนายเพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานในพิธีมี น.ส.สุณีย์ เลิศเพียรธรรม หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวง อว. พร้อมด้วย ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) และผู้บริหารหน่วยงานเครือข่ายสื่อสารวิทยาศาสตร์ พิพิธภัณฑ์ และแหล่งเรียนรู้วิทยาศาสตร์เข้าร่วมงาน เพื่อผนึกกำลังขับเคลื่อนวิทยาศาสตร์ของไทยให้เติบโตแข็งแกร่งและสร้างประโยชน์ให้กับประเทศ
นายเพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ ปลัดกระทรวง อว. เปิดเผยว่า การรวมพลังของเครือข่ายพลังสื่อสารวิทยาศาสตร์และเครือข่ายพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของประเทศไทยในครั้งนี้ นับเป็นก้าวสำคัญในการสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งให้กับวงการวิทยาศาสตร์ไทย โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับศักยภาพของประเทศและสร้างสังคมที่ขับเคลื่อนด้วยวิทยาศาสตร์ เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์และทรัพยากรระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อให้เป็นเครือข่ายความร่วมมือในการขับเคลื่อนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของสังคมไทยต่อไป โครงการนี้มุ่งเน้นที่การพัฒนาแหล่งเรียนรู้วิทยาศาสตร์ รวมถึงการสนับสนุนทรัพยากรในแต่ละพื้นที่เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ตลอดจนการส่งเสริมการสื่อสารวิทยาศาสตร์ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะการปลูกฝังให้เยาวชนคนรุ่นใหม่เกิดความสนใจและความเข้าใจวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น
ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการ อพวช. เปิดเผยถึงการประกาศเจตจำนงความร่วมมือในการรวมพลังเป็นเครือข่ายฯ ในครั้งนี้ว่า มีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนกว่า 45 หน่วยงานเข้าร่วม ผลการดำเนินโครงการจะสร้างความรู้และทักษะให้กับบุคลากรด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของสังคม ชุมชน โรงเรียน และครอบครัว เสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ให้บุคลากรสามารถรู้เท่าทันวิทยาศาสตร์ รวมทั้งเป็นเวทีแลกเปลี่ยนมุมมองและองค์ความรู้ แนวทางการดำเนินงานด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ และการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และธรรมชาติ ซึ่งจะนำไปสู่การหาแนวทางความร่วมมือในการส่งเสริมความเข้มแข็งของเครือข่ายฯ ต่อไป
นอกจากนี้ ในงาน“Empowering Science Communication and Science Museums”ยังมีการเสวนาในหัวข้อต่างๆ ที่น่าสนใจ โดย รศ.ดร.วิเชฏฐ์ คนซื่อ ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ได้ร่วมเสวนาในหัวข้อ “แหล่งเรียนรู้สู่แรงบันดาลใจด้านวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม” เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2567 อีกด้วย
Chula Social Engagement: ระบบนิเวศทางวัฒนธรรมในบริบทสังคมสูงวัยที่จังหวัดน่าน
อบรมเชิงปฏิบัติการ “CU Etiquettes” ครั้งที่ 2 “พิธีการสงฆ์”
อบรมเชิงปฏิบัติการ “CU Etiquettes” ครั้งที่ 3 “มารยาทการรับประทานอาหารตามหลักสากล”
จุฬาฯ จัดงานเลี้ยงเชิดชูเกียรตินักกีฬาบุคลากรจุฬาฯ ที่ร่วมแข่งขัน “ตุมปังเกมส์”
จุฬาฯ นำเสนอนวัตกรรมสุดล้ำ “Deep GI phase 2” AI ตรวจมะเร็งกระเพาะ ตับ ท่อน้ำดี ถ่ายทอดสดสู่เวทีโลกในงาน IDEN 2025 ที่เกาหลีใต้
ศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ ร่วมจัดการประชุมวิชาการนานาชาติ ฉลองการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทย–จีน 50 ปี และครบรอบ 50 ปี มิตรภาพไทย–จีน
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้