รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
13 สิงหาคม 2567
ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ, งานวิจัยและนวัตกรรม, ความเป็นนานาชาติ
ผู้เขียน เมธาพร ไตรกิจวัฒนกุล
คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับศูนย์นวัตกรรมโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม จัดการประกวดผลงานนวัตกรรมระดับชาติและนานาชาติ ชิงถ้วยพระราชทาน จำนวน 7 รางวัล ภายใต้งานสาธิตวิชาการครั้งที่ 9 เมื่อวันที่ 8 – 9 สิงหาคม 2567 ณ ห้องนิทรรศสถาน และห้องประชุมดวงเดือน พิศาลบุตร คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ โดยมีครูและนักเรียนชาวไทยสนใจส่งใบสมัครเข้าร่วมงาน 195 ผลงาน และผลงานนานาชาติ มีผู้ส่งผลงานเข้าร่วม 61 ผลงาน รวมทั้งสิ้น 256 ผลงาน
พิธีมอบถ้วยรางวัลพระราชทานการประกวดผลงานนวัตกรรมระดับชาติและนานาชาติจัดขึ้นเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2567 ณ ห้องประชุมดวงเดือน พิศาลบุตร คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ โดยมี ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร ผู้รักษาการอธิการบดีจุฬาฯ เป็นประธานในพิธี
ผลงานที่ได้รับถ้วยพระราชทานมีดังนี้
ถ้วยพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จำนวน 2 รางวัล
– รุ่นครูระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ได้แก่ ผลงานชื่อ “ใคร…คือผู้ถูกเลือก” โดย นางสาวพัชระ นวลปาน และ นายอรรถพล หอมไม้ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา
– รุ่นครูระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ได้แก่ ผลงานชื่อ “การพัฒนาบอร์ดเกมออนไลน์ตามแนวทางการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองดิจิทัล สู่จริยธรรมแห่งปัญญาประดิษฐ์ “War of Digital Citizenship…สงครามพลเมืองดิจิทัล” โดย นายวชิรวิทย์ เอี่ยมวิลัย โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ลพบุรี
ถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี จำนวน 2 รางวัล
– รุ่นครูระดับประถมศึกษา ได้แก่ ผลงานชื่อ “ECO-Deco: Glittering Decoration Sand from Waste Green Mussel Shells” โดย Mr.Robert Armstrong โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม
– รุ่นครูระดับปฐมวัย ได้แก่ ผลงานชื่อ “CU-Dough: Anti-bacterial dough Cu nanoparticles” โดยอาจารย์น้ำผึ้ง ทวีพรปฐมกุล โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม
ถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา จำนวน 1 รางวัล
รุ่นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ได้แก่ ผลงานชื่อ “หูแม่ค้าทุเรียนเสมือน: แอปพลิเคชันจำแนกความสุกของทุเรียนสายพันธุ์หมอนทองด้วยปัญญาประดิษฐ์” โดย นางสาวชนัญธิชา ปัญญาสงค์ และ นางสาวนวพร ยางผสม โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก โดยมี นางณัฐภัสสร เหล่าเนตร์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
ถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา จำนวน 1 รางวัล
รุ่นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ได้แก่ ผลงานชื่อ“หุ่นยนต์ตรวจจับและเก็บกู้เศษอวนที่ติดตามแนวปะการัง” (Kiwa robot) โดย เด็กชายสิรธีร์ อิสระพงศ์ภักดี เด็กชายฑีฆายุ ขวัญนิล เด็กชายณภัทร ไหมนวล เด็กชายธีรัช ธาตวากร โรงเรียนขจรเกียรติศึกษา จ.ภูเก็ต โดยมี นายชัยรัตน์ ศรีลาวรรณ และนางสาวอภิญญา ทวีชาติ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
ถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร จำนวน 1 รางวัล
รุ่นนักเรียนระดับประถมศึกษา ได้แก่ ผลงานชื่อ “Pinto Scent” โดยเด็กหญิงเอวิกา คล้ายสังข์ จากโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม โดยมี อาจารย์น้ำผึ้ง ทวีพรปฐมกุล เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
ในส่วนของผลงานนานาชาติได้มีการคัดเลือกให้มาร่วมแสดงผลงานจำนวน 30 ผลงาน แบ่งเป็นผลงานระดับเหรียญทอง 10 ผลงาน ระดับเหรียญเงิน 10 ผลงาน และระดับเหรียญทองแดง 10 ผลงาน
เปิดมิติใหม่ความร่วมมือ จุฬาฯ และ AFP ขยายโอกาสนิสิตไทยในวงการสื่อสารระดับโลก
คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ “รักษาฟันฟรี” ถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เนื่องในวันทันตสาธารณสุขแห่งชาติ
17 ต.ค. 67 เวลา 08.00 น.
อาคารบรมนาถศรีนครินทร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
เสวนา Chula the Impact ครั้งที่ 25 “แพลตฟอร์มจุฬาฯ ฝ่าพิบัติ: Digital War Room” นวัตกรรมจากจุฬาฯ ที่ใช้ชี้จุด คาดคะเน และให้ข้อมูลผู้ประสบภัยได้อย่างแม่นยำและทันสมัย
9 ต.ค. 67
ห้องประชุม 202 อาคารจามจุรี 4 จุฬาฯ
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดการประชุมวิชาการ The 1st International Study Group on Creative Arts Therapy ดูแลสุขภาวะด้วยศิลปะบำบัด
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ จัดบรรยายพิเศษครั้งที่ 7 “Human + Machine: A New Territories of Design” แลกเปลี่ยนความรู้การออกแบบในโลกดิจิทัล
PMCU เชิญร่วมงานเทศกาลอิ่มเจ อิ่มบุญ อิ่มความสุข ที่สามย่าน-บรรทัดทอง
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้