รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
28 สิงหาคม 2567
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ และสำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาฯ ร่วมกับ บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 จัดพิธีเปิดงาน “CHULABOOK FAIR 2024” Revolutionizing Reading with AI เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2567 ณ ลานกิจกรรม ชั้น 1 สยามสเคป โดยมี ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร ผู้รักษาการอธิการบดีจุฬาฯ เป็นประธานในพิธีเปิดงาน พร้อมมอบ Coupon Code Chulabook AI Library และ Gift Voucher ให้แก่นักเรียนในชุมชนเขตปทุมวัน โดยมีนักเรียนจากโรงเรียนปทุมวนาราม เป็นตัวแทนรับมอบเพื่อนำไปใช้ในการเรียนและการศึกษาต่อไป
ในงานมีพิธีส่งมอบหนังสือในกิจกรรม”ส่งต่อความรู้….สู่เยาวชนยุค AI” โดย ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร ผู้รักษาการอธิการบดีจุฬาฯ เป็นผู้แทนส่งมอบหนังสือให้แก่คุณชาคริต ดิเรกวัฒนชัย รองกรรมการผู้อำนวยการ สำนักกิจการและสื่อสารองค์กร บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสี ช่อง 3 และ กาจบัณฑิต ใจดี (จูเนียร์) ชญานิศ จ่ายเจริญ (ติ๊ต๊ะ) นักแสดงจากละคร น่าน ฟ้า ชลาลัย ช่อง 3 เพื่อนำไปส่งมอบต่อให้โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร พื้นที่เขตคลองเตย กรุงเทพฯ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืน นอกจากนี้ยังมีการจัดโซน Chulabook AI Library สัมผัสประสบการณ์ด้านการอ่านรูปแบบใหม่ที่ผู้อ่านได้พูดคุยกับผู้เขียนในรูปแบบ AI Experience
ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร ผู้รักษาการอธิการบดีจุฬาฯ กล่าวว่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีพันธกิจสำคัญในการสร้างสรรค์สังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการอ่านและการเรียนรู้ เพื่อตอบสนองพฤติกรรมด้านการอ่านของคนในสังคมที่มีความเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงมีบทบาทในการให้บริการด้านการอ่านในรูปแบบที่หลากหลาย อาทิ หนังสือ e-book, e-Library ตลอดจนการนำเทคโนโลยี AI มาให้บริการ เพื่อการเข้าถึงแหล่งความรู้ที่สนองตอบความต้องการของคนทุกเพศทุกวัย การอ่านหนังสือผ่านหนังสือ หรือ E-book ทำให้ผู้อ่านเข้าถึงทักษะและความเข้าใจ ความรู้อาจล้าสมัยได้ แต่ความฉลาดไม่เคยล้าสมัย หนังสือไม่ได้เป็นสิ่งที่ให้ความรู้เพียงอย่างเดียวแต่ให้ข้อคิด ให้ปัญญา ความฉลาดและทักษะ การจัดงาน CHULABOOK FAIR 2024 ไม่ใช่เป็นงานที่ส่งเสริมการอ่านเพียงอย่างเดียว แต่ต้องการให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งการกระตือรือร้นในการเรียนรู้ให้มากขึ้น นำมาซึ่งการบ่มเพาะความรู้และความฉลาด หนังสืออาจเลือนหายไปตามกาลเวลา แต่สิ่งที่ได้จากหนังสือจะอยู่ในความคิด ทัศนคติ ประสบการณ์ซึ่งเป็นสิ่งที่มีคุณค่าอย่างแท้จริง
งาน “CHULABOOK FAIR 2024” Revolutionizing Reading with AI” ที่ศูนย์หนังสือจุฬาฯ จัดขึ้นเป็นการตอบสนองปณิธานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการเป็น AI University เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา ประชาชนทั่วไป ได้เลือกสรรหนังสือจากสำนักพิมพ์ชั้นนำของไทย และสื่อการเรียนรู้อันทันสมัย รวมถึงการเปิดประสบการณ์ด้านการอ่านในรูปแบบดิจิทัล ที่บูธ Chulabook AI Library นวัตกรรม Chula Book AI Library จะตอบสนองความต้องการของผู้อ่านให้เข้าถึงแหล่งความรู้ได้หลากหลายรูปแบบและตรงตามความต้องการ
งาน “CHULABOOK FAIR 2024” Revolutionizing Reading with AI จัดขึ้นระหว่างวันที่ 28 สิงหาคม – 6 กันยายน 2567 เวลา 10.00–20.00 น. ณ ลานกิจกรรม ชั้น 1 สยามสเคป พบกับหนังสือจากสำนักพิมพ์ชั้นนำทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ สื่อการเรียนรู้ สินค้าไลฟ์สไตล์ที่กำลังเป็นกระแสของวัยรุ่นสยามสแควร์ที่นำมาให้ทดลองเล่นฟรีตลอดงาน และยีงมีกิจกรรมให้ความรู้ด้านการเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัยจากติวเตอร์ที่ชื่อเสียง กิจกรรมให้ความรู้ด้าน AI กิจกรรมให้ความรู้ด้านการออมการลงทุน ฯลฯ ทั้งนี้ภายในงานยังเปิดให้ผู้สนใจสามารถส่งมอบหนังสือดีสำหรับเด็กและเยาวชนให้แก่โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร พื้นที่เขตคลองเตยได้อีกด้วย
PMCU ร่วมกับ “ศิลปินรวมใจเปิดหมวก” ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมภาคเหนือ กับคอนเสิร์ตเปิดหมวก ตอน “น้ำลดเพื่อนผุด” @SiamSquare Walking Street
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2566 เป็นวันที่สาม
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ ร่วมกับ Degree Plus เปิดอบรมหลักสูตรผู้บริหาร “Decentralized Finance and Blockchain”
วิศวฯ จุฬา จัดเสวนา “เข้าใจน้ำท่วม แนวคิดวิศวกร”
10 ต.ค. 67 เวลา 14.00 น.
ห้องประชุมชั้น 2 อาคารเจริญวิศวกรรม (ตึก 4) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2566 เป็นวันที่สอง
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2566
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้