รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
2 กันยายน 2567
ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยสำนักบริหารระบบกายภาพ ร่วมกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UDDC) เตรียมแผนพัฒนามหาวิทยาลัยยั่งยืน เพื่อนำจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไปสู่มหาวิทยาลัยต้นแบบของประเทศไทยที่บูรณาการการพัฒนาอย่างยั่งยืน การพัฒนาผังแม่บทและการออกแบบอาคารตามเกณฑ์ LEED (Leadership in Energy and Environmental Design) นับเป็นก้าวสำคัญในการสร้างความยั่งยืนในวงการก่อสร้างและสถาปัตยกรรมในมหาวิทยาลัยไทย
LEED เป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับทั่วโลกในการประเมินและรับรองอาคารที่มีการออกแบบและก่อสร้างอย่างยั่งยืน โดยเน้นการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการใช้พลังงานและน้ำ การลดของเสียและมลพิษ การใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการออกแบบที่ช่วยประหยัดพลังงาน การออกแบบตามเกณฑ์ LEED ไม่เพียงแต่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาคมจุฬาฯ และเป็นก้าวสำคัญในการสร้างอนาคตที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ในโอกาสนี้ คณาจารย์จุฬาฯ ผู้รับผิดชอบโครงการฯ ได้นำเสนอโครงการศึกษาและทบทวนผังแม่บทจุฬาฯ ศตวรรษที่ 2 : เขตการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สู่มหาวิทยาลัยต้นแบบ LEED Certification เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนแก่ ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร ผู้รักษาการอธิการบดีจุฬาฯ เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2567 ณ ห้องประชุม 211 อาคารจามจุรี 4
เชิญร่วมงานคืนเหย้าชาวจุฬาฯ “108 ปี จามจุรีประดับใจ” 26 มีนาคม 2568
26 มี.ค. 68
สนามหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์สองรัชกาล
เชิญชาวจุฬาฯ ร่วมงาน “สงกรานต์รวมใจ วิถีไทย จุฬาฯ สืบสานประเพณี”
จุฬาฯ เชิญบุคลากรตรวจสุขภาพประจำปี โดย Walk-in ได้ พิเศษปีนี้เพิ่มตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่
สัมมนาวิชาการ “โอกาสทางเศรษฐกิจการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวของประเทศไทยในคาซัคสถาน”
พิธีเปิดกิจกรรม Enrichment Program for CU รุ่นที่ 2 และกิจกรรมประเมินความสุข (CU Happiness)
มีนาคม - กรกฎาคม 2568
PMCU เปิดโอกาสให้เยาวชนไทยประกวดออกแบบพื้นที่อุทยาน 100 ปีจุฬาฯ ให้เป็นสวนแห่งความสุข ภายใต้แนวคิด CHULA FOR ALL
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้