รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
9 กันยายน 2567
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) และโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จัดโครงการ “พุทธศิลป์ พุทธศึกษา จากพระพุทธปฏิมาสู่การอนุรักษ์” เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2567 ณ วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง จังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อถวายความรู้แด่พระสังฆาธิการ พระสงฆ์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา โดยมี ศ.ดร.ขำคม พรประสิทธิ์ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และ ดร.กนกพร บุญศิริชัย รองผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ ในการนี้ พระราชวชิรากร เจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์ ประธานฝ่ายสงฆ์ กล่าวนำสัมโมทนียกถา
โครงการ “พุทธศิลป์ พุทธศึกษา จากพระพุทธปฏิมาสู่การอนุรักษ์” ถือเป็นหนึ่งในพันธกิจที่สำคัญของคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ในการสืบสานและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ประกอบด้วยการบรรยายและการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการถวายความรู้จากการวิจัยแด่สังฆาธิการ คณะสงฆ์ในจังหวัดอุตรดิตถ์ 50 รูป สาธิตการเตรียมวัสดุเพื่อใช้ทำความสะอาดพระพุทธปฏิมา จากองค์ความรู้ภูมิปัญญาเชิงช่างโบราณที่ใช้วัสดุจากท้องถิ่นในประเทศไทย โดยคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้บูรณาการความรู้ด้านพุทธศิลป์กับเทคโนโลยีนิวเคลียร์โดยความร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) นับเป็นก้าวสำคัญยิ่งในการบูรณาการความรู้เพื่อรักษาภูมิปัญญาของชาติให้ยั่งยืน โดยมี รศ.ดร.จีราวรรณ แสงเพ็ชร์ หัวหน้าภาควิชาทัศนศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เป็นผู้บุกเบิกโครงการเพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาพุทธศิลป์มาอย่างต่อเนื่อง
วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้งเป็นศาสนสถานสำคัญของชาติ ภายในพระวิหารประดิษฐานพระพุทธปฏิมาที่สำคัญคือพระศรีอริยเมตไตรยหรือพระอนาคตพระพุทธเจ้า หล่อด้วยสำริด จากการสำรวจและพิจารณารูปแบบพุทธศิลป์พบว่าพระศรีอาริยเมตไตรย วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง เป็นผลงานศิลปกรรมชิ้นเอกสมัยอยุธยาตอนปลายที่มีรูปแบบและเทคนิคเชิงช่าง นำไปสู่การศึกษาวิจัยเชิงลึกและการศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบศิลปกรรม โดยความร่วมมือจากสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ตลอดจนการอนุรักษ์พระพุทธปฏิมาด้วยภูมิปัญญาเชิงช่างเทคนิคโบราณที่ใช้วัสดุจากท้องถิ่นในประเทศไทย
ทั้งนี้ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้วิเคราะห์พระพุทธปฏิมาด้วยเทคนิคการวาวรังสีเอกซ์ X-ray fluorescence (XRF) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบธาตุส่วนผสมในการหล่อพระพุทธปฏิมา โดย ดร.ศศิพันธุ์ คะวีรัตน์ หัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) รวมทั้ง พล.ต.รศ.ดร.สุรัตน์ เลิศล้ำ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยสหวิทยาการเฉลิมพระเกียรติ 5 รอบ พลเอกหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ได้ถวายความรู้เรื่องการทำจัดแผนที่ ภาพถ่ายทางอากาศ เพื่อแสดงสิ่งปลูกสร้างและอาณาบริเวณของวัด นับเป็นการบูรณาการศาสตร์ชั้นสูงในแขนงต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ
จุฬาฯ ร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายสักการะและจัดพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเนื่องใน “วันนวมินทรมหาราช”
ละครนิเทศจุฬาฯ 2567 “ด้ายแดงเป็นเหตุ Unfortunate Love”
24 - 26 มกราคม 2568
ณ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ ชั้น 7 อาคารสยามสแควร์
จุฬาฯ ต้อนรับคณะศึกษาดูงานด้านการบริหารความเสี่ยงจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แบ่งปันประสบการณ์การพัฒนาระบบบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัย
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมเรื่อง “กัญชาทางการแพทย์: ความรู้ที่ต้องมีสำหรับเภสัชกรยุคใหม่”
11 ธ.ค. 67 เวลา 09.00 – 12.15 น.
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ และ Zoom
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมโครงการ “Next-Gen Arts: พัฒนาศักยภาพครูศิลปะด้วย Soft Power”
นิสิตเก่าจุฬาฯ พัฒนาโฟมล้างมือแบบเม็ดฟู่ “Fongdoo” ลดขยะพลาสติก ภายใต้การสนับสนุนของ CU Innovation Hub
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้