รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
9 กันยายน 2567
งานวิจัยและนวัตกรรม, ข่าวเด่น
ผลงานนวัตกรรม “หุ่นยนต์อัจฉริยะช่วยบริการรักษามะเร็งต่อมไทรอยด์ด้วยสารรังสีไอโอดีน” จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้รับรางวัลเลิศรัฐ ประจำปี 2567 สาขาบริการภาครัฐ ระดับดีเด่น ประเภทนวัตกรรมบริการ จากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) พิธีมอบรางวัลจะจัดขี้นในงานเสวนาวิชาการและพิธีมอบรางวัลเลิศรัฐ ประจำปี 2567 ในวันที่ 18 กันยายน 2567 ณ ห้องรอยัล จูบิลี่ บอลรูม อาคารชาเลนเจอร์ อิมแพค เมืองทองธานี
หุ่นยนต์อัจฉริยะช่วยบริการรักษามะเร็งต่อมไทรอยด์ด้วยสารรังสีไอโอดีน พัฒนาโดยทีมพัฒนาหุ่นยนต์ สาขาเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ฝ่ายรังสีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ นำโดย รศ.พญ.คนึงนิจ กิ่งเพชร ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ หัวหน้าทีมพัฒนาหุ่นยนต์ เป็นการนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์มาผสานกับองค์ความรู้ทางการแพทย์และวิศวกรรม พัฒนาอย่างต่อเนื่องจนเกิดเป็นนวัตกรรมหุ่นยนต์อัจฉริยะช่วยบริการรักษามะเร็งต่อมไทรอยด์ด้วยสารรังสีไอโอดีนขึ้นมาเป็นแห่งแรกของประเทศไทย ในชื่อว่า หุ่นยนต์น้อง Happy โดยความร่วมมือของ 3 ภาคส่วน ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และ บริษัทรู ดิจิทัล กรุ๊ป ซึ่งทำงานร่วมกันในการศึกษาสภาพปัญหาที่เป็น Pain Point ของผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ พัฒนาเป็นหุ่นยนต์ต้นแบบที่สามารถตอบสนองได้ตรงความต้องการและใช้งานง่าย
จุดเด่นของหุ่นยนต์ มีลักษณะโดดเด่นในการเพิ่มคุณภาพการให้บริการผู้ป่วย สามารถให้บริการการแพทย์ระยะไกล ให้คำปรึกษาได้เป็นเวลานาน ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกอบอุ่นใจ นอกจากนี้การออกแบบหุ่นยนต์ยังใช้แนวคิด Humanize ให้ความสำคัญกับการดูแลผู้ป่วยด้วยจิตใจ สร้างความรู้สึกเป็นมิตร สร้างรอยยิ้มและความผ่อนคลายให้กับผู้ป่วย ผ่านทางหุ่นยนต์ (กล้องหุ่น) และ Android tablet
PMCU ร่วมกับ “ศิลปินรวมใจเปิดหมวก” ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมภาคเหนือ กับคอนเสิร์ตเปิดหมวก ตอน “น้ำลดเพื่อนผุด” @SiamSquare Walking Street
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2566 เป็นวันที่สาม
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ ร่วมกับ Degree Plus เปิดอบรมหลักสูตรผู้บริหาร “Decentralized Finance and Blockchain”
วิศวฯ จุฬา จัดเสวนา “เข้าใจน้ำท่วม แนวคิดวิศวกร”
10 ต.ค. 67 เวลา 14.00 น.
ห้องประชุมชั้น 2 อาคารเจริญวิศวกรรม (ตึก 4) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2566 เป็นวันที่สอง
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2566
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้