รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
22 กันยายน 2567
ข่าวเด่น
งาน Bangkok Car Free Day 2024 บนถนนบรรทัดทอง ซึ่งจุฬาฯ ร่วมกับ กทม และภาคีเครือข่ายจัดขึ้นเป็นวันที่สอง เมื่อวันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน 2567 ยังคงได้รับความสนใจจากประชาชนมาร่วมงานเป็นจำนวนมาก เป็นการเปลี่ยนถนนบรรทัดทองที่มีชื่อเสียงในการเป็น Thai Street Food ให้เป็นถนนคนเดิน และต้นแบบถนนแห่งความสุขเพื่อคนไทยทุกคน
บรรยากาศวันสุดท้ายของงาน Bangkok Car Free Day 2024 บนถนนบรรทัดทองเป็นไปอย่างคึกคักยิ่ง ในงานมีกิจกรรมสร้างสรรค์มากมาย ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมปั่นจักรยาน ทาสีถนนและทางข้าม ชมการแสดงดนตรี Steet Performance และนิทรรศการต่าง ๆ โดย ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร ผู้รักษาการอธิการบดีจุฬาฯ และนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มาร่วมงานและให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนถึงความสำเร็จของงานครั้งนี้
งาน Bangkok Car Free Day 2024 ที่ถนนบรรทัดทอง ระหว่างวันที่ 21 – 22 กันยายน 2567 เป็นกิจกรรมที่ร่วมรณรงค์เนื่องในวัน World Car Free Day วันที่ 22 กันยายนของทุกปี พร้อมกับเมืองอื่น ๆ ทั่วโลก ภายใต้แนวคิด “Bangkok Car Free For All 2024: Connecting For Life” โดยเปลี่ยนเมืองเป็นห้องทดลอง ผ่านการจัดการจราจรถนน “บรรทัดทอง” ตามแนวคิด “จัดระเบียบทางเท้า เปลี่ยนถนนสำหรับรถยนต์ เป็นพื้นที่ให้ผู้คนออกมาใช้ชีวิต”
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเยี่ยมชมศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ ชื่นชมความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมฮาลาล
สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ ร่วมมือ สสส. – พม. สานพลังภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนงานคนไร้บ้าน
โครงการ Dogcoola กิจกรรมดี ๆ ที่สร้างสรรค์โดยนิสิตสัตวแพทย์ จุฬาฯ เชิญชวนบริจาคโลหิตช่วยชีวิตคนและส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์
นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเปิดการประชุมวิชาการนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์สาธารณสุข ครั้งที่ 24 Public Health 360: From Policy to Practice
เชิญร่วมกิจกรรม Chula Lunch Talk : GenAI x งานวิจัย: 1 ปี ที่เปลี่ยนไป! ความท้าทายใหม่ ที่นักวิจัยต้องรู้
CU Top 10 News กรกฎาคม – กันยายน 2567
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้