รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
1 ตุลาคม 2567
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
วันจันทร์ที่ 30 กันยายน 2567 เวลา 17.20 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินไปยังหอแสดงดนตรี อาคารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พระราชทานวุฒิบัตรแก่ผู้สำเร็จการอบรมหลักสูตรเวฬา (VELA – Vitality Enhancement and Longevity Academy) รุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 ซึ่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดขึ้น โดยมี ศ. (พิเศษ) ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ และผู้บริหารมหาวิทยาลัยเฝ้าฯ รับเสด็จ
ในการนี้ ศ. (พิเศษ) ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กราบบังคมทูลรายงาน ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ กราบบังคมทูลรายงานความเป็นมาของหลักสูตรเวฬา จากนั้น ศ.ดร.สถิรกร พงศ์พานิช ผู้รักษาการผู้ช่วยอธิการบดี ด้านกิจการพิเศษ กราบบังคมทูลเบิกผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรเวฬา รุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 เข้ารับพระราชทานวุฒิบัตร จำนวน 149 ราย ผู้ทูลเกล้าฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัยเข้ารับพระราชทานเข็มพระเกี้ยวและเข็มหลักสูตรเวฬา จำนวน 16 ราย และผู้มีอุปการคุณเข้ารับพระราชทานเข็มหลักสูตรเวฬา จำนวน 27 ราย
ในโอกาสนี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงฉายพระฉายาลักษณ์ร่วมกับกรรมการบริหารหลักสูตร ผู้บริหารมหาวิทยาลัย และผู้ผ่านการอบรม
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีนโยบายด้านการเรียนรู้ตลอดชีวิต มุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ตลอดจนเปิดโอกาสให้ผู้เรียนและประชาชนได้เรียนและทำงานไปในเวลาเดียวกัน โดยสามารถนำผลการเรียนรู้ที่ได้จากประสบการณ์การทำงานอาชีพหรือการฝึกอบรมทั้งในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย มาเก็บในระบบธนาคารหน่วยกิตหรือ Credit Bank หลักสูตรเวฬา หรือ Vitality Enhancement and Longevity Academy เป็นหลักสูตรสุขภาพระยะสั้นสำหรับผู้บริหารองค์กรระดับสูงด้านสุขภาพและการแพทย์ เพื่อเพิ่มพูนความรู้สำหรับผู้บริหาร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในนโยบายหลักของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นพัฒนาด้านการวิจัยและนวัตกรรมที่ครอบคลุมทั้งด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และความก้าวหน้าทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ทันสมัย ซึ่งมีความจำเป็นต่อการพัฒนาตนเอง การบริหารองค์กร การพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของประเทศไทยให้มีความพร้อมก้าวทันการเปลี่ยนแปลง และเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาประเทศให้เป็น Medical Hub ได้อย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาเครือข่ายสัมพันธภาพระหว่างกลุ่มผู้นำองค์กร ทั้งในภาครัฐและเอกชน ในการสร้างศูนย์ความเป็นเลิศหรือชุมชนแห่งการมีสุขภาวะและภาวะสุขสมบูรณ์ระดับชาติ สอดคล้องกับพันธกิจของประเทศ
ผลสัมฤทธิ์ของการอบรมหลักสูตรเวฬา ผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์เรื่องสุขภาพและการแพทย์ ภายใต้คำแนะนำปรึกษาจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง และการบูรณาการความคิดสร้างสรรค์และความรู้เชิงลึกเพื่อสร้างนวัตกรรมทางการแพทย์ จนถึงการเข้าสู่อุตสาหกรรมธุรกิจสุขภาพ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาต่อยอดเป็นศูนย์สุขภาพ Healthy Longevity Center ระดับชาติต่อไป
จุฬาฯ จัดงาน Chulalongkorn University’s Open House for International Programs 2025 แนะนำหลักสูตรภาษาอังกฤษของจุฬาฯ สู่การเป็นผู้นำทางการศึกษาระดับนานาชาติ
ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ ปัตตานี คว้ารางวัลระดับชาติ โล่ประกาศเกียรติคุณ “ผู้มีคุณูปการต่อเยาวชนมุสลิมดีเด่นแห่งชาติ” สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ศ.ดร.นพ.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล อดีตรองอธิการบดีจุฬาฯ ได้รับรางวัลบุคคลดีเด่น ประเภทบริหาร ด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2567 จากกระทรวงสาธารณสุข
จุฬาฯ เปิดโครงการอบรมครู “พิพิธภารัต 2567” และพิธีลงนาม MOU ส่งเสริมการสอนภาษาฮินดี
เชิญชวนนิสิตร่วมโครงการประเมินผลการเรียนการสอนออนไลน์ผ่านระบบ myCourseVille ปีการศึกษา 2567
อาจารย์และนิสิตสถาปัตย์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษา Tokyo Metropolitan University ที่ญี่ปุ่น
อาจารย์และนิสิตภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษาจาก Faculty of Urban Environmental Sciences, Tokyo Metropolitan University ประเทศญี่ปุ่น (TMU)
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้