รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
14 พฤษภาคม 2562
ข่าวเด่น, งานวิจัยและนวัตกรรม
ปัจจุบันอาหารเพื่อสุขภาพเป็นที่สนใจของผู้บริโภคซึ่งให้ความสำคัญกับคุณค่าของสารอาหาร ที่ได้รับในแต่ละวัน นอกจากไขมันทรานส์ และไขมันอิ่มตัวที่เรารู้จักคุ้นเคยเป็นอย่างดีแล้ว การปรับสมดุลของโอเมก้าซึ่งเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว กำลังเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจมากขึ้น
“โอเมบอส ซอสปรับสมดุลไขมันโอเมก้าสำหรับเมนูผัดกะเพรา” นวัตกรรมจากคณะ สหเวชศาสตร์ จุฬาฯ เป็นการพัฒนาซอสปรุงรสในเมนูผัดกะเพราซึ่งเป็นอาหารยอดนิยมของคนไทยให้มีปริมาณไขมัน โอเมก้าที่สมดุล เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ นวัตกรรมนี้ได้รับความสนใจอย่างมากในงานมหกรรมวิจัยแห่งชาติ ปี 2562 และสามารถคว้ารางวัลเหรียญเงินจากการประกวดผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษามาครองได้อย่างน่าภาคภูมิใจ
อ.ดร.สุกฤต ศิริขวัญพงศ์ ภาควิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยว่า อาหารประเภทผัดต่างๆ ซึ่งมีไขมันเป็นส่วนประกอบ มักจะมีปริมาณไขมันมากเกินไป ซึ่งจะส่งผลเสียต่อสุขภาพ โอเมก้า 6 เป็นไขมันที่เรารับประทานมากเป็นปกติอยู่แล้ว ส่วนใหญ่จะอยู่ในน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันข้าวโพด และในเนื้อสัตว์ การรับประทานอาหารที่มีโอเมก้า 6 มากเกินไปจะสร้างสารที่กระตุ้นการอักเสบในร่างกาย ทำให้ลิ่มเลือดจับตัวกันมากจนอาจไปอุดตัน ในหลอดเลือดได้ ในขณะที่โอเมก้า 3 ซึ่งอยู่ในอาหารประเภทปลาทะเลหรือน้ำมันปลาจะช่วยลดการอักเสบและป้องกันการเกิดโรคหัวใจได้ หากทานโอเมก้า 3 มากเกินไปจะส่งผลต่อการแข็งตัวของเลือด ทำให้เลือดหยุดช้าเมื่อเกิดบาดแผล
อ.ดร.สุกฤต เผยถึงที่มาของซอสปรับสมดุลไขมันโอเมก้าสำหรับเมนูผัดกะเพราว่า “ผัดกะเพราเป็นเมนูอาหารจานโปรดของคนไทยและเป็นที่นิยมของต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศญี่ปุ่น ผัดกะเพราเป็น 1 ใน 15 อาหารต่างชาติที่ชาวญี่ปุ่นนิยมทำในครัวเรือน ความพิเศษของซอสกะเพรา ที่พัฒนาขึ้นนี้เป็นซอสที่ช่วยปรับสมดุลไขมันโอเมก้าให้ได้อัตราส่วนที่เหมาะสมระหว่างไขมันโอเมก้า 6 กับไขมันโอเมก้า 3 โดยมีโอเมก้า 6 ในปริมาณ 2 ส่วน และโอเมก้า 3 ในปริมาณ 1 ส่วน เมื่อนำซอสกะเพรามาผัดกับเนื้อสัตว์ อัตราส่วนของไขมันโอเมก้า 6 ต่อไขมันโอเมก้า 3 ในผัดกะเพราจะถูกปรับให้มีความสมดุลและเหมาะสมต่อสุขภาพมากขึ้นเมื่อเทียบกับซอสผัดกะเพราทั่วไป”
“โอเมบอส มีส่วนประกอบของน้ำมันงาขี้ม้อนซึ่งผลิตได้ในประเทศไทย และเป็นน้ำมันที่มี ไขมันโอเมก้า 3 สูงที่สุด การนำซอสกะเพรามาผัดอาหารจะใช้ปริมาณซอส 3 ช้อนโต๊ะ สามารถใช้ผัดกับน้ำมันพืชและเนื้อสัตว์ชนิดต่างๆ ได้โดยที่อัตราส่วนไขมันโอเมก้า 6 ต่อ 3 ยังคงความสมดุลและเหมาะสม ต่อสุขภาพ” อ.ดร.สุกฤต กล่าว
กว่าจะมาเป็นผลงานนวัตกรรมที่ได้รับรางวัลจากสภาวิจัยแห่งชาติปีนี้ อ.ดร.สุกฤต เผยว่า ต้องผ่านการศึกษาวิจัยมาเป็นเวลานานนับปี นิสิตเจ้าของงานวิจัยต้องทุ่มเทในทุกขั้นตอนการทำงาน เริ่มจากการสำรวจผลิตภัณฑ์ซอสปรุงรสในท้องตลาด ผ่านกระบวนการการทดสอบในขั้นตอนต่างๆ กว่า 7- 8 การทดลอง เมื่อนำซอสบรรจุขวดไปใส่ตู้อบอุณหภูมิ 55 องศา เป็นเวลา 7 สัปดาห์ พบว่าคุณภาพของซอส รสชาติและองค์ประกอบต่างๆ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ผู้บริโภคสามารถเก็บซอสไว้ได้อย่างน้อย 1 ปี ปัจจุบันผลงานนวัตกรรมนี้ได้รับการจดอนุสิทธิบัตรผ่านสถาบันทรัพย์สินทางปัญญาแห่งจุฬาฯ แล้ว ซึ่งคาดว่าในอนาคตจะมีการต่อยอดโดยผู้ประกอบการเพื่อนำไปผลิตในเชิงพาณิชย์ต่อไป
อาจารย์และนิสิตสถาปัตย์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษา Tokyo Metropolitan University ที่ญี่ปุ่น
อาจารย์และนิสิตภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษาจาก Faculty of Urban Environmental Sciences, Tokyo Metropolitan University ประเทศญี่ปุ่น (TMU)
จุฬาฯ ร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายสักการะและจัดพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเนื่องใน “วันนวมินทรมหาราช”
ละครนิเทศจุฬาฯ 2567 “ด้ายแดงเป็นเหตุ Unfortunate Love”
24 - 26 มกราคม 2568
ณ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ ชั้น 7 อาคารสยามสแควร์
จุฬาฯ ต้อนรับคณะศึกษาดูงานด้านการบริหารความเสี่ยงจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แบ่งปันประสบการณ์การพัฒนาระบบบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัย
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมเรื่อง “กัญชาทางการแพทย์: ความรู้ที่ต้องมีสำหรับเภสัชกรยุคใหม่”
11 ธ.ค. 67 เวลา 09.00 – 12.15 น.
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ และ Zoom
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมโครงการ “Next-Gen Arts: พัฒนาศักยภาพครูศิลปะด้วย Soft Power”
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้