รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
9 ตุลาคม 2567
ข่าวเด่น
ผู้เขียน ชาติสยาม หม่อมแก้ว
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดงานเสวนาวิชาการ Chula the Impact ครั้งที่ 25 เรื่อง “แพลตฟอร์มจุฬาฯ ฝ่าพิบัติ: Digital War Room” เมื่อวันพุธที่ 9 ตุลาคม 2567 ณ ห้องประชุม 202 อาคารจามจุรี 4 จุฬาฯ เพื่อนำเสนอนวัตกรรมจากคณาจารย์นักวิจัยจุฬาฯ ที่บูรณาการองค์ความรู้ทางวิชาการในการป้องกันและแก้ปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้น สามารถชี้จุด คาดคะเน และให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์นำท่วมแก่ผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ได้อย่างแม่นยำและทันสมัย เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือและแก้ปัญหาได้ตรงจุดและทันท่วงที
การเสวนาวิชาการ Chula the Impactในครั้งนี้เป็นการเผยแพร่องค์ความรู้จากงานวิจัยของจุฬาฯ เพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตต่างๆ ตามพันธกิจของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย “เมื่อสังคมมีปัญหา จุฬาฯ มีคำตอบ” โดยมี ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ เป็นผู้กล่าวเปิดการเสวนา วิทยากรผู้ร่วมเสวนา ประกอบด้วย รศ.ดร.ศิริเดช สุชีวะ ผู้รักษาการรองอธิการบดี จุฬาฯ ศ.ดร.สันติ ภัยหลบลี้ อาจารย์ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ และ ศ.ดร.ใจทิพย์ ณ สงขลา อาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.เจษฎา ศาลาทอง อาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ
รศ.ดร.ศิริเดช สุชีวะ ผู้รักษาการรองอธิการบดี จุฬาฯ เปิดเผยว่าการดำเนินงานภายใต้แพลตฟอร์มจุฬาฝ่าพิบัติ: ดิจิทัลวอร์รูม (Chula Disaster Soluion Network: Digital War Room) ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ส่วนที่ 1 ระบบการเตือนภัยและขอความช่วยเหลืออย่างเฉพาะเจาะจงตำแหน่ง ด้วยการบูรณาการแผนที่ภูมิสารสนเทศ ทำให้สามารถระบุตำแหน่งที่มีความอ่อนไหวได้อย่างแม่นยำ และให้คำอธิบายประกอบจากผู้เชี่ยวชาญในวอร์รูม ส่วนที่ 2 ระบบการจัดสรรทรัพยากรให้ตรงตามความต้องการ ทั่วถึงและทันท่วงที ส่วนที่ 3 ระบบการถอดบทเรียนและสร้างการเรียนรู้ ตั้งแต่เรื่องการเตือนภัย การกู้ภัย การขนย้ายและอพยพ การบรรเทาทุกข์ การฟื้นฟูหลังพิบัติ จนถึงการที่จะเยียวยาธรรมชาติในระยะยาว โดยอาศัยองค์ความรู้จากศาสตร์แขนงต่าง ๆ ในจุฬาฯ ร่วมกับภาคีเครือข่าย
สำหรับนวัตกรรมแพลตฟอร์มสำหรับป้องกันและแก้ปัญหาอุทกภัย จุฬาฝ่าพิบัติ: ดิจิทัลวอร์รูมที่นำมาสาธิตในงานเสวนาครั้งนี้ สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการใช้ทำนายพื้นที่น้ำท่วมและแนวดินถล่มจากอุทกภัยได้อย่างแม่นยำ พัฒนาขึ้นโดย ศ.ดร.สันติ ภัยหลบลี้ ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับ ศ.ดร.ใจทิพย์ ณ สงขลา ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งปัจจุบัน ถูกนำไปเสริมการช่วยเหลือในพื้นที่ที่กำลังประสบปัญหาน้ำท่วมในหลายจังหวัดทางภาคเหนือ
ศ.ดร.สันติ ภัยหลบลี้ กล่าวว่าข้อมูลภูมิประเทศที่ใช้ในการเตือนภัยในแพลตฟอร์มนี้แบ่งออกเป็น ชุดข้อมูลเตือนภัยดินโคลนไหลหลากและน้ำป่า ประกอบด้วย ตำแหน่งรูรั่วของมวลน้ำจากภูเขาสูงที่ราบ แนวไหลหลากของมวลน้ำ หมู่บ้านที่อ่อนไหวต่อภัยพิบัติดินโคลนไหลหลาก และชุดข้อมูลเตือนภัยน้ำท่วม ประกอบด้วย แนวร่อง แนวเนิน จุดเสี่ยงถนนขาด และจุดแนะนำในการอพยพ นอกจากนี้ยังมีแนวน้ำหลาก ในกรณีที่น้ำล้นตลิ่งจากแม่น้ำสายหลักทั่วประเทศ ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ในการวางแผนในกรณีที่คันดิน กั้นน้ำแตก ซึ่งข้อมูลทั้งหมดนี้ครอบคลุมพื้นที่ทั้งประเทศไทย โดยมีแผนจะจัดทำชุดข้อมูลเพิ่ม เพื่อสื่อสารและเตือนภัยพิบัติดินถล่ม สึนามิ และแผ่นดินไหวที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
ทั้งนี้ แพลตฟอร์มจุฬาฝ่าพิบัติ: ดิจิทัลวอร์รูม เป็นการรวมผู้เชี่ยวชาญด้านงานวิจัยจากจุฬาฯ และผู้ที่อยู่ในพื้นที่ที่ประสบอุทกภัย ทำงานร่วมกันในรูปแบบดิจิทัลวอร์รูม เมื่อเข้าสู่แพลตฟอร์มจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับแผนที่จุดเสี่ยงที่จะเกิดอุทกภัยและการแจ้งเตือนว่าจะเกิดเหตุ ระบบแผนที่ทางภูมิศาสตร์ในแพลตฟอร์มที่มีรายละเอียดเฉพาะเจาะจงจะเป็นประโยชน์ในการอพยพและการเตือนภัยในรูปแบบต่าง ๆ นอกจากนี้ในดิจิทัลวอร์รูมจะมีการสื่อสารถึงคนในพื้นที่ที่สามารถโต้ตอบกันได้โดยตรงเพื่อประสานขอความช่วยเหลือในด้าน ต่าง ๆ เมื่อเกิดเหตุอุทกภัย อาสาสมัครจะลงพื้นที่ไปเก็บข้อมูลต่าง ๆ และส่งเข้ามาที่วอร์รูม
แพลตฟอร์มจุฬาฝ่าพิบัติ: ดิจิทัลวอร์รูม เป็นนวัตกรรมที่จะทำให้ประเทศไทยรับมือเหตุการณ์น้ำท่วมในอนาคตได้ ภัยที่มากับฝนตกหนักไม่ได้มีแค่น้ำท่วมสูง แต่ยังมีดินถล่ม ดินโคลนไหลหลาก นวัตกรรมหรือชุดข้อมูลที่จัดทำขึ้นจะทำให้ทราบถึงสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่ว่ามีโอกาสได้รับภัยอะไรบ้าง หนักเบาแค่ไหน เมื่อประชาชนรู้ตัวและปฏิบัติตาม รวมทั้งหากภาครัฐมีนโยบายหรือแนวทางการอพยพที่มีประสิทธิผล จะช่วยลดผลกระทบจากภัยพิบัติทั้งชีวิตและทรัพย์สินได้
ผู้บริหารจุฬาฯ เยือนมหาวิทยาลัยปักกิ่ง เข้าพบเลขาธิการพรรคฯ ประจำมหาวิทยาลัยปักกิ่ง และอธิการบดี ร่วมหารือความร่วมมือทางวิชาการ
เรียนรู้เสริมทักษะกับ CUVIP เดือนพฤศจิกายน “Building Wealth, Building Life บริหารเงิน บริหารธุรกิจให้ชีวิตรุ่งเรือง”
4-22 พ.ย. 67
ขอเชิญร่วมพิธีสมโภชผ้าพระกฐินพระราชทานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปี 2567
6 พฤศจิกายน 2567 เวลา 13.00 น.
ศาลาพระเกี้ยว
โครงการ “SIFE MasterClass” โดยนิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ ถ่ายทอดความรู้ทางธุรกิจสู่เยาวชนส่งต่อความยั่งยืนแก่ชุมชน
อธิการบดีจุฬาฯ เข้าร่วมการประชุม Beijing Forum 2024 และปาฐกถาเรื่อง “Digital Intelligence Education”
จุฬาฯ หารือความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยชิงหัว สาธารณรัฐประชาชนจีน
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้