ข่าวสารจุฬาฯ

จุฬาฯ เปิดโครงการอบรมครู “พิพิธภารัต 2567” และพิธีลงนาม MOU ส่งเสริมการสอนภาษาฮินดี

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ ศูนย์อินเดียศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ และคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ จัดโครงการฝึกอบรมครู “พิพิธภารัต 2567” เพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับอินเดียดั้งเดิมและสมัยใหม่  และพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างสถานเอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทยกับคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2567 ณ ห้องรับรอง หอประชุมจุฬาฯ โดยมี ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ และ นายนาเคศ สิงห์ เอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทย เป็นประธานในงานครั้งนี้ งานในครั้งมีแขกผู้มีเกียรติมาร่วมงาน เช่น นางสาวศศิริทธิ์  ตันกุลรัตน์ อธิบดีกรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา กระทรวงการต่างประเทศ นายสุศิล ธานุกา ประธานหอการค้าอินเดีย-ไทย และนายสุนิว โคธารี ผู้อุปถัมภ์มูลนิธิอินเดียศึกษา (ประเทศไทย) รศ.ดร.ปาลนี อัมรานนท์ ผู้รักษาการรองอธิการบดีจุฬาฯ รศ.ดร.ภาวิกา ศรีรัตนบัลล์ ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ รศ.ดร.สุรเดช โชติอุดมพันธ์ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ 

โครงการฝึกอบรมครู “พิพิธภารัต 2567” และพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างสถานเอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทยกับคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษา 6 รอบ ถือเป็นก้าวสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นและความร่วมมือทางการศึกษาระหว่างประเทศไทยและอินเดีย

โครงการอบรมครู “พิพิธภารัต 2567” จัดขึ้นเพื่อเพิ่มพูนความรู้ในด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ศาสนา และภาษาของอินเดียให้กับครูและบุคลากรทางการศึกษาไทย โดยมีเป้าหมายเพื่อเปิดโอกาสให้ครูได้สร้างเครือข่ายและความเข้าใจที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับอินเดียในมิติทางเศรษฐกิจและการเมือง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาความรู้และทักษะในการสอนโครงการอบรมจัดขึ้นระหว่างวันที่ 15-19 ตุลาคม 2567 ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดโดยมูลนิธิอินเดียศึกษา (ประเทศไทย) ศูนย์อินเดียศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการการเรียนรู้ตลอดชีวิตของสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ  

สำหรับการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างสถานเอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทยและคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีเป้าหมายในการยกระดับการเรียนการสอนภาษาฮินดีในประเทศไทย โดยการจัดตั้ง “ICCR Chair of Hindi” ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลอินเดีย เพื่อเสริมสร้างความรู้ด้านอินเดียและสนับสนุนการเรียนการสอนภาษาฮินดีที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ

ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ

ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ กล่าวว่าการอบรม “พิพิธภารัต 2567” เป็นโอกาสสำคัญสำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษาในการเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับอินเดีย ทั้งในด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมดั้งเดิม รวมถึงการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงของอินเดียในยุคสมัยใหม่ นอกจากนี้การจัดตั้ง ICCR Chair of Hindi ยังเป็นการยกระดับการเรียนการสอนภาษาฮินดีในประเทศไทย เพื่อให้ได้มาตรฐานเดียวกับอินเดีย ซึ่งจะช่วยสร้างความเข้าใจในวัฒนธรรมอินเดียได้อย่างลึกซึ้ง และเปิดโอกาสให้เกิดความร่วมมือระหว่างประเทศมากขึ้นในอนาคต

รศ.ดร.ภาวิกา ศรีรัตนบัลล์ ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ

รศ.ดร.ภาวิกา ศรีรัตนบัลล์ ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ กล่าวถึงความสำคัญของโครงการ“พิพิธภารัต 2567” ว่า “พิพิธภารัต” เป็นงานอบรมครูจากทั่วประเทศ มุ่งเน้นเสริมสร้างความเข้าใจที่ดีระหว่างประเทศไทยและอินเดีย การอบรมนี้จัดขึ้นเป็นเวลา 5 วัน โดยผู้เข้ารับการอบรมจะได้รับโอกาสเรียนรู้เกี่ยวกับประเทศอินเดียในด้านต่าง ๆ เช่น อาหารอินเดีย ภาษาอินเดีย วัฒนธรรม และได้แลกเปลี่ยนความรู้กับผู้ที่มีความสนใจร่วมกัน ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความเข้าใจที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับอินเดียและเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยในอนาคต

รศ.ดร.สุรเดช โชติอุดมพันธ์ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ

รศ.ดร.สุรเดช โชติอุดมพันธ์ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า “การลงนามข้อตกลงความร่วมมือ ตำแหน่งอาจารย์ภาษาฮินดีแห่ง ICCR ในครั้งนี้จะทำให้คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลอินเดียในการส่งชาวอินเดียมาสอนภาษาฮินดีในคณะ ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของคณะอักษรศาสตร์ที่ได้มีการสนับสนุนอย่างจริงจังจากประเทศอินเดีย ซึ่งการเรียนรู้ภาษาฮินดีจะมีส่วนสำคัญในการพัฒนาศักยภาพด้านเศรษฐกิจและการลงทุนของอินเดีย

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า