รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
8 พฤศจิกายน 2567
ข่าวเด่น
วันที่ 8 พฤศจิกายน 2567 ณ ห้องประชุมพูนทรัพย์ นพวงศ์ ณ อยุธยา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ เป็นประธานเปิดงานวันรณรงค์ต่อต้านความรุนแรงและการกลั่นแกล้งในโรงเรียนและในโลกไซเบอร์ “2024 International Day Against Violence and Bullying at School, including Cyberbullying” ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสำนักงานภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกขององค์การยูเนสโก กรุงเทพฯ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงผลกระทบของการกลั่นแกล้งในโรงเรียนต่อความเป็นอยู่และการเรียนรู้ของนักเรียน พร้อมทั้งส่งเสริมการสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ปลอดภัยและครอบคลุมสำหรับนักเรียนทุกคน
วันรณรงค์ต่อต้านความรุนแรงและการกลั่นแกล้งในโรงเรียน จัดขึ้นในวันพฤหัสบดีแรกของเดือนพฤศจิกายนทั่วโลก มุ่งเน้นการกระตุ้นให้เห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการจัดการกับความรุนแรงทุกรูปแบบภายในสถานศึกษา โดยในปีนี้จัดขึ้นภายใต้หัวข้อ “ปกป้อง เรียนรู้ ส่งเสริมพลังนักเรียนเรียกร้องโรงเรียนให้เป็นพื้นที่ที่ปลอดภัย” ในงานมีการกล่าวต้อนรับโดย รศ.ดร.ยศวีร์ สายฟ้า คณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวเปิดงานโดย ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ และ Ms.Marina Patrier รองผู้อำนวยการและหัวหน้าส่วนการศึกษาแห่งองค์การยูเนสโก กรุงเทพฯ
ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ กล่าวขอบคุณองค์การยูเนสโกและคณะครุศาสตร์ พร้อมกล่าวว่า “งานวันนี้เป็นแรงบันดาลใจให้เราทุกคนทำงานอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อลดความรุนแรงและการกลั่นแกล้งในโรงเรียน เพื่อสร้างโลกที่ผู้เรียนรู้สึกมีคุณค่า ได้รับการสนับสนุน และปลอดภัย” ซึ่งเป็นการตอกย้ำถึงพันธกิจของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการส่งเสริมสภาพแวดล้อมการศึกษาในประเทศไทยที่ปลอดภัยและครอบคลุมความหลากหลายของทุกกลุ่มคนในสังคม
งานวันต่อต้านความรุนแรงและการกลั่นแกล้งในโรงเรียน รวมถึงการกลั่นแกล้งทางออนไลน์จัดขึ้นเพื่อสร้างความตระหนักและความเข้าใจเกี่ยวกับการยุติความรุนแรงในโรงเรียน ภายในงานมีสองกิจกรรมหลัก ได้แก่ การแข่งขันสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษโดยนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษาได้แสดงออกถึงความคิดสร้างสรรค์และมุมมองเกี่ยวกับการสร้างสังคมที่ปลอดภัยและปราศจากความรุนแรง และการเสวนาวิชาการ พูดคุยในประเด็นการยุติความรุนแรงและการกลั่นแกล้งในโรงเรียน รวมถึงความสำคัญของการสร้างเครือข่ายในการทำงานร่วมกัน วิทยากรที่ร่วมเสวนาในครั้งนี้ ได้แก่ ผศ.ดร.ณัฐสุดา เต้พันธ์ คณบดีคณะจิตวิทยา จุฬาฯ คุณพายุ เนื่องจำนงค์ เลขานุการคณะอนุกรรมาธิการศึกษาการปฏิรูป ทบทวน และแก้ไขปรับปรุงกฏหมายเพื่อคุ้มครองและป้องกันความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว ครูธนวรรธน์ สุวรรณปาล ครูสังคมศึกษา โรงเรียนราชดำริ และคุณภัทรดล วีระชัยณรงค์ เยาวชนแกนนำส่งเสริมพื้นที่ปลอดภัยอย่างมีส่วนร่วม มาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการหาทางออกที่เป็นรูปธรรมในการป้องกันความรุนแรงและการกลั่นแกล้งในโรงเรียน ดำเนินรายการโดย Ms. Jenelle Babb ที่ปรึกษาระดับภูมิภาค (การศึกษา) สำนักงานยูเนสโก กรุงเทพฯ
วัตถุประสงค์หลักของงานนี้มุ่งขับเคลื่อนพลังของนักเรียน สร้างความตระหนักถึงบทบาทของการศึกษาในการป้องกันความรุนแรง ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างนักการศึกษาและผู้กำหนดนโยบาย และสนับสนุนให้เกิดโครงการริเริ่มเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ปราศจากความรุนแรงในประเทศไทย โดยมีผู้เข้าร่วมงานจากองค์กรพัฒนาเอกชนท้องถิ่น ครู นักศึกษา และองค์กรเยาวชน
ปัจจัยผลกระทบต่อรายได้และการเติบโต ธุรกิจ Education Technology (EdTech) ในประเทศไทย
รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย อดีตอาจารย์คณะวิศวฯ จุฬาฯ ได้รับการประกาศเกียรติคุณ”Friend of Thai Science 2024″
เศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ เจ้าภาพจัดงานประชุมระดับโลก AASLE 2024 ครั้งแรกในไทย รวมนักเศรษฐศาสตร์แรงงานจากทั่วโลกร่วมแลกเปลี่ยนความรู้และนำเสนอผลงานวิจัย
สัมมนาเรื่อง EDCs สารเคมีที่ส่งผลต่อสุขภาพและระบบนิเวศ
“Nifty Elderly: ของเล่นของแต่งบ้านเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์เด็กเล็กและผู้สูงวัย”ผลงานอาจารย์ครุศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลเหรียญทองการประกวดนวัตกรรมที่ฮ่องกง
อาจารย์คณะครุศาสตร์ – วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาฯ และนักเรียนสาธิตจุฬาฯ คว้ารางวัลเหรียญทองจากการประกวดนวัตกรรมนานาชาติ KIDE 2024 ที่ไต้หวัน
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้