รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
29 พฤศจิกายน 2567
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดโครงการ “Next-Gen Arts: พัฒนาศักยภาพครูศิลปะด้วย Soft Power” ระหว่างวันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ มหานาค โดยมี ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน
โครงการ “Next-Gen Arts: พัฒนาศักยภาพครูศิลปะด้วย Soft Power” จัดขึ้นภายใต้โครงการสนับสนุนเสริมสร้างทักษะด้วยศิลปะ ตามนโยบาย 1 ครอบครัว 1 ทักษะซอฟต์พาวเวอร์ หรือ OFOS ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการภายใต้นโยบายรัฐบาลที่ต้องการยกระดับทักษะคนไทยให้เป็นแรงงานทักษะสูง ด้วยการเข้าไปเรียนรู้ทักษะในอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ 11 ด้าน ซึ่ง “ศิลปะ” เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ การดำเนินการครั้งนี้คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการสนับสนุนจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม THACCA และ OFOS ผู้เข้าอบรมเป็นครูศิลปะทั้งด้านทัศนศิลป์ ดุริยางคศิลป์ และนาฏยศิลป์ จำนวน 507 ท่าน จาก 307 โรงเรียน ทั่วภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก
คุณเสริมคุณ คุณาวงศ์ ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมศิลปะ เป็นวิทยากรเปิดการอบรม และได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิระดับแนวหน้าของวงการศิลปะระดับชาติ มาเป็นวิทยากรให้ความรู้ศิลปะด้านต่าง ๆ ทั้งการบรรยายและการฝึกปฏิบัติการ ได้แก่ ศ.กิตติคุณ ดร.สุรพล วิรุฬห์รักษ์ ศ.เกียรติคุณ ปรีชา เถาทอง (ศิลปินแห่งชาติ) ศ.เดชา วราชุน (ศิลปินแห่งชาติ) คุณภัทราวดี มีชูธน (ศิลปินแห่งชาติ) คุณครูไพฑูรย์ เข้มแข็ง (ศิลปินแห่งชาติ) คุณครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) ศ.ดร.นราพงษ์ จรัสศรี ศ. ดร.บุษกร บิณฑสันต์ ศ.ดร.ปานฉัตท์ อินทร์คง ศ.ดร.วิบูลย์ ตระกูลฮุ้น รศ.ผุสดี หลิมสกุล ผศ.ดร.ให้แสง ชวนะลิขิกร และทีมผู้ช่วยวิทยากรอีกจำนวนมาก
โครงการนี้มุ่งเน้นการใช้ศิลปะเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมทักษะและองค์ความรู้ในด้านต่าง ๆ เพื่อให้ครูสามารถสร้างสรรค์ ถ่ายทอด และสืบทอดได้อย่างสร้างสรรค์ ด้วยการ Upskill-Reskill รวมถึงการใช้เทคโนโลยีและแนวทางใหม่ ๆ เพื่อนำไปต่อยอดแนวคิดทางด้านสุนทรียศาสตร์ นำไปพัฒนานักเรียนเพื่อให้เกิดความสนใจและการมีส่วนร่วมในกิจกรรมศิลปะ นำไปสู่กลไกการสร้างความแข็งแกร่ง ยั่งยืน และสร้างพลังวัฒนธรรมสร้างสรรค์ของชาติให้ก้าวไกลระดับชาติและนานาชาติต่อไป
ปัจจัยผลกระทบต่อรายได้และการเติบโต ธุรกิจ Education Technology (EdTech) ในประเทศไทย
รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย อดีตอาจารย์คณะวิศวฯ จุฬาฯ ได้รับการประกาศเกียรติคุณ”Friend of Thai Science 2024″
เศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ เจ้าภาพจัดงานประชุมระดับโลก AASLE 2024 ครั้งแรกในไทย รวมนักเศรษฐศาสตร์แรงงานจากทั่วโลกร่วมแลกเปลี่ยนความรู้และนำเสนอผลงานวิจัย
สัมมนาเรื่อง EDCs สารเคมีที่ส่งผลต่อสุขภาพและระบบนิเวศ
“Nifty Elderly: ของเล่นของแต่งบ้านเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์เด็กเล็กและผู้สูงวัย”ผลงานอาจารย์ครุศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลเหรียญทองการประกวดนวัตกรรมที่ฮ่องกง
อาจารย์คณะครุศาสตร์ – วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาฯ และนักเรียนสาธิตจุฬาฯ คว้ารางวัลเหรียญทองจากการประกวดนวัตกรรมนานาชาติ KIDE 2024 ที่ไต้หวัน
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้