รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
13 ธันวาคม 2567
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ Asian & Australasian Society of Labour Economics เป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ Asian & Australasian Society for Labour Economics (AASLE) 2024 ระหว่างวันที่ 12-14 ธันวาคม 2567 ณ อาคารมหิตลาธิเบศร จุฬาฯ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม โดยมีนักเศรษฐศาสตร์แรงงาน นักเศรษฐศาสตร์จุลภาคประยุกต์ และนักเศรษฐศาสตร์สุขภาพชั้นนำจากทั่วโลกเข้าร่วมงาน 333 คน รวมผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 400 คน พิธีเปิดงานเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2567 ณ ห้อง 212 อาคารมหิตลาธิเบศร มี รศ.ดร.นพพล วิทย์วรพงศ์ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน
งานประชุม AASLE เป็นเวทีวิชาการครั้งสำคัญที่จัดขึ้นในมหาวิทยาลัยชั้นนำในภูมิภาคเอเชียและออสเตรเลีย ซึ่งการประชุมวิชาการในปีนี้เป็นครั้งแรกที่จัดในประเทศไทย โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นเจ้าภาพ เป็นงานที่รวบรวมนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์แรงงานจากภูมิภาคเอเชีย ออสเตรเลีย และทั่วโลก เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และนำเสนอผลการวิจัยล่าสุดในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับตลาดแรงงาน การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และผลกระทบของเทคโนโลยีต่อแรงงาน ภายในงานมีการนำเสนอหัวข้อวิจัยหลากหลาย เช่น สังคมผู้สูงอายุ นโยบายค่าแรง และแนวทางรับมือการเปลี่ยนแปลงในตลาดแรงงานระดับโลก
รศ.ดร.นพพล วิทย์วรพงศ์ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า “การประชุมครั้งนี้เป็นโอกาสสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ ในฐานะศูนย์กลางการวิจัยเชิงประยุกต์ที่สามารถตอบสนองความต้องการของสังคมในระดับภูมิภาคและระดับโลก เราหวังว่างานนี้จะเป็นเวทีที่สร้างความร่วมมือด้านวิชาการและผลักดันนโยบายที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจแรงงานในอนาคต”
คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับคัดเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดงานประชุม AASLE 2024 เนื่องจากชื่อเสียงของคณะในด้านการวิจัยเชิงประยุกต์ที่ใช้ข้อมูลในการวิเคราะห์และพัฒนานโยบายเศรษฐกิจและสังคม งานนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากองค์กรชั้นนำระดับโลก เช่น ธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) มูลนิธิ Friedrich-Ebert-Stiftung จากเยอรมนี สมาคมเศรษฐศาสตร์แห่งประเทศไทย และสถาบันป๋วย อึ๊งภากรณ์ แห่งธนาคารแห่งประเทศไทย โดยคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ ได้เตรียมการจัดงานครั้งนี้มาเป๋นเวลาถึง 1 ปี
“นอกจากการส่งเสริมการวิจัยและนโยบายเชิงเศรษฐกิจ งานนี้ยังช่วยสร้างเครือข่ายความร่วมมือระดับนานาชาติ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาศักยภาพของนักวิจัยไทย และทำให้คณะเศรษฐศาสตร์และประเทศไทยได้รับการยอมรับมากยิ่งขึ้นในเวทีโลก” คณบดีคณะเศราฐศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวเสริม
งาน AASLE 2024 ไม่เพียงช่วยเสริมสร้างความร่วมมือด้านวิชาการระหว่างประเทศไทยและนานาชาติ แต่ยังเป็นแรงกระตุ้นให้อาจารย์และนักวิจัยในคณะเศรษฐศาสตร์พัฒนาผลงานวิจัยที่มีคุณภาพสูงขึ้น รวมถึงสร้างโอกาสในการพัฒนานโยบายและความร่วมมือในระดับโลกอย่างยั่งยืนในการแสดงศักยภาพด้านเศรษฐศาสตร์และการเป็นศูนย์กลางความร่วมมือวิชาการระดับนานาชาติ พร้อมเปิดประตูสู่ความร่วมมือในอนาคตที่จะช่วยพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทยให้ก้าวไกลในเวทีโลก
ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน งานประชุมครั้งนี้มุ่งลดการใช้พลาสติกและขยะ ด้วยการจัดบริการอาหารและของว่างในบรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ พร้อมจัดการขยะอย่างเป็นระบบ อีกทั้งยังมีบริการดูแลบุตรหลานของผู้เข้าร่วมประชุมตลอดระยะเวลา 3 วัน ซึ่งแสดงถึงความใส่ใจต่อผู้เข้าร่วมการประชุม
รพ.จุฬาลงกรณ์จับมือสภากาชาดไทย เปิดตัว “Check PD” แอปพลิเคชันตรวจหาความเสี่ยงเป็นพาร์กินสัน แม่นยำถึง 90%
จุฬาฯ จัดงาน Chula the Impact ครั้งที่ 29 “Chula-KBTG: AI for the Future” พร้อมลงนาม MOU ร่วมกับ KBTG เปิดตัวระบบ AI LUCA และ Virtual Patient
อธิการบดีจุฬาฯ ประธาน ทปอ. ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งกรรมการอำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)
พิธีเปิดหลักสูตร TOP Green รุ่นที่ 1 จุฬาฯ ร่วมกับองค์กรพันธมิตรจัดหลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านความยั่งยืน
“Barter System Fair ตลาดนัด-แลก-พบ” ครั้งที่ 2 Chula Zero Waste ชวนแลกเปลี่ยนแบ่งปันสิ่งของที่ไม่ใช้แล้ว
จุฬาฯ จัดงานขอบคุณผู้มีส่วนร่วมจัด “พิธีทูลเกล้าฯ ถวายฉลองพระองค์ครุยพระบรมราชูปถัมภก” และการแสดงดนตรีเฉลิมพระเกียรติ “รวมใจภักดิ์ เฉลิมทศมจักรีนฤบดินทร์ : มหาดุริยางค์ไทย-สากล”
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้