รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
9 มกราคม 2561
ข่าวเด่น
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวอันดับ 2 ของประเทศไทย อันดับ 90 ของโลก จากการจัดอันดับโดย UI GreenMetric Ranking of World University 2017 โดยมีมหาวิทยาลัยต่างๆเข้าร่วมการจัดอันดับทั้งสิ้น 619 สถาบัน จาก 76 ประเทศซึ่งเพิ่มขึ้นกว่าทุกปี โดยจุฬาฯ ได้คะแนนเป็นอันดับ 1 ของมหาวิทยาลัยไทยใน 2 ด้าน ได้แก่ การขนส่ง และการจัดการขยะ
ติดตามผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวเพิ่มเติมได้ที่ greenmetric.ui.ac.id/overall-ranking-2017
รศ.ดร.บุญไชย สถิตมั่นในธรรม รองอธิการบดีจุฬาฯ เปิดเผยว่า การจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวในปีนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้คะแนนรวมทั้งสิ้น 5,754 คะแนน โดยใช้เกณฑ์การพิจารณา 6 กลุ่ม และสัดส่วนของคะแนนในแต่ละกลุ่มเช่นเดียวกับทุกปีที่ผ่านมา สิ่งที่แตกต่างจากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวปีที่แล้วคือ ในปีนี้คะแนนที่มหาวิทยาลัยได้นั้นยากขึ้นเนื่องจากมีการให้คะแนนที่ลงรายละเอียดในเชิงปริมาณมากขึ้นในทุกกลุ่ม เช่น ในด้านพลังงานทดแทน ต้องให้ข้อมูลว่าพลังงาน solar cell สามารถผลิตไฟฟ้าคิดเป็นสัดส่วนเท่าใดของพลังงานที่ใช้ไป อย่างไรก็ตาม ภาพรวมของคะแนนที่จุฬาฯได้รับในปีนี้ดีขึ้นกว่าปีที่แล้ว โดยจุฬาฯได้คะแนนสูงขึ้นในเกณฑ์การพิจารณา 4 กลุ่ม ได้แก่ Energy and Climate Change, Waste, Water และ Transportation โดยในด้าน Transportation (การขนส่ง) จุฬาฯ ได้คะแนนอันดับ 1 ของมหาวิทยาลัยไทย อันดับที่ 25 ของโลก เนื่องจากจุฬาฯมีระบบการขนส่งสาธารณะในมหาวิทยาลัย ทั้งจักรยาน CU Bike และรถ Shuttle Bus ที่ใช้พลังงานไฟฟ้ารองรับการใช้บริการของนิสิต คณาจารย์และบุคลากรจำนวนมาก ส่วนในด้าน Waste (การจัดการขยะ) จุฬาฯ ได้คะแนนอันดับ 1 ของประเทศไทย อันดับ 121 ของโลก ซึ่งเป็นผลมาจากโครงการ Chula Zero Waste ซึ่งมีการจัดกิจกรรมต่างๆอย่างต่อเนื่อง อาทิ การรณรงค์ในเรื่องการลดใช้ถุงพลาสติก ช่วยทำให้ขยะลดลง เป็นต้น
รศ.ดร.บุญไชย กล่าวเพิ่มเติมว่า จุฬาฯ ไม่ได้คาดหวังว่าจะได้คะแนนในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวมากไปกว่านี้เนื่องจากในหลายตัวชี้วัด จุฬาฯไม่สามารถแข่งขันกับมหาวิทยาลัยอื่นๆได้ เช่น ในด้าน Setting and Infrastructure (ที่ตั้งและโครงสร้างพื้นฐาน) จุฬาฯเป็นมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง ทำให้มีข้อจำกัดในเรื่องการเพิ่มพื้นที่สีเขียว การจะได้คะแนนในส่วนนี้มากขึ้นอีกหนึ่งขั้น เท่ากับว่าจุฬาฯจะต้องเพิ่มพื้นที่สีเขียวอีก 1 % ซึ่งเป็นไปไม่ได้ อย่างไรก็ตาม มหาวิทยาลัยยังคงมุ่งมั่นพัฒนาในด้านอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการบริหารจัดการน้ำ การบริหารจัดการพลังงาน ส่วนในด้าน Education ซึ่งรวมถึงการเรียนการสอนและการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น จุฬาฯ มีรายวิชาและโครงการวิจัยต่างๆ ที่สอดแทรกในเรื่องสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืนอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ชื่อรายวิชาหรือชื่อโครงการวิจัยไม่ได้บ่งบอกว่าเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในอนาคตน่าจะมีกระบวนการการรวบรวมข้อมูลเหล่านี้จากอาจารย์ผู้สอนหรือผู้ทำวิจัยเป็นผู้ให้ข้อมูล ซึ่งจะทำให้คะแนนของจุฬาฯในส่วนนี้เพิ่มขึ้น
“ตามผังแม่บทจุฬาฯ 100 ปี ได้มีการดำเนินการในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยสีเขียวและการเป็นมหาวิทยาลัยที่ยั่งยืนอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการจัดการพื้นที่สีเขียว การจัดหาพลังงานทดแทน การจัดการพลังงาน การจัดการขยะ การจัดการน้ำ การขนส่ง ฯลฯ เป็นการตอบสนองพันธกิจของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไม่ได้ทำเพื่อมุ่งไปที่ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวเป็นสำคัญ” รศ.ดร.บุญไชย กล่าวในที่สุด
PMCU จับมือ ‘POP MART CHARITY MINI CONCERT’ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม
จุฬาฯ จัดงานขอบคุณชาวจุฬาฯ ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จ “Great Hearts, Great Success”
สถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ จัดงาน Mekong Environment Resilience Week ขับเคลื่อนการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
จุฬาฯ จัดเสวนาวิชาการ Chula The Impact ครั้งที่ 25 “แพลตฟอร์มจุฬาฯ ฝ่าพิบัติ: Digital War Room” นวัตกรรมทำนายพื้นที่น้ำท่วมและแนวดินถล่มจากอุทกภัย
นิสิต BBA จุฬาฯ กวาดรางวัลจากเวทีระดับโลก ASEAN-CHINA-INDIA Youth Leadership Summit 2024
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเยี่ยมชมศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ ชื่นชมความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมฮาลาล
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้