รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
31 มกราคม 2568
ข่าวเด่น, ภาพข่าว, ปฏิทินกิจกรรม
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดงานแถลงข่าวการแข่งขันฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์ – จุฬาฯ ครั้งที่ 75 ณ ห้องยูงทอง 1 ชั้น 2 สมาคมธรรมศาสตร์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2568 โดยมีนายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ นายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร นายกสมาคมธรรมศาสตร์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ นายลวรณ แสงสนิท ประธานคณะกรรมการดําเนินงานฯ ฝ่ายจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายวัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ ประธานคณะกรรมการดําเนินงานฯ ฝ่ายธรรมศาสตร์ รศ.ดร.สุกัญญา สมไพบูลย์ รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ศ.ดร.ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมงานแถลงข่าว
งานแถลงข่าวเริ่มด้วยการแสดงเปิดเวทีโดยผู้นําเชียร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเชียร์ลีดเดอร์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การแสดงโดยจุฬาฯ คทากรและดรัมเมเยอร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ต่อด้วยการเตรียมความพร้อมของทีมฟุตบอล โดยนายสุทธิพันธ์ วรรณวินเวศร์ ผู้จัดการทีมฟุตบอลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายสมชาย พูลสวัสดิ์ ผู้จัดการทีมฟุตบอลมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พร้อมกับการเปิดตัวนักฟุตบอลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและนักฟุตบอลมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
งานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์ – จุฬาฯ ครั้งที่ 75 จะจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2568 ณ สนามศุภชลาศัย กรีฑาสถานแห่งชาติ โดยสมาคมธรรมศาสตร์ในพระบรมราชูปถัมภ์และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รับหน้าที่เป็นเจ้าภาพหลัก ประสานความร่วมมือจากสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และพลังจากนิสิต นักศึกษาทั้งสองสถาบัน เพื่อร่วมกันสร้างความทรงจำครั้งใหม่ให้กับงานฟุตบอลประเพณีอันทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์
การจัดงานในปีนี้มีความพิเศษ เนื่องจากเป็นการกลับมาจัดงานฟุตบอลประเพณีฯ อีกครั้งหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้งานฟุตบอลประเพณีฯ ห่างหายไปกว่า 5 ปี ภายใต้แนวคิด “Dawn of Memory” โดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นำเสนอในแนวคิด “ความทรงจำในวันใหม่” ส่วนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนำเสนอในแนวคิด “The time of tapestry อดีต อนาคต ของปัจจุบัน”
นอกเหนือจากการแข่งขันฟุตบอล งานฟุตบอลประเพณีฯ ยังมีการจัดกิจกรรมมากมายที่เป็นเอกลักษณ์ของงาน เช่น การแปรอักษรที่สะท้อนเรื่องราวของสังคมผ่านพลังของนิสิตนักศึกษา ขบวนพาเหรดที่ประกอบไปด้วยขบวนพระเกี้ยวแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขบวนธรรมจักรแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขบวนเฉลิมพระเกียรติ ขบวนล้อการเมือง และขบวนสะท้อนสังคม พร้อมทั้งดรัมเมเยอร์ ผู้อัญเชิญพานนำขบวนธรรมจักร ผู้แทนถือป้ายนามมหาวิทยาลัย ผู้นำเชียร์แห่งจุฬาฯ และธรรมศาสตร์ ที่จะนำเสียงเชียร์จากผู้ชมส่งไปยังนักกีฬาบนสนาม
นอกจากนี้ การเปิดตัว TU Ambassador และ จุฬาฯ คทากร รุ่นที่ 17 ยังเป็นอีกหนึ่งสีสันของงานฟุตบอลประเพณีฯ ในปีนี้ โดย TU Ambassador จะดำเนินโครงการบำเพ็ญประโยชน์ เช่น การซ่อมแซมโรงเรียนและโครงการบริจาคโลหิต ในขณะที่ จุฬาฯ คทากร มาพร้อมแนวคิด “Restart with courage and embrace endless possibilities” ที่สะท้อนถึงพลังแห่งการเริ่มต้นใหม่ด้วยความกล้าและการเปิดรับโอกาสใหม่ ๆ อย่างไม่สิ้นสุด
ขอเชิญนิสิตเก่า นิสิตปัจจุบัน และประชาชนทั่วไป ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความทรงจำครั้งใหม่ในงานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์-จุฬาฯ ครั้งที่ 75 มาร่วมส่งเสียงเชียร์และกำลังใจให้กับทีมฟุตบอลของทั้งสองมหาวิทยาลัย ในวันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2568 ณ สนามศุภชลาศัย กรีฑาสถานแห่งชาติ ประตู 5 (ฝั่งธรรมศาสตร์) และประตู 18 (ฝั่งจุฬาฯ)
ช่องทางติดตามข่าวสาร
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ จัดสัมมนาผู้บริหาร ระดมความคิดเห็นเชิงนโยบาย เพื่อทบทวนและจัดทำแผนยุทธศาสตร์บัณฑิตวิทยาลัย ปี 2568
ผู้บริหารจุฬาฯ ต้อนรับผู้แทนจาก Australian Academic Institutions เยี่ยมชมจุฬาฯ สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ
ขอเชิญร่วมงาน CU x MU Sustainability Fest 2025
23 มี.ค. 2568 เวลา 15.00 - 21.00 น.
อุทยาน 100 ปี จุฬาฯ
คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ เปิดรับสมัครหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจและการจัดการ
คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ จัดโครงการ International Education & Development Fieldwork ให้นักศึกษา Tohoku University และ Tsinghua University
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกิจกรรมทางศิลปะ ณ ประเทศสิงคโปร์ ภายใต้ความร่วมมือกับ Nanyang Polytechnic โครงการปฏิบัติการด้านการออกแบบอย่างยั่งยืน
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้