รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
1 กุมภาพันธ์ 2568
ข่าวเด่น, งานวิจัยและนวัตกรรม
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ BGI (Beijing Genomics Institute) ร่วมมือในโครงการวิจัย CHANGS (Comprehensive Health Analysis for AgiNG Study) เพื่อการวิเคราะห์สุขภาพแบบองค์รวมของประชากรสูงวัยในประเทศไทย เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2568 ณ ห้อง 302 อาคารรัตนวิทยาพัฒน์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยมี รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ผู้รับมอบอำนาจจาก ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ และ ดร.หวัง เจียน ผู้ร่วมก่อตั้งและประธาน BGI Group เป็นผู้แทนลงนามความร่วมมือในครั้งนี้
ความร่วมมือในโครงการ CHANGS มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์สุขภาพของประชากรสูงวัยในประเทศไทย โดยใช้เทคโนโลยีโอมิกส์ (omics technology) และปัญญาประดิษฐ์ในการวิเคราะห์ผล (AI based bioinformatics) โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะรับผิดชอบในการรวบรวมตัวอย่างจากอาสาสมัครและข้อมูลทางคลินิก ส่วน BGI จะสนับสนุนด้านเทคโนโลยี และทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูล
โครงการ CHANGS จะเป็นโครงการวิจัยที่สำคัญยิ่งในการทำความเข้าใจกระบวนการชราภาพของมนุษย์อย่างลึกซึ้ง ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ การดูแลสุขภาพและการป้องกันโรคในผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลลัพธ์ของโครงการนี้จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรสูงวัย เพิ่มศักยภาพ ในการดูแลตนเอง ลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และส่งเสริมให้สังคมไทยเป็นสังคมผู้สูงอายุที่แข็งแรงและมีความสุข คาดว่าวิธีการวินิจฉัยและการรักษาที่ได้จะเกิดประโยชน์แก่ผู้สูงอายุและสังคมทั่วโลกต่อไป
นอกจากนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและ BGI ยังได้ร่วมมือกันในโครงการ “Chula-BGI Joint Talent Training Program” เพื่อพัฒนานักศึกษาและบุคลากรในสาขาที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาบุคลากร สำหรับงานวิจัยด้านนี้ต่อไป โดยมี ศ.นพ.เกื้อเกียรติ ประดิษฐ์พรศิลป์ หัวหน้าโครงการผู้สูงวัยสุขภาพดีจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และ ดร.มิเกล เอสเตบัน หัวหน้าโครงการจาก BGI ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามความร่วมมือครั้งนี้
รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีโครงการความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ในหลายภาคส่วนทั้งในประเทศและต่างประเทศ BGI เป็นบริษัทเอกชนของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนที่มีความเชี่ยวชาญและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในการตรวจพันธุกรรมและสารต่าง ๆ ที่เป็นต้นกำเนิดของโรค รวมถึงมีผลงานความก้าวหน้าทางด้านงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารชั้นนำของโลก และเป็นสถาบันที่ไม่ได้เน้นในการผลิตเพื่อแสวงหากำไร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนิสิตนักศึกษากับ BGI รวมถึงมีแผนในโครงการวิจัยร่วมกันในอนาคต เรื่องผู้สูงอายุมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง จะทำอย่างไรเพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี การเข้าใจกลไกที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดความชราและความเสื่อมของร่างกายเป็นเรื่องที่กำลังหาคำตอบ โครงการความร่วมมือในครั้งนี้เป็นการทำงานวิจัยร่วมกันโดยนำจุดเด่นของทั้งสององค์กรคือเทคโนโลยีของ BGI ร่วมกับการติดตามในกลุ่มผู้สูงอายุสุขภาพดีในประเทศไทยโดยคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เพื่อศึกษาในเชิงลึกลงไปในระดับโมเลกุลให้เห็นถึงสาเหตุและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ตอบคำถามที่สำคัญในเรื่องการชราภาพได้ ซึ่งจะเกิดประโยชน์ต่อมนุษยชาติให้มากที่สุด นอกจากนี้ จุฬาฯ และ BGI ยังมีโครงการแลกเปลี่ยนนิสิตนักศึกษาทั้งในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกอีกด้วย
“การเข้าใจกลไกการชราภาพว่ามีต้นเหตุจากอะไร ความสามารถในการป้องกันหรือยับยั้งกลไกเหล่านั้น จะทำให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี ความร่วมมือระหว่างจุฬาฯ กับ BGI จะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาองค์ความรู้ร่วมกันเพื่อการผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพในศาสตร์เหล่านี้ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญที่จะช่วยพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ๆ ในอนาคต” รศ.นพ.ฉันชายกล่าวในที่สุด
อบรมเชิงปฏิบัติการ “CU Etiquettes” ครั้งที่ 3 “มารยาทบนโต๊ะอาหาร”
จุฬาฯ จัดงานเลี้ยงเชิดชูเกียรตินักกีฬาบุคลากรจุฬาฯ ที่ร่วมแข่งขัน “ตุมปังเกมส์”
จุฬาฯ นำเสนอนวัตกรรมสุดล้ำ “Deep GI phase 2” AI ตรวจมะเร็งกระเพาะ ตับ ท่อน้ำดี ถ่ายทอดสดสู่เวทีโลกในงาน IDEN 2025 ที่เกาหลีใต้
ศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ ร่วมจัดการประชุมวิชาการนานาชาติ ฉลองการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทย–จีน 50 ปี และครบรอบ 50 ปี มิตรภาพไทย–จีน
แจ้งเตือนสำหรับผู้ใช้งาน OneDrive จุฬาฯ ที่มีข้อมูลเกิน 100 GB ข้อมูลจะถูกลบแบบถาวรภายใน 30 มิถุนายน 2568
ผลงานวิจัยระดับปริญญาบัณฑิตในพื้นที่ป่าสะสมคาร์บอน จุฬาฯ สระบุรี คว้ารางวัลจากงานประชุมวิชาการระดับชาติ
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้