รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
15 กุมภาพันธ์ 2568
ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ, งานวิจัยและนวัตกรรม
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขอแสดงความยินดีกับนักเรียนโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ และนิสิตสาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ สร้างชื่อเสียงนำความภาคภูมิใจมาสู่มหาวิทยาลัย คว้ารางวัลการประกวดสิ่งประดิษฐ์ระดับเยาวชน “Thailand New Gen Inventors Award 2025 : I – New Gen Award 2025” ในงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2568 จัดโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2568
ผลงานสิ่งประดิษฐ์สุดล้ำจากความคิดสร้างสรรค์ของนวัตกรจากโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ และคณะครุศาสตร์ที่ได้รับรางวัลต่าง ๆ มีดังนี้
ระดับมัธยมศึกษา (กลุ่มพลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ)
– The Bio-Eco Rock Development (BERD) Project
ผลงานของนายธิปก ตั้งศิริพัฒน์ เด็กหญิงอลิสา ไตรวิทยากร เด็กชายภัทรพล วนิชวัฒนะ โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ได้รับรางวัลชนะเลิศ และรางวัลเหรียญทอง
อาจารย์ที่ปรึกษา : อ.โกเมศ นาแจ้ง
ระดับประถมศึกษา (กลุ่มเกษตรและสิ่งแวดล้อม)
– ผลงานชื่อ WASEN
ผลงานของเด็กหญิงพิริยา วงศ์พิวัฒน์ เด็กหญิงพิรดา วงศ์พิวัฒน์ เด็กชายศุภณัฐ์ กุลหิรัญ เด็กชายเจตน์ กุลหิรัญ โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 และรางวัลเหรียญทอง
อาจารย์ที่ปรึกษา : อ.จีระศักดิ์ จิตรโรจนรักษ์
ระดับประถมศึกษา (กลุ่มอุปกรณ์อำนวยความสะดวก)
– Happy Pill Dispenser : เครื่องจ่ายยาอัตโนมัติควบคุมผ่านโมบายแอปพลิเคชัน
ผลงานของเด็กชายณธันย์ โฉลกพันธ์รัตน์ เด็กชายณกันต์ โฉลกพันธ์รัตน์ โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ได้รับรางวัลเหรียญเงิน
ระดับอุดมศึกษา (กลุ่มท่องเที่ยว)
– SandStory : กิจกรรมประดิษฐ์ของที่ระลึกเพื่อการเรียนรู้แหล่งโบราณสถานในการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
ผลงานของนางสาวสโรชา แซ่ตัน นายสุชาติ อิ่มสำราญ นางสาวจันทนา ชัยโอภานนท์ นางสาวณัชชา เจริญชนะกิจ นิสิตคณะครุศาสตร์ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 และรางวัลเหรียญทอง
อาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ.ดร.โสมฉาย บุญญานันต์
– เควทมิวซ์ : เกมตะลุยสมบัติโบราณสุโขทัย เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและการเรียนรู้เชิงวัฒนธรรมสำหรับเจนแอลฟา
ผลงานของนางสาวญาณาริณ พากเพียร นิสิตคณะครุศาสตร์ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 และรางวัลเหรียญทอง
อาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ.ดร.ขนบพร แสงวณิช
– Aquakey : กิจกรรมเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ทะเลเพื่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และสร้างสรรค์ ผลงานของนางสาวจันทนา ชัยโอภานนท์ นายสุชาติ อิ่มสำราญ นางสาวณัชชา เจริญชนะกิจ นางสาวสโรชา แซ่ตัน นิสิต คณะครุศาสตร์ ได้รับรางวัลเหรียญเงิน
– บล็อกตัวต่อเพื่อการเรียนรู้ลายกระเบื้องวัดโพธิ์
ผลงานของนายนิธิโชติ ชวยกระจ่าง นิสิตคณะครุศาสตร์ ได้รับรางวัลเหรียญเงิน
– Jib Joint : อุปกรณ์แคมป์ปิ้งจากพลาสติกเหลือทิ้งเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
ผลงานของนางสาวรัตนชฎา เตียวจำเริญ นางสาวปันนา คำวิเศษ นายต้นตระกูล กลั่นซ้าย นิสิตคณะครุศาสตร์ ได้รับรางวัลเหรียญเงิน
อาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ.ดร.โสมฉาย บุญญานันต์ และ รศ.พรเทพ เลิศเทวศิริ
นักวิจัยจุฬาฯ ตัวแทนไทยร่วมคณะสำรวจแอนตาร์กติกบนเรือตัดน้ำแข็ง “เสว่ยหลง 2” จากจีน ตามรอยไมโครพลาสติก ถอดรหัสผลกระทบโลกร้อน สู่จิ๊กซอว์ความรู้เพื่อโลก
คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมนักจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตในองค์กร
บริษัทจำลองจุฬาฯ 2025 เปิดโครงการฝึกงานนิสิตภาคฤดูร้อน ภายใต้ปณิธาน “ทำงานด้วยใจ คืนกำไรสู่สังคม”
ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ ได้รับการรับรองให้เป็นผู้แทนประเทศไทยในสถาบันมาตรฐานและมาตรวิทยาแห่งประเทศอิสลาม
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้