ข่าวสารจุฬาฯ

คณาจารย์นักวิจัยจุฬาฯ คว้ารางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ รางวัลผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์ ผลงานประดิษฐ์คิดค้น รวม 25 รางวัล

คณาจารย์และนักวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ  ประกอบด้วย รางวัล  นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ รางวัลผลงานวิจัย รางวัลวิทยานิพนธ์ ประจำปี 2560 รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2561 รวมทั้งสิ้น 25 รางวัล โดยมีพลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลในงาน“วันนักประดิษฐ์ (Thailand Inventor’s Day 2018)” และ“งานตลาดนัดเปิดโลกผลงานวิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ 3“ เมื่อวันศุกร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2561  ณ Event Hall ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ

ภายในงานมีพิธีลงนามความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) มหาวิทยาลัย     ชั้นนำ หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ร่วมลงนามความร่วมมือในการผลักดัน “โครงการคัดกรองผู้ป่วยเบาหวานโดยใช้สารพันธุกรรมและโปรตีนเป้าหมาย” ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และบริษัทใต้ฟ้า เมติคอล โฮลติ้งส์ จำกัด โดยมีศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.มงคล เตชะกำพุ เป็นผู้แทนอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมในพิธี

อาจารย์และนักวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติในปีนี้มีดังนี้ 

นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ 2 ท่าน จากทั้งหมด 5 ท่าน ได้แก่

  1. ศาสตราจารย์ ทันตแพทย์ ดร.ประสิทธิ์ ภวสันต์ คณะทันตแพทยศาสตร์ (สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์)
  2. ศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.มงคล เตชะกำพุ คณะสัตวแพทยศาสตร์(สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา)

รางวัลผลงานวิจัย จำนวน 7 ผลงาน ได้แก่

  1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.เดชฤทธิ์ นิลอุบล และคณะคณะสัตวแพทยศาสตร์ ได้รับรางวัลระดับดีเด่น สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา จากผลงานวิจัยเรื่อง “การบูรณาการองค์ความรู้ด้านไวรัสพันธุศาสตร์เชิงวิวัฒนาการระบาดวิทยาเชิงโมเลกุล และวิทยาการภูมิคุ้มกันเพื่อแก้ไขปัญหาการติดเชื้อไวรัสพีอีดีแบบเรื้อรังในสุกร”
  2. ศาสตราจารย์ ดร.ศิริรัตน์ จิตการค้า และคณะวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี ได้รับรางวัลระดับดีมาก สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย จากผลงานวิจัยเรื่อง “ศักยภาพของโลหะราคาถูกในการทดแทนโลหะมีตระกูลที่บรรจุลงบนตัวเร่งปฏิกิริยาประเภทซีโอไลท์สำหรับกระบวนการ ไพโรไลซิส”
  3. รองศาสตราจารย์ ดร.ปิยบุตร บุรีคำคณะวิทยาศาสตร์ ได้รับรางวัลระดับดี สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ จากผลงานวิจัยเรื่อง “แผนภาพสถานะเชิงแม่เหล็กของสสารมัลติควาร์กหนาแน่นสูงใน ควาร์กกลูออนพลาสม่า”
  4. รองศาสตราจารย์ ดร.อรรจน์ เศรษฐบุตร และคณะ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ได้รับรางวัลระดับดี สาขาปรัชญา จากผลงานวิจัยเรื่อง “โครงการวิจัยเพื่อการศึกษาแนวทางการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยของภาครัฐ”
  5. ดร.อมร วาณิชวิวัฒน์ คณะรัฐศาสตร์ได้รับรางวัลระดับดี สาขานิติศาสตร์ จากผลงานวิจัยเรื่อง “คดีปกครองที่เกี่ยวเนื่องกับกระบวนการตัดสินใจของคณะรัฐมนตรี”
  6. ศาสตราจารย์ดร.ไชยันต์ ไชยพร คณะรัฐศาสตร์ ได้รับรางวัลระดับดี สาขารัฐศาสตร์และ รัฐประศาสนศาสตร์ จากผลงานวิจัยเรื่อง “ประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตรอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข: บทวิเคราะห์มาตรา 7 จากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2540 ถึงร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน (จากมุมมองทางรัฐศาสตร์)”
  7. รองศาสตราจารย์ รุ่งนภา พิตรปรีชา คณะนิเทศศาสตร์ได้รับรางวัลระดับดี สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ จากผลงานวิจัยเรื่อง “แนวทางการกำหนดกรอบจริยธรรมการโน้มน้าวใจการประชาสัมพันธ์”

รางวัลวิทยานิพนธ์ จำนวน 9 ผลงาน ได้แก่

  1. ดร.จันทิวรรณ ศุทธางกูรคณะวิทยาศาสตร์ ได้รับรางวัลระดับดีเด่น สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยาจากวิทยานิพนธ์เรื่อง “การควบคุมระบบโพรฟีนอลออกซิเดสในกุ้งกุลาดำ Penaeus monodon เมื่อมีการติดเชื้อไวรัสแดงดวงขาว” อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก: ศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี ทัศนาขจร คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  2. ดร.คมศิลป์ โคตมูลคณะวิทยาศาสตร์ ได้รับรางวัลระดับดี สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ จากวิทยานิพนธ์เรื่อง “การเปลี่ยนวัฏภาคเชิงโครงสร้างและสมบัติทางกายภาพของวัสดุชนิดใหม่ ภายใต้ความดันสูง” อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก: รองศาสตราจารย์ ดร.ธิติ บวรรัตนารักษ์  คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  3. ดร.กิตติคุณ วังกานนท์ คณะวิทยาศาสตร์ได้รับรางวัลระดับดี สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช จากวิทยานิพนธ์เรื่อง “การวิเคราะห์โครงสร้างของเลคตินที่จับกับน้ำตาลกาแล็กโทฟิวราโนสและเอนไซม์ในการชีวสังเคราะห์น้ำตาลนี้” อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก: Professor Dr.Laura Kiessling จาก University of Wisconsin-Madison, ประเทศสหรัฐอเมริกา
  4. ดร.สุภชิตา เกริกไกวัล คณะวิทยาศาสตร์ได้รับรางวัลระดับดี สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย จากวิทยานิพนธ์เรื่อง “การผลิตแก๊สสังเคราะห์จากแกซิฟิเคชั่นร่วมของถ่านหินและชีวมวล” อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก: รองศาสตราจารย์ ดร.ประพันธ์ คูชลธารา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  5. ดร.จตุพร เพชรบูรณ์ คณะอักษรศาสตร์ได้รับรางวัลระดับดี สาขาปรัชญา จากวิทยานิพนธ์เรื่อง “ความเชื่อและบทบาทของประเพณีทานธัมม์ของกลุ่มชาติพันธุ์ไท ที่ ตำบลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย” อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก: ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ศิราพร ณ ถลาง คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  6. ดร.วกุล มิตรพระพันธ์ คณะอักษรศาสตร์ได้รับรางวัลระดับดี สาขาปรัชญา จากวิทยานิพนธ์เรื่อง “วรรณกรรมและพิธีกรรมบอกตัวตนคนพลัดถิ่นของชาวไทลื้อเมืองยองหมู่บ้านร่มโพธิ์ทอง ตำบลท่าก๊อ อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย” อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก: ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ศิราพร ณ ถลาง คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  7. ดร.จิรเวทย์ รักชาติคณะนิเทศศาสตร์ ได้รับรางวัลระดับดี สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ จากวิทยานิพนธ์เรื่อง “กรอบความรู้เรื่องเพศตามทัศนะของฟูโกต์ในเพลงไทย” อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก: รองศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา แก้วเทพ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  8. ดร.สุทธิศานติ์ ชุ่มวิจารณ์ คณะครุสาสตร์ได้รับรางวัลระดับดี สาขาการศึกษา จากวิทยานิพนธ์เรื่อง “การจัดสภาพแวดล้อมการฝึกวิจัยเพื่อส่งเสริมความตั้งใจหลังสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาปริญญาเอก: กลยุทธ์การพัฒนาจากการวิเคราะห์เอสอีเอ็มที่มีการจับคู่ตัวอย่างวิจัย” อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก: ศาสตราจารย์ ดร.สุวิมล ว่องวานิช คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  9. ดร.สุรศักดิ์ เก้าเอี้ยน คณะครุสาสตร์ได้รับรางวัลระดับดี สาขาการศึกษา จากวิทยานิพนธ์เรื่อง “การวิเคราะห์เงื่อนไขที่เหมาะสมและแนวทางเพื่อส่งเสริมความยึดมั่นผูกพันกับการวิจัยของครูด้วยโมเดลพื้นผิวการตอบสนอง และการวิเคราะห์คอนจอยท์” อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก: รองศาสตราจารย์ ดร.วรรณี แกมเกตุ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น จำนวน 7 ผลงาน ได้แก่

  1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ตั้งพรประเสริฐและคณะ คณะวิศวกรรมศาสตร์ได้รับรางวัลระดับดีมาก สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ จากผลงานประดิษฐ์คิดค้นเรื่อง “กลไกข้อเข่าของขาเทียมสำหรับผู้พิการ ขาขาดเหนือเข่า”
  2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.คเณศ วงษ์ระวี และคณะคณะวิทยาศาสตร์ ได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณ สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ จากผลงานประดิษฐ์คิดค้นเรื่อง “เลนส์เมคเกอร์คิท: ชุดอุปกรณ์ขึ้นรูปเลนส์พีดีเอ็มเอสอีลาสโตเมอร์ พร้อมอุปกรณ์วัดระยะโฟกัส”
  3. ศาสตราจารย์ ดร.รัตนวรรณ มกรพันธุ์และคณะวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี ได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณ สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช จากผลงานประดิษฐ์คิดค้นเรื่อง “กระบวนการบำบัดน้ำทิ้งจากอุตสาหกรรมผลิตที่ใช้น้ำยาง”
  4. รองศาสตราจารย์ ดร.เนาวนิตย์ สงคราม และคณะคณะครุศาสตร์ ได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศ จากผลงานประดิษฐ์คิดค้นเรื่อง “Smart Location-Based Mobile Application: ค้นพบโลกจริงบนพิกัดเสมือน”
  5. รองศาสตราจารย์ ดร.เนาวนิตย์ สงคราม และคณะคณะครุศาสตร์ ได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ จากผลงานประดิษฐ์คิดค้นเรื่อง “Smart U-learning System: นวัตกรรมอัจจริยะเสมือนที่ไร้ขีดจำกัดการเรียนรู้”
  6. นางสริญญา รอดพิพัฒน์ และคณะคณะครุศาสตร์ ได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณ สาขาการศึกษา จากผลงานประดิษฐ์คิดค้นเรื่อง “นวัตกรรมเพื่อสร้างความตระหนักถึงพิษภัยของบุหรี่สำหรับนักเรียนประถมศึกษา”
  7. รองศาสตราจารย์ ดร.ประกอบ กรณีกิจคณะครุศาสตร์ ได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณ สาขาการศึกษา จากผลงานประดิษฐ์คิดค้นเรื่อง “นวัตกรรมเรียนรู้วัฒธรรมอาเซียนผ่าน BiMMA: Banknote iMagnifier Mobile Application”

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า