รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
25 มีนาคม 2568
ความเป็นนานาชาติ, ภาพข่าว
เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2568 รศ.ดร.ยศวีร์ สายฟ้า คณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ และ ผศ.ดร.อุดมลักษม์ กูลศรีโรจน์ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมงานแถลงข่าวโครงการประชุมวิชาการนานาชาติ CU-KU International Symposium in Education 2025: “Inclusive Society: Innovating for an Inclusive and Equitable Future” ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างสองสถาบันที่มีเป้าหมายร่วมกันในการสร้างเครือข่ายและสร้างพื้นที่แห่งการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ที่จะนำไปสู่การพัฒนาสังคมการเรียนรู้ที่ครอบคลุมและยุติธรรมสำหรับผู้เรียนทุกคน
รศ.ดร.ยศวีร์ สายฟ้า คณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า “ความร่วมมือระหว่างคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ และคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในครั้งนี้ เป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างคณาจารย์และนิสิตนักศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยมีเป้าหมายให้ทุกคนได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของโครงการในรูปแบบที่จำลองบรรยากาศของเวทีประชุมวิชาการนานาชาติ ซึ่งจะเป็นโอกาสให้นิสิตนักศึกษาได้ฝึกฝน พัฒนา และประลองฝีมือในเวทีระดับโลก”
โครงการดังกล่าวยังได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งเป็นการผนึกกำลังทางวิชาการที่ทรงคุณค่า เมื่อเราต่างมีจุดแข็ง ความถนัด และความสนใจที่แตกต่างกัน หากได้มาร่วมมือกันย่อมทำให้ผลผลิตทางวิชาการมีพลังมากยิ่งขึ้น และสามารถนำไปสู่การขับเคลื่อนการศึกษาไทย ตอบโจทย์อนาคตและสร้างประโยชน์ต่อส่วนรวมได้อย่างแท้จริง
ผศ.ดร.อุดมลักษม์ กูลศรีโรจน์ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวถึงแนวคิดสำคัญในการจัดการประชุมวิชาการนานาชาติในครั้งนี้ว่า มุ่งเน้นส่งเสริมศักยภาพและประโยชน์สูงสุดต่อนักศึกษาเป็นหลัก เวทีการประชุมวิชาการนานาชาติในครั้งนี้เป็นโอกาสสำคัญในการฝึกฝนนักศึกษาสู่การนำเสนอในระดับนานาชาติ อีกทั้งยังเปิดพื้นที่ให้เยาวชนจากหลากหลายสถาบันและภูมิหลังทางความรู้ได้มาพบปะ สร้างเครือข่าย และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน
“เรามีความเชื่อมั่นว่านวัตกรรมที่ดีไม่ได้เกิดจากการสร้างโดยลำพัง แต่เกิดจากความหลากหลายของผู้สร้างนวัตกรรมที่มาร่วมมือกัน ยิ่งมีความร่วมมือระหว่างคณาจารย์และนิสิตมากเท่าใด โอกาสในการก่อเกิดนวัตกรรมทางการศึกษาที่มีคุณค่าและสามารถสร้างประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติในระยะยาวก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้น” ผศ.ดร.อุดมลักษม์ กล่าวทิ้งท้าย
โครงการประชุมวิชาการนานาชาติ CU-KU International Symposium in Education 2025 จะจัดขึ้นในวันอังคารที่ 8 กรกฎาคม 2568 ณ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายในงานมีกิจกรรมที่น่าสนใจ ได้แก่ การปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ “From Tolerance to Celebration: Nurturing a Culture of Inclusion” โดย Prof. Farha SHARIFF, PhD จาก University of Alberta, Canada การจัดเวทีเสวนาในหัวข้อ “Intersectionality in the Classroom: Addressing Overlapping Identities across All Levels” และการประชุมในหัวข้อ “The Future of Inclusion: Technology, Globalization, and Emerging Challenges” โดยรองนายกรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ ราชอาณาจักรกัมพูชาร่วมการประชุมในครั้งนี้ด้วย นอกจากนี้นิสิต นักศึกษา หรือนักวิจัยที่มีผลงานวิจัยสามารถส่งงานวิจัยมานำเสนอในงานนี้ในรูปแบบโปสเตอร์
ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ทาง www.cukusymposium.edu.chula.ac.th ตั้งแต่วันที่ 1 – 30 เมษายน 2568 (Early bird) และลงทะเบียนทั่วไป ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม – 30 มิถุนายน 2568
สอบถามเพิ่มเติม โทร. 08-2218-2565
สามารถติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.facebook.com/pr.educhula
ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ จัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และองค์ความรู้ฮาลาลในงานเมาลิดกลางแห่งประเทศไทย ฮ.ศ. 1446
เชิญชวนคณาจารย์จุฬาฯ สมัครและเสนอชื่อผู้สมัครรับการเลือกตั้งเพิ่มเติม สมาชิกสภาคณาจารย์ พ.ศ. 2568
23 - 28 เมษายน 2568
เชิญร่วมสัมมนาวิชาการ “อุดมศึกษากับการพัฒนากำลังคนเพื่อรับมือกับความท้าทายในอนาคต”
25 เมษายน 2568 เวลา 13.00 - 16.30 น.
นิสิตนิติศาสตร์ จุฬาฯ สร้างชื่อเสียงในการแข่งขันว่าความกฎหมายระหว่างประเทศที่สหรัฐอเมริกา
รู้เท่าทันก๊าซเรดอน ภายหลังเหตุแผ่นดินไหว อาจารย์วิศวฯ นิวเคลียร์ จุฬาฯ แนะตรวจปริมาณเรดอนที่อาจแทรกผ่านรอยแยกอาคารได้
จุฬาฯ จับมือสมาคมกีฬาเเบดมินตันเเห่งประเทศไทยฯ ร่วมมือทางวิชาการ พัฒนาศักยภาพบุคลากรทางวิทยาศาสตร์การกีฬาสู่ความเป็นเลิศในการพัฒนานักกีฬาแบดมินตันทีมชาติไทย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้