รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
4 กันยายน 2562
ข่าวเด่น
บทความการดูแลสุขภาวะทางจิต
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กุลยา พิสิษฐ์สังฆการ
ในช่วงเวลาที่สังคมไทยเรามีกระแสร้อนแรงถึงความแตกต่างกันในความคิดเห็นทางการเมือง เราอาจเผลอหลงลืมไปว่าทั้ง “เรา” และ “เขา” คนอื่นๆ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นพรรคไหน เสื้อสีอะไร ต่างก็มีหัวจิตหัวใจ และความปรารถนาในฐานะมนุษย์ปุถุชนเหมือนๆ นัก การนึกถึงจุดร่วมเหล่านี้น่าที่จะช่วยลดระยะห่างระหว่างกัน ผ่อนคลายความรุ่มร้อนจากความแปลกแยกจากมุมมองทางการเมืองลงไปได้บ้างนะคะ
“เรามีจุดร่วมกันตรงไหน”
“ใจเขา” และ “ใจเรา” แม้จะบรรจุความคิดที่ไม่เหมือนกันบ้าง แต่ต่างก็เป็นหัวใจที่มีเลือดเนื้อ มีทุกข์สุข ร้อนหนาว ไม่แตกต่างไปจากกัน ลองดูตัวอย่างความคล้ายคลึงพื้นฐานจากมุมมองเชิงจิตวิทยานะคะ
Maslow นักจิตวิทยาผู้ทรงอิทธิพลท่านหนึ่ง ได้ระบุถึงความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ไว้ว่า เราทุกคนต่างมีความต้องการเหมือนๆ กัน เราต้องการที่จะอยู่รอดปลอดภัย มีความมั่นคงในชีวิต เป็นที่รักได้รับการยอมรับ เป็นคนที่มีคุณค่า และได้เลือกใช้ชีวิตในรูปแบบที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นใคร แตกต่างกันในความคิดความเชื่อขนาดไหน ต่างก็มีความต้องการพื้นฐานเหล่านี้ค่ะ
นอกจากความต้องในการฐานะมนุษย์ปุถุชนแล้ว เราแต่ละคนยังมีประสบการณ์ร่วมกันในการที่ต้องเผชิญกับความผิดหวัง ความพลั้งพลาด ความไม่พึงพอใจและการตำหนิตนเอง ซึ่งลักษณะเหล่านี้เป็นประสบการณ์ร่วมของความเป็นมนุษย์ไม่มีใครหลุดพ้นไปได้ มีการศึกษาวิจัยเชิงจิตวิทยาในประเด็นนี้ พบว่าผู้ที่พยายามปฏิเสธข้อจำกัดของตนเองในข้างต้นจะประสบปัญหาในการปรับตัว ลังเลที่จะขอรับความช่วยเหลือจากผู้ที่อยู่รอบข้าง อีกทั้งยังมีความรู้สึกแปลกแยกโดดเดี่ยว ดังนั้น จึงไม่ควรมองข้ามข้อจำกัดร่วมในความเป็นคนของเราไปนะคะ
ตัวอย่างสุดท้ายคือการที่เราทุกคนต่างก็เวียนวนอยู่ในสังสารวัฏ มุมมองจิตวิทยาปัจจุบันได้รับอิทธิพลของพุทธศาสนาและกลิ่นอายวัฒนธรรมตะวันออกอยู่ไม่น้อย สำหรับชาวไทยเรานั้นดูจะได้เปรียบ เพราะต่างคุ้นชินกับการทบทวนถึงความเชื่อมโยงของสรรพสิ่ง ผ่านการแผ่เมตตาในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว การปฏิบัติเช่นนี้ช่วยเตือนใจให้เราตระหนักได้ว่าเราทุกคนต่างเป็นเพื่อนร่วมทุกข์ ต่างอยู่ใต้กฎของธรรมชาติ ซึ่งการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ผันเปลี่ยนเกิดขึ้นตลอดเวลา เราจึงมิอาจหลีกเลี่ยงได้จากความทุกข์ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงนี้ เราต่างเป็นเพื่อนร่วมครรลองชีวิต ท้ายที่สุด ต่างก็ต้องส่งคืนสิ่งที่สั่งสมมาให้กับธรรมชาติไป
ดังนั้น หากทบทวนดูแล้ว แม้เราจะแตกต่างกันเช่นไร เราต่างมีความต้องการเหมือนๆ กัน ประสบข้อจำกัดคล้ายคลึงกัน และตกอยู่ภายใต้กฎธรรมชาติเดียวกัน ทั้ง “เขา” และ “เรา” ต่างต้องเกี่ยวเนื่องกันผ่านประสบการณ์เหล่านี้ ไม่ว่าจะมีความแตกต่างกันเช่นไร ดังนั้น จึงอย่าปล่อยให้ความแตกต่างที่หลายครั้งช่วยเติมแต้มสีสันในชีวิต พร้อมทั้งเปิดมุมมองคมความคิดใหม่ๆ มาทำให้เราพลอยแปลกแยกไปจากกันและกันเลยนะคะ
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการความร่วมมือการปรึกษาด้านสุขภาพจิตแก่บุคลากรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระยะ 2 (Chula Care : ทุกปัญหานักจิตวิทยายินดีรับฟัง)
หากบุคลากรจุฬาฯ สนใจเข้ารับบริการสามารถติดต่อเข้าร่วมโครงการ Chula care หรือสอบถามข้อมูล โทร. 06-2454-8095, 0-2218-1171 หรือ Line ID : chulacare หรือ Facebook fanpage : ศูนย์สุขภาวะทางจิต (Center for Psychological Wellness)
***สำหรับบุคคลทั่วไป สามารถโทรติดต่อนัดหมายได้ที่ โทร. 0-2218-1171 เท่านั้น ช่วงระหว่างวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 -17.00 น.
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2566 เป็นวันที่สอง
การประชุมวิชาการ “พระเสด็จโดยแดนชล” วัฒนธรรมเห่เรือในวรรณคดีและศิลปกรรมไทย และพิธีมอบรางวัลการประกวดบทร้อยกรองประเภทกาพย์เห่ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 72 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
อาสาสมัครกาชาดจากจุฬาฯ ร่วมกิจกรรมช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์
ความประทับใจของบัณฑิตจุฬาฯ ในรั้วจามจุรี และพิธีพระราชทานปริญญาบัตรที่ภาคภูมิใจ
นิสิตคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมแสดงผลงานแฟชั่นและสิ่งทอในงาน centralwOrld Thailand Graduate Fashion Week 2024
วิศวฯ จุฬาฯ เชิญร่วมบริจาคโลหิตถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้