ข่าวสารจุฬาฯ

นิทรรศการ “ภาพถ่ายชีวิตของมหาตมาคานธี” (The Life of Mahatma Gandhi)

ศูนย์อินเดียศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม จุฬาฯ และสถานเอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทย จัดนิทรรศการภาพถ่าย “ชีวิตของมหาตมาคานธี” (The Life of Mahatma Gandhi) เนื่องในวาระ 150 ปี ชาตกาลมหาตมาคานธี ณ นิทรรศสถาน อาคารศิลปวัฒนธรรม จุฬาฯ ระหว่างวันที่ 2 ตุลาคม – 12 พฤศจิกายน 2562 เปิดให้เข้าชมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เวลา 09.00-16.30 น. ปิดวันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันหยุดราชการ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์อินเดียศึกษาแห่งจุฬาฯ โทร. 0-2218-3945

 

แนวความคิด

โมหันทาส กรัมจันท์ คานธี (Mohandas Karamchand Gandhi) หรือที่คนไทยรู้จักในนามมหาตมาคานธี เกิดในปี ค.ศ. 1869 ในรัฐคุชราต บริติชอินเดีย เขาเป็นบุคคลสำคัญของอินเดียที่มีบทบาทในการเรียกร้องเอกราชอินเดียจากบริติช ราชในช่วงทศวรรษ 1940 มหาตมาคานธีเป็นผู้นำกิจกรรมทางการเมืองผู้มีอุดมการณ์อันยิ่งใหญ่และมีแนวคิดทางเศรษฐกิจอันมุ่งเน้นการพึ่งพาตนเอง เพื่อให้อินเดียสามารถดำรงอยู่ได้โดยปราศจากการชี้นำจากโลกตะวันตก ตลอดการเคลื่อนไหวเรียกร้องเอกราชของเขา คานธียึดมั่นในแนวคิดอหิงสา คือการไม่ใช้ความรุนแรงและอดกลั้นต่อความรุนแรงที่ตนประสบ รวมทั้งแนวทางอารยะขัดขืน (Civil Disobedience) โดยไม่ยอมให้ความร่วมมือกับแนวนโยบายของผู้ปกครองที่กดขี่ เชิดชูแนวคิดฮินดูนิยมและสวราช คือการปกครองในหมู่ตนเอง หลังอินเดียได้รับเอกราชไม่นานนัก มหาตมาคานธีก็ถูกสังหารในวันที่ 30 มกราคม 1948 ผลงานชั่วชีวิตของเขาทำให้อนุชนยกย่องเชิดชูเขาเป็น “บิดาแห่งชาติ”  อินเดียสมัยใหม่ตราบจนทุกวันนี้

ปี 2019 คือ ปีครบรอบ 150 ปีชาตกาลของมหาตมาคานธี เพื่อรำลึกถึงคุณความดีและเกียรติประวัติของคานธี รวมทั้งปรัชญาทางเศรษฐกิจและการเมืองการปกครองที่คานธีได้ฝากไว้แก่โลก ในวาระดังกล่าว ศูนย์อินเดียศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงร่วมกับสำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถานเอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทย กำหนดจัดนิทรรศการภาพถ่ายชีวิตมหาตมาคานธี เพื่อเป็นการถ่ายทอดประวัติชีวิต กิจกรรม และสารจากบิดาแห่งชาติอินเดียผู้นี้ รวมทั้งวัตถุต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับคานธี เช่น “จรขา” คือกงปั่นด้ายที่คานธีได้ใช้เพื่อเรียกร้องให้ชาวอินเดียลุกขึ้นมาพึ่งพาตนเอง นำไปสู่สวราชและสวเทศี ทั้งนี้ จรขาเคยเป็นสัญลักษณ์ที่ปรากฏบนธงอินเดียก่อนที่จะพัฒนามาเป็นอโศกธรรมจักรในปัจจุบัน จึงมีความผูกพันกับวิถีแห่งการพึ่งพาตนเองอย่างมาก

 

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า