รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
12 เมษายน 2568
ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ
สาขาวิชาดนตรีศึกษา ภาควิชาศิลปะ ดนตรี และนาฏศิลป์ศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ จัดโครงการพัฒนาวิชาการศิลปะไทย: การพัฒนาศักยภาพและเผยแพร่ผลงานนิสิตและคณาจารย์ด้านดนตรีไทย ประจำปี 2568 การแสดงผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning Outcome) ของนิสิต รวมทั้งนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่ผ่านการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการฯ จากทั่วประเทศ โดยมี ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ เป็นประธานกล่าวปิดโครงการ เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2568 ณ หอแสดงดนตรี อาคารศิลปวัฒนธรรม จุฬาฯ
“โครงการพัฒนาวิชาการศิลปะไทย : การพัฒนาศักยภาพและเผยแพร่ผลงานนิสิตและคณาจารย์ด้านดนตรีไทยศึกษา” เป็นโครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักบริหารวิชาการ จุฬาฯ โดยมี รศ.ดร.ยุทธนา ฉัพพรรณรัตน์ รองอธิการบดีจุฬาฯ อาจารย์ภาควิชาศิลปะ ดนตรี และนาฏศิลป์ศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ เป็นหัวหน้าโครงการ ที่ผ่านมามีการจัดโครงการดังกล่าวอย่างต่อเนื่องกว่า 12 ปี เนื่องจากสาขาวิชาดนตรีศึกษาฯ เล็งเห็นถึงความสำคัญขององค์ความรู้ด้านดนตรีไทยที่ปัจจุบันมักไม่มีการบันทึกเป็นหลักฐานหรือลายลักษณ์อักษรอย่างเป็นระบบ ตลอดจนครุศิลปินต้นแบบลดน้อยลง โครงการนี้มุ่งศึกษารวบรวมและพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านอัตลักษณ์กระบวนการ เทคนิคและวิธีการปรับให้เป็นระบบและรูปธรรมโดยเปิดโอกาสให้นิสิตได้เรียนรู้กับครุศิลปินต้นแบบที่หลากหลาย อาทิ ศิลปินแห่งชาติ ผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีไทยจากหลายสำนัก โครงการพัฒนาวิชาการศิลปะไทย ประจำปี 2568 ได้รับเกียรติจากครูต้นแบบทั้งสิ้น 6 ท่าน ได้แก่ ดร.สิริชัยชาญ ฟักจำรูญ ศิลปินแห่งชาติและศิลปินแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ครูสมชาย ทับพร ศิลปินแห่งชาติ รศ.ปกรณ์ รอดช้างเผื่อน ครูจีรพล เพชรสม ครูสุวัฒน์ อรรถกฤษณ์ และครูบุญถึง พระยาชัย
กิจกรรมในโครงการพัฒนาวิชาการศิลปะไทย ประจำปี 2568 ได้แก่ กิจกรรมส่งเสริมสมรรถนะนิสิต (เสริมหลักสูตร) ด้านการบรรเลง และกลวิธีการสอนทักษะปี่พาทย์ เครื่องสายไทย เครื่องหนังไทย และการขับร้องเพลงไทย และกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนานิสิตในการจัดการเรียนรู้ การปฏิบัติทักษะเครื่องดนตรีไทยและการรวมวงขั้นพื้นฐาน รายการแสดงประกอบด้วยบทเพลงเต่ากินผักบุ้ง ทางขยี้ บรรเลงโดยวงมหาดุริยางค์ไทย ซึ่งบรรเลงโดยนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่ผ่านการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการจากทั่วประเทศ ร่วมกับนิสิตจุฬาฯ และเพลงทยอยเขมร สามชั้น บรรเลงโดยวงเครื่องสายไทย และเพลงทยอยเขมร เถา บรรเลงโดยวงปี่พาทย์ไม้แข็ง
ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ จัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และองค์ความรู้ฮาลาลในงานเมาลิดกลางแห่งประเทศไทย ฮ.ศ. 1446
เชิญชวนคณาจารย์จุฬาฯ สมัครและเสนอชื่อผู้สมัครรับการเลือกตั้งเพิ่มเติม สมาชิกสภาคณาจารย์ พ.ศ. 2568
23 - 28 เมษายน 2568
เชิญร่วมสัมมนาวิชาการ “อุดมศึกษากับการพัฒนากำลังคนเพื่อรับมือกับความท้าทายในอนาคต”
25 เมษายน 2568 เวลา 13.00 - 16.30 น.
นิสิตนิติศาสตร์ จุฬาฯ สร้างชื่อเสียงในการแข่งขันว่าความกฎหมายระหว่างประเทศที่สหรัฐอเมริกา
รู้เท่าทันก๊าซเรดอน ภายหลังเหตุแผ่นดินไหว อาจารย์วิศวฯ นิวเคลียร์ จุฬาฯ แนะตรวจปริมาณเรดอนที่อาจแทรกผ่านรอยแยกอาคารได้
จุฬาฯ จับมือสมาคมกีฬาเเบดมินตันเเห่งประเทศไทยฯ ร่วมมือทางวิชาการ พัฒนาศักยภาพบุคลากรทางวิทยาศาสตร์การกีฬาสู่ความเป็นเลิศในการพัฒนานักกีฬาแบดมินตันทีมชาติไทย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้