รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
19 กันยายน 2562
ภาพข่าว
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน 2562 ณ ห้อง 111 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา เสด็จทรงเปิดการประชุมวิชาการเรื่อง “70 ปี สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี : อิทธิพลของรัฐธรรมนูญเยอรมนีต่อกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญไทย” ซึ่งศูนย์ยุโรปศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดขึ้นเพื่อเพิ่มมุมมองการศึกษาวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบในลักษณะของสหวิทยากร ในประเด็นอิทธิพลของกฎหมายรัฐธรรมนูญเยอรมันต่อรัฐธรรมนูญไทย โดยผู้เชี่ยวชาญชาวไทยและชาวเยอรมัน จากการแสดงปาฐกถาและการอภิปรายของผู้ทรงคุณวุฒิ
ในการนี้ ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ กราบทูลสำนึกในพระกรุณาธิคุณ ศ.ดร.พรสรรค์ วัฒนางกูร ราชบัณฑิตและนายกสมาคมไทย – เยอรมัน กราบทูลรายงานที่มาและวัตถุประสงค์ของการจัดงาน นายเกออร์ก ชมิดท์ เอกอัครราชทูตเยอรมันประจำประเทศไทย กราบทูลรายงานประวัติการรวมชาติสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และการพัฒนาการใช้กฎหมาย Basic Law นายเฮนนิง กลาเซอร์ ประธานมูลนิธิอาเซียน กัฟเวอร์เมนท์ กราบทูลรายงานสาเหตุหลักที่ทำให้ กฎมายของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีได้รับการยอมรับและยังคงเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกและฉบับเดียวของประเทศเยอรมนี
ในโอกาสนี้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณี สิริพัชร มหาวัชรราชธิดา พระราชทานพระดำรัสเปิดการประชุมวิชาการ จากนั้นเสด็จทอดพระเนตรนิทรรศการภาพวาดผลงานของนักเรียนในหัวข้อ “ฉลอง 70 ปี สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และประวัติศาสตร์ของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี”
งานแสดงมุทิตาจิตแด่บุคลากรจุฬาฯ ในสำนักงานมหาวิทยาลัย ที่เกษียณอายุ ปี 2567
สถาปัตย์ จุฬาฯ เชิญร่วมกิจกรรมเดิน-ปั่น-วิ่ง WALK-RIDE-RUN ย่านพระโขนง-บางนา “เดินส่องย่าน ปั่นมองเมือง วิ่งเชื่อมกรุง” และกิจกรรมเสวนาสาธารณะ
15 ก.ย. 67
ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ บ้านจิรายุ – พูนทรัพย์ ถนนสุขุมวิท 101/1 (ซอยวชิรธรรมสาธิต)
จุฬาฯ จัดพิธีมอบเข็มทองคำเกียรติคุณและแสดงมุทิตาจิตแด่ผู้เกษียณอายุ ปี 2567
จุฬาฯ จัดโครงการ “CU Sharing for Charity แบ่งปันเพื่อน้อง ครั้งที่ 1”
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับมูลนิธิเพื่อนศิลปะ สร้างแพลตฟอร์มใหม่ยกระดับศิลปะการเต้นสู่เวทีนานาชาติ
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ พัฒนา “MANUGRIP” อุปกรณ์ฝึกออกกำลังมือ เพื่อสุขภาพผู้สูงวัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้