รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
3 ตุลาคม 2562
ข่าวเด่น
เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2562 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จับมือ กลุ่มทรู เดินหน้าความร่วมมือพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม ในโครงการ “TrueLab” พร้อมเปิด TrueLab@Chula Engineering: 5G & Innovative Solution Center พื้นที่สร้างสรรค์นวัตกรรมที่เพียบพร้อมด้วยโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม ทั้ง 5G, 4G, บรอดแบนด์ และ WiFi รวมถึงเครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อการทดลอง ทดสอบ ทุนวิจัย/พัฒนา และกิจกรรมเสริมสร้างองค์ความรู้ เสริมศักยภาพให้คณาจารย์และนิสิตในการค้นคว้า สร้างนวัตกรรมและผลงานวิจัย ตลอดจนพัฒนาและสร้างสรรค์รูปแบบการใช้งานต่างๆ โดยใช้เทคโนโลยี 5G ที่สามารถพัฒนาต่อยอดให้สามารถใช้งานได้จริง เพื่อประโยชน์สาธารณะและการพัฒนาสังคมไทยในยุคดิจิทัล
ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมุ่งสร้างสรรค์องค์ความรู้และนวัตกรรมเพื่อสร้างเสริมสังคมไทยสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน และสร้างบัณฑิตที่จะเป็นนวัตกรช่วยปรับเปลี่ยนสังคมไทยให้สามารถสร้างมูลค่าและคุณค่าให้แก่ประเทศ ซึ่งหนึ่งในกลยุทธ์หลักของจุฬาฯ คือ การบ่มเพาะและผลักดันนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ความต้องการจริงทั้งเชิงสังคมและเทคโนโลยี โดยความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและองค์กรเอกชน นับเป็นหนึ่งในแนวทางที่จะช่วยพัฒนาวิชาการของมหาวิทยาลัย ให้สามารถสร้างคน สร้างนวัตกรรมและผลการวิจัยที่เกิดประโยชน์ต่อสาธารณะในวงกว้างได้ ความร่วมมือกับกลุ่มทรูในการดำเนินโครงการ TrueLab ในครั้งนี้ จะช่วยเพิ่มโอกาสการเรียนรู้ พัฒนาทักษะ และเพิ่มศักยภาพของคณาจารย์และนิสิตจุฬาฯ ทั้งยังสนับสนุนให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมและต่อยอดการนำผลการวิจัยที่ได้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจ อุตสาหกรรม และประเทศ สอดคล้องกับนโยบายด้านความเป็นเลิศทางวิชาการของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย”
ดร.กิตติณัฐ ทีคะวรรณ กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า “กลุ่มทรูมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะวิศวกรรมศาสตร์ ให้โอกาสกลุ่มทรูได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนความเป็นเลิศทางวิชาการของมหาวิทยาลัย สอดคล้องกับความตั้งใจของกลุ่มทรูในการส่งเสริมศักยภาพของระบบการศึกษาของไทย เพื่อสร้างคนรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถและมีความคิดสร้างสรรค์ที่จะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตและแข่งขันได้กับนานาประเทศ โดยกลุ่มทรูเดินหน้าพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมและดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยยกระดับการใช้ชีวิตให้สะดวกสบาย และส่งเสริมการบูรณาการโดยใช้โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมและเทคโนโลยีดิจิทัลในการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อประโยชน์สุงสุดของประเทศ โดยความร่วมมือในโครงการทรูแล็บครั้งนี้ กลุ่มทรูจะนำศักยภาพของโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมดิจิทัล โดยเฉพาะโครงข่าย 5G ที่สามารถทดลองทดสอบได้แล้ววันนี้ พร้อมทั้งความรู้ ความชำนาญในด้านเทคโนโลยี มาผสานกับองค์ความรู้ของคณาจารย์และนิสิต เพื่อสร้างนวัตกรไทยรุ่นใหม่ ที่จะช่วยสร้างสรรค์นวัตกรรมและผลงานวิจัยที่มีคุณค่าต่อสังคมไทย”
ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มุ่งมั่นผลิตบุคลากรและวิศวกรที่มีความรู้ มีทักษะและสามารถบุกเบิกองค์ความรู้ใหม่ด้านวิศวกรรมและบูรณาการองค์ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคมไทย ล่าสุด ร่วมมือกับกลุ่มทรู เปิด TrueLab@Chula Engineering เพื่อเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ การวิจัยและคิดค้นนวัตกรรมต่าง ๆ เสริมสร้างกระบวนการในการเรียนรู้ของนิสิต ให้สามารถนำความรู้ทางทฤษฎีที่ได้จากห้องเรียนมาทดลอง วิจัย และพัฒนาต่อยอดเป็นผลงานที่จะสร้างคุณประโยชน์ให้แก่สังคมได้ โดยเฉพาะ 5G และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ มั่นใจว่า TrueLab@Chula Engineering จะเป็นพื้นที่สร้างประโยชน์ และเป็นการเตรียมความพร้อมของบุคลากรและส่งเสริมการสร้างสรรค์ผลงานวิจัยเทคโนโลยี 5G เพื่อให้เกิดระบบนิเวศของการพัฒนาเทคโนโลยีและบริการ 5G ของประเทศต่อไป
ดร.ธีระพล ถนอมศักดิ์ยุทธ หัวหน้าคณะผู้บริหาร ด้านนวัตกรรมและความยั่งยืน บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า “TrueLab เป็นโครงการความร่วมมือด้านงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมระหว่างกลุ่มทรูและสถาบันการศึกษา โดยมุ่งพัฒนาระบบนิเวศเพื่อให้บริการครบวงจรสำหรับคณาจารย์และนิสิต นักศึกษา เพื่อสร้างนักวิจัยและนวัตกรไทยจากรั้วมหาวิทยาลัย ภายใต้แนวคิด “STARTUP” ผ่านการสนับสนุนในด้าน Startup seed fund แหล่งทุนเพื่อสร้างสรรค์และพัฒนาผลงานนวัตกรรม, Talent Recruitment การเฟ้นหานวัตกรที่มีความรู้ความสามารถ เพื่อช่วยพัฒนาไอเดียและต่อยอดในเชิงธุรกิจให้เกิดขึ้นจริง, Assessment Center ช่วยประเมินความถนัดและความสามารถ เพื่อวางแผนการพัฒนาตนเองในด้านต่างๆ, Research & Development Fund สนับสนุนทุนวิจัย, The future job and digital training ศูนย์บ่มเพาะและอบรมความรู้ด้านดิจิทัล, University 4.0 สนับสนุนดิจิทัลไลฟ์สไตล์ในมหาวิทยาลัย และ Privilege as a member สิทธิพิเศษจากโครงการ TrueLab เชื่อมั่นว่า TrueLab@Chula Engineering: 5G & Innovative Solution Center ที่มีระบบนิเวศ (Ecosystem) ที่เอื้อต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรม จะสร้างคุณค่าและประโยชน์ต่อนิสิต คณาจารย์ และสร้างผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศไทย
TrueLab@Chula Engineering: 5G & Innovative Solution Center ตั้งอยู่ที่อาคาร 3 ชั้น 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีขนาดพื้นที่ประมาณ 570 ตารางเมตร สุดล้ำกับเครือข่าย 5G และระบบเทคโนโลยีสื่อสารพื้นฐาน สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และ WiFi ครอบคลุมทั่วพื้นที่ใน TrueLab เพียบพร้อมด้วยอุปกรณ์และเครื่องมือที่ทันสมัย ประกอบด้วยพื้นที่หลัก 5 ส่วนได้แก่ ออดิทอเรียม (Auditorium) พื้นที่จัดกิจกรรมประชุม สัมมนา ในรูปแบบ Townhall, Working space พื้นที่สำหรับการทำงาน, ห้องประชุม พร้อมฟังก์ชั่นแบ่งเป็นห้องย่อยได้ 2 ห้อง, ห้องสำนักงาน และ พื้นที่ส่วนกลาง (Lounge) ปรับเปลี่ยนฟังก์ชั่นใช้งานได้หลายรูปแบบ
จุฬาฯ Triple Champions อันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทยจากสามรายการจัดอันดับที่เป็นที่ยอมรับระดับโลก
สัมมนา “จับตาโค้งสุดท้ายเลือกตั้งสหรัฐฯ 2024: โอกาสและความท้าทายระดับโลก”
จุฬาฯ อันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทย TOP ของประเทศ 3 ด้าน โดย THE WUR 2025
สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อมจุฬาฯ เปิดตัวหนังสือ “การเดินทาง 50 ปี สู่สถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน”
เชิญร่วมประกวดวงดนตรีและประกวดหนังสั้น เนื่องในวันเอดส์โลก ครั้งที่ 32 ประจำปี 2567
นักวิชาการศศินทร์ เผยผลวิจัยข้อเท็จจริงและโอกาสสำหรับผู้ดูแลผู้ที่มีความแตกต่างทางการรับรู้
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้