รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
10 ตุลาคม 2562
ข่าวเด่น
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะดำเนินโครงการจัดการระบบการสัญจร – โครงการก่อสร้างทางเดินมีหลังคาและระบบระบายน้ำ (คณะเศรษฐศาสตร์ – ประตูรัฐศาสตร์) เพื่อปรับปรุงระบบระบายน้ำบริเวณคณะเศรษฐศาสตร์ ถึงประตูถนนอังรีดูนังต์ คณะรัฐศาสตร์ และบริเวณประตูทางเข้าจามจุรีสแควร์จนถึงคณะเศรษฐศาสตร์ ให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ น้ำไม่ท่วมขังเวลาฝนตก รวมทั้งจะก่อสร้างทางเดินมีหลังคาในบริเวณดังกล่าว ระยะเวลาดำเนินการ 300 วัน โดยบริษัทผู้รับจ้างจะเข้าดำเนินการปรับปรุงตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2562 เป็นต้นไป กำหนดแล้วเสร็จกลางเดือนสิงหาคม 2563 ในการดำเนินการดังกล่าวจะต้องมีการขุดถนนภายในมหาวิทยาลัยตั้งแต่บริเวณหน้าคณะเศรษฐศาสตร์ – คณะรัฐศาสตร์ จนถึงถนนอังรีดูนังต์ และบริเวณถนนตั้งแต่แยกคณะเศรษฐศาสตร์ถึงจัตุรัสจามจุรี
การดำเนินการระยะที่ 1
15 ตุลาคม 2562 – 5 มีนาคม 2563
– หน้าอาคารเกษม อุทยานิน – อาคารจอดรถ ปิดการจราจรขาเข้า 1 ช่องทาง เหลือเฉพาะขาออกถนนอังรีดูนังต์ / ใช้พื้นที่ลานจอดรถ 3 คณะรัฐศาสตร์
15 ตุลาคม 2562 – 17 เมษายน 2563
– มหาวิทยาลัยปรับเส้นทางจราจรให้เหลือเพียง 1 ช่องทางจราจร ในแนวถนนจากอาคารวิศิษฐ์ ประจวบเหมาะ ถึงถนนอังรีดูนังต์
– ปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่ลานจอดรถหน้าคณะเศรษฐศาสตร์
15 ธันวาคม 2562 – 17 เมษายน 2563
– ปิดการจราจรทั้งหมดบริเวณถนนระหว่างคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี – คณะเศรษฐศาสตร์ ถึงอาคารบัณฑิต กันตะบุตร คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
การดำเนินการระยะที่ 2
18 เมษายน – 20 มิถุนายน 2563
– ปิดการจราจรถนนบริเวณสามแยกคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี – คณะเศรษฐศาสตร์
18 เมษายน – 8 สิงหาคม 2563
– ปิดการจราจรถนนตั้งแต่คณะเศรษฐศาสตร์ ถึงอาคารวิศิษฐ์ ประจวบเหมาะ / ใช้พื้นที่ลานจอดรถ 2 คณะรัฐศาสตร์
– ปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่ลานจอดรถหน้าอาคารประชาธิปก – รำไพพรรณี
การปิดการจราจรในการดำเนินการระยะที่ 2 มีผลกระทบต่อเส้นทางการเดินรถโดยสารภายในจุฬาฯ โดยมหาวิทยาลัยจะปรับการจราจรบริเวณแยกหอนาฬิกาถึงศาลาพระเกี้ยว ซึ่งจะอนุญาตให้เฉพาะรถโดยสารภายในจุฬาฯ (Shuttle Bus) และรถ SERVICE สำหรับอาคารต่างๆ วิ่งผ่านเส้นทางนี้เท่านั้น และจะปรับเส้นทางจราจรช่วงแยกคณะวิศวกรรมศาสตร์ถึงศาลาพระเกี้ยว เป็นการเดินรถสองทาง โดยรถโดยสารจะวกกลับในเส้นทางเดิมนี้ ส่วนรถ Shuttle Bus สาย 1, 3, 4 จะวนรถไปออกถนนอังรีดูนังต์ บริเวณประตูคณะอักษรศาสตร์
ในการดำเนินโครงการดังกล่าว สำนักบริหารระบบกายภาพ จุฬาฯ จะกำชับให้ผู้รับจ้างดำเนินการด้วยความเรียบร้อย และก่อให้เกิดการรบกวนต่อพื้นที่บริเวณโดยรอบให้น้อยที่สุด ทั้งนี้ หากเกิดความไม่สะดวก สามารถแจ้งได้ที่ฝ่ายวางแผน ออกแบบและสารสนเทศระบบกายภาพ สำนักบริหารระบบกายภาพ โทรศัพท์ 0-2218-0250-52 โทรสาร 0-2218-0143
อาจารย์และนิสิตสถาปัตย์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษา Tokyo Metropolitan University ที่ญี่ปุ่น
อาจารย์และนิสิตภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษาจาก Faculty of Urban Environmental Sciences, Tokyo Metropolitan University ประเทศญี่ปุ่น (TMU)
จุฬาฯ ร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายสักการะและจัดพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเนื่องใน “วันนวมินทรมหาราช”
ละครนิเทศจุฬาฯ 2567 “ด้ายแดงเป็นเหตุ Unfortunate Love”
24 - 26 มกราคม 2568
ณ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ ชั้น 7 อาคารสยามสแควร์
จุฬาฯ ต้อนรับคณะศึกษาดูงานด้านการบริหารความเสี่ยงจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แบ่งปันประสบการณ์การพัฒนาระบบบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัย
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมเรื่อง “กัญชาทางการแพทย์: ความรู้ที่ต้องมีสำหรับเภสัชกรยุคใหม่”
11 ธ.ค. 67 เวลา 09.00 – 12.15 น.
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ และ Zoom
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมโครงการ “Next-Gen Arts: พัฒนาศักยภาพครูศิลปะด้วย Soft Power”
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้