รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
14 พฤศจิกายน 2562
ข่าวเด่น, ความเป็นนานาชาติ, ภาพข่าว
สถาบันขงจื่อแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกับกรมวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวแห่งมณฑลเสฉวน สาธารณรัฐประชาชนจีน จัดกิจกรรมแนะนำวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวของมณฑลเสฉวน เมื่อวันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน 2562 ณ ชั้น 9 อาคารมหาจักรีสิรินธร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คุณกัว อี๋ซู ผู้แทนจากกรมวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวแห่งมณฑลเสฉวน สาธารณรัฐประชาชนจีน กล่าวว่า “มณฑลเสฉวนเป็นดินแดนบ้านเกิดของแพนด้า ที่นี่มีวัฒนธรรมและทรัพยากรการท่องเที่ยวหลากหลาย มีประวัติศาสตร์อันยาวนานหลายพันปี มณฑลเสฉวนพร้อมต้อนรับการมาเยือนของทุกท่าน”
นอกจานี้ รศ.ดร.เมี่ยว หรง ผู้อำนวยการสถาบันขงจื่อแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “ดิฉันได้มีโอกาสใช้เวลาหนึ่งเดือนกว่าที่เสฉวน ซึ่งทุกวันนี้ก็ยังตราตรึงใจอยู่ และหวังว่าแขกผู้มีเกียรติทุกคนจะได้เข้าใจวัฒนธรรมของเสฉวนได้มากขึ้นจากในกิจกรรมในวันนี้”
กิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย การแนะนำแหล่งท่องเที่ยวของมณฑลเสฉวนซึ่งอยู่บริเวณทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีนมีเนื้อที่ประมาณ 485,000 ตารางกิโลเมตร กองทุนสัตว์ป่าโลก (WWF) ได้จัดอันดับให้มณฑลเสฉวนเป็น 1 ใน 10 อันดับเขตพื้นที่ของโลก ที่มีความหลากหลายทางระบบนิเวศ อีกทั้งนักพฤกษศาสตร์ระดับนานาชาติอย่าง Ernest Henry Wilson ได้ขนานนามดินแดนแห่งนี้ว่าเป็น “มารดาแห่งสวนโลก” นอกจากนี้เสฉวนยังถูกขนานนามว่า เป็น “แดนสวรรค์แห่งความอุดมสมบูรณ์” ซึ่งมีทั้งความสวยงามทางวัฒนธรรม และธรรมชาติที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกถึง 5 แห่ง ได้แก่
มรดกโลกแห่งที่ 1 เป็นที่อยู่อาศัยของแพนด้ายักษ์ สัตว์ดึกดำบรรพ์ ซึ่งเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ มีพื้นที่กว่า 10,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งทั่วโลกมีแพนด้า 1,600 ตัว ซึ่งเฉพาะที่มณฑลเสฉวนมีแพนด้าอาศัยอยู่ 1,360 ตัว
มรดกโลกแห่งที่ 2 จิ่วจ้ายโกว (หุบเขาเก้าหมู่บ้าน) ซึ่งเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติที่หลายคนมักขนานนามว่า “ดินแดงแห่งเทพนิยาย”
มรดกโลกแห่งที่ 3 คือ อุทยานแห่งชาติฮวางหลง (World Natural Heritage Huanglong) หรือที่รู้จักกันดีชื่อ อุทยานธารน้ำมังกรเหลือง
มรดกโลกแห่งที่ 4 เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม คือ ภูเขาเอ๋อเหมยและพระพุทธรูปใหญ่เล่อซาน (World Cultural and Natural Heritage Mount Emei and Leshan Giant Buddha)
มรดกโลกแห่งที่ 5 เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม คือ ตูเจียงเยี่ยน-ภูเขาชิงเฉิงสำหรับตูเจียงเยี่ยน ซึ่งนักภูมิศาสตร์ชาวเยอรมัน Ferdinand von Richthofen ได้บันทึกการเดินทางในประเทศจีนไว้ว่า “ความสมบูรณ์แบบของการชลประทานที่ ตูเจียงเยี่ยน ไม่มีสิ่งใดในโลกมาเทียบได้” อีกทั้งภูเขาชิงเฉิงเป็นแหล่งกำเนิดลัทธิเต๋า มีโบราณสถานและโบราณวัตถุมากมาย
นอกจากนี้ ภายในงานยังมีกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของมณฑลเสฉวน ได้แก่ การแสดงผีผา การแสดงเปลี่ยนหน้า การบอกเล่าประสบการณ์การท่องเที่ยวที่มณฑลเสฉวน และการชิมอาหารเสฉวนด้วย
PMCU ร่วมกับ “ศิลปินรวมใจเปิดหมวก” ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมภาคเหนือ กับคอนเสิร์ตเปิดหมวก ตอน “น้ำลดเพื่อนผุด” @SiamSquare Walking Street
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2566 เป็นวันที่สาม
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ ร่วมกับ Degree Plus เปิดอบรมหลักสูตรผู้บริหาร “Decentralized Finance and Blockchain”
วิศวฯ จุฬา จัดเสวนา “เข้าใจน้ำท่วม แนวคิดวิศวกร”
10 ต.ค. 67 เวลา 14.00 น.
ห้องประชุมชั้น 2 อาคารเจริญวิศวกรรม (ตึก 4) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2566 เป็นวันที่สอง
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2566
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้