ข่าวสารจุฬาฯ

จุฬาฯ จัดงาน “สยามานุสสติ” สืบศิลป์ไว้ ไทยนิรันดร์ เนื่องในวันมหาธีรราชเจ้า

                                                 “หากสยามยังอยู่ยั้ง              ยืนยง

                                  เราก็เหมือนอยู่คง                    ชีพด้วย

                                  หากสยามพินาศลง                  ไทยอยู่ ได้ฤา

                                  เราก็เหมือนมอดม้วย                หมดสิ้นสกุลไทย”

ส่วนหนึ่งของโคลงพระราชนิพนธ์ “สยามานุสสติ” ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชนิพนธ์ไว้เมื่อปี 2461 และได้พระราชทานแก่ทหารอาสาในสมัยสงครามโลก ครั้งที่ 1 ซึ่งต่อมาได้มีการนำมาใส่ทำนองเป็นเพลงปลุกใจ เมื่อปี 2482  เป็นชื่อการแสดงทางศิลปะและวัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่ของนิสิตจุฬาฯ ซึ่งจัดขึ้นภายใต้ชื่องาน “สยามานุสสติ” เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว “สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า” พระผู้ทรงสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งทรงมีพระอัจฉริยภาพทางด้านอักษรศาสตร์และการประพันธ์ทั้งวรรณคดี บทละคร นิทาน ฯลฯ       

ในปีนี้งาน “สยามานุสสติ” จะจัดขึ้นในวันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2562 เวลา 18.00 –    21.00 น. ณ หอประชุมจุฬาฯ งานในปีนี้มีชื่อว่า “สืบศิลป์ไว้ ไทยนิรันดร์”  ซึ่งเป็นการผนึกความร่วมมือกันของนิสิตชมรมต่างๆ จำนวน 11 ชมรม ในฝ่ายศิลปะและวัฒนธรรม องค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาฯ ประกอบด้วย ชมรมดนตรีไทย ชมรมดนตรีสากล ชมรมนักร้องประสานเสียง ชมรมศิลปวัฒนธรรมปักษ์ใต้ ชมรมศิลปวัฒนธรรมอีสาน ชมรมศิลปวัฒนธรรมล้านนา ชมรมไอคิโด ชมรมอาวุธไทย ชมรมภาพยนตร์ ชมรมศิลปการถ่ายภาพ และชมรมนาฏศิลป์และการละครไทย

อ.รศนาภรณ์ วีรวรรณ ที่ปรึกษาด้านกิจการนิสิต จุฬาฯ เล่าย้อนถึงความเป็นมาของงาน “สยามานุสสติ” ว่าจัดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2555 เป็นกิจกรรมที่นิสิตทั้ง 11 ชมรมจะได้แสดงศักยภาพและความสามารถผ่านการแสดงทางศิลปวัฒนธรรมในรูปแบบต่างๆ งานสยามานุสสติแต่ละปีมุ่งสืบสาน      พระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีพระประสงค์ให้คนไทยมีความ      สมัครสมานสามัคคี รักและภาคภูมิใจในความเป็นชาติไทย รวมทั้งสร้างความตระหนักว่าแม้โลกจะมีการเปลี่ยนแปลงไปแค่ไหน แต่รากเหง้าความเป็นไทยเป็นสิ่งที่เราไม่ควรลืม

       “งาน “สยามานุสสติ” เป็นการทำงานข้ามชมรมของนิสิตจำนวนหลายร้อยคนที่มาจากชมรมต่างๆ ผู้ชมจะได้เห็นถึงศักยภาพของนิสิตซึ่งมีความสนใจทางด้านศิลปวัฒนธรรมที่มารวมตัวกันสร้างสรรค์การแสดงที่ยิ่งใหญ่อลังการ ผ่านการร้อยเรียงผลงานพระราชนิพนธ์ของล้นเกล้ารัชกาลที่ 6”  อ.รศนาภรณ์ กล่าว

ผศ.ดร.มาลินี อาชายุทธการ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ อาจารย์ที่ปรึกษาชมรมนาฏศิลป์และการละครไทย เผยว่า งาน “สยามานุสสติ” ถือเป็นผลงานชิ้นโบว์แดงของนิสิตชมรมฝ่ายศิลปะและวัฒนธรรมที่ร่วมมือกันทั้งผู้ที่อยู่เบื้องหน้าและเบื้องหลัง เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จ    พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวผู้ทรงมีกุศโลบายในการใช้ศิลปวัฒนธรรมไทยเชิดชูความเป็นชาติในยุคที่ตะวันตกเข้ามามีอิทธิพล ซึ่งยังคงเป็นแนวคิดที่ใช้ได้จนถึงทุกวันนี้

จากการทำงานอย่างใกล้ชิดกับนิสิตชมรมต่างๆ ผศ.ดร.มาลินี มองว่างาน “สยามานุสสติ” เป็นประโยชน์ต่อนิสิตที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมนี้ ไม่ว่าจะเป็นการฝึกแก้ปัญหา เปิดใจเรียนรู้การทำงานกับเพื่อนๆที่มาจากหลากหลายคณะ แม้งานจะจบไป แต่มิตรภาพและความผูกพันระหว่างนิสิตก็ยังคงอยู่ บทพิสูจน์ความสำเร็จของงานสยามานุสสติที่ผ่านมาวัดได้จากจำนวนผู้เข้าชมการแสดงที่เพิ่มขึ้นทุกปี เป็นเพราะการแสดงที่มีความร่วมสมัย ดำเนินเรื่องกระชับรวดเร็ว ทำให้มีกลุ่มผู้ชมที่เป็นขาประจำที่แนะนำปากต่อปาก   ให้มาชมการแสดง

ภาสชัย แก้วสนธิ นิสิตปี 4 คณะจิตวิทยา ประธานฝ่ายศิลปะและวัฒนธรรม องค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาฯ ในฐานะผู้รับผิดชอบหลักในการจัดงานครั้งนี้กล่าวว่า รู้สึกภูมิใจที่มีส่วนร่วมถ่ายทอดความงดงามทางศิลปวัฒนธรรมไทยในงาน “สยามมานุสสติ”  เพื่อให้ผู้ชมเห็นถึงพระปรีชาสามารถของสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้าผ่านการแสดงต่างๆ ที่นิสิตทุ่มเทกันมาก สมาชิกชมรมต่างๆ ทางศิลปะและวัฒนธรรมกว่าร้อยชีวิตจะทำหน้าที่อย่างดีที่สุด รับรองว่างานในปีนี้จะสร้างความสนุกสนาน   และตื่นตาตื่นใจให้ผู้ชมไม่แพ้ทุกปีที่ผ่านมา

ขอเชิญชมการแสดงต่างๆ จากนิสิตจุฬาฯ ในงาน “สยามานุสสติ” ผู้สนใจเข้าชมฟรี ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง Facebook :  siammanussati

ผลผลิตของจุฬาฯ คือ การผลิตบัณฑิต สร้างคนคุณภาพสู่สังคม

ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า