รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
22 พฤศจิกายน 2562
ข่าวเด่น
คณะนักร้องประสานเสียงจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU Concert Choir) หนึ่งในกิจกรรมทางด้านดนตรีของวงซิมโฟนีออร์เคสตราแห่งจุฬาฯ ในกำกับดูแลของสำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม จุฬาฯ ได้รับมอบหมายให้เป็นหลักในการขับร้องประสานเสียงในโอกาสที่สมเด็จพระสันตะปาปาฟรันซิสเสด็จเยือนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับคณะนักร้องประสานเสียงมูโค่พอ จากโรงเรียนเซนต์โยเซฟแม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ และคณะนักร้องประสานเสียงอัตตัร จากโรงเรียนอัตตัรกียะห์อิสลามียะห์ จ.นราธิวาส เพื่อแสดงให้เห็นถึงความกลมกลืนของชาติ ศาสนา วัฒนธรรมท้องถิ่นที่มีความหลากหลาย แต่ตั้งอยู่บนความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันภายใต้ผืนแผ่นดินไทย
โดยในการแสดงครั้งนี้ อ.ดร.ภาวศุทธิ์ พิริยะพงษ์รัตน์ อาจารย์ผู้ควบคุมคณะนักร้องประสานเสียงจุฬาฯ ทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยเพลง โดย อ.ดร.ภาวศุทธิ์ได้เดินทางไปฝึกซ้อมร้องเพลงให้ทั้งสองโรงเรียนในช่วงสองเดือนที่ผ่านมา บทเพลงสองเพลงที่จะขับร้องในงานวันนี้คือ เพลง Peace Prayer เรียบเรียงโดย บาทหลวง บุญชรัสมิ์ สุขสว่าง ความหมายคือ ขอให้การเป็นสื่อแห่งสันติภาพเป็นเป้าหมายที่สำคัญยิ่งในชีวิตของข้าพเจ้า และเพลง Songs of Freedom เรียบเรียงโดย อ.อมานัต จันทรวิโรจน์ ความหมายคือ ขอให้เราก้าวข้ามความแตกต่างและลดความขัดแย้งเพื่อเราจะได้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
อ.ดร.ภาวศุทธิ์ พิริยะพงษ์รัตน์ ผู้อำนวยเพลงในการขับร้องประสานเสียงในโอกาสที่สมเด็จพระสันตะปาปาฟรันซิสเสด็จเยือนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า รู้สึกเป็นเกียรติมาก ที่ได้มีโอกาสทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยเพลงในการแสดงของคณะนักร้องประสานเสียงในครั้งนี้ โดยมีการเริ่มฝึกซ้อมตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา โดยคณะนักร้องประสานเสียงจุฬาฯ ได้ฝึกซ้อมอย่างสมาเสมออยู่แล้ว รู้สึกดีใจที่ได้มีโอกาสแบ่งปันความรู้ในเรื่องการขับร้องประสานเสียง ได้เรียนรู้และสอนเด็กจากโรงเรียนทางภาคเหนือและภาคใต้ของประเทศซึ่งเด็กๆ มีวิธีการร้อง ประสบการณ์และวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน
วศิน ชัยประเสริฐ นิสิตชั้นปีที่ 2 คณะครุศาสตร์ นักร้องประสานเสียงจากจุฬาฯ กล่าวว่า รู้สึกภูมิใจที่ได้มีโอกาสร้องเพลงประสานเสียงร่วมกันระหว่างคณะนักร้องประสานเสียงจากจุฬาฯ และน้องๆ จากโรงเรียนในจังหวัดเชียงใหม่และนราธิวาส โดยนักร้องประสานเสียงจุฬาฯ มี 40 คน ในการขับร้องบทเพลงทั้งสองเพลงมีความยาก แต่ก็มีความสุขที่ได้ขับร้องเพลงในครั้งนี้
เซอร์มารี อักแนส บัวทรัพย์ จากโรงเรียนเซนต์โยเซฟแม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า การที่น้องๆ ได้มาร้องเพลงประสานเสียงร่วมกันในครั้งนี้เป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่เกินคำบรรยาย แสดงถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันของเด็กๆ ซึ่งไม่มีกำแพงขวางกั้น แม้จะมีความแตกต่างทางวัฒนธรรมและศาสนา แต่ทุกคนก็ได้เรียนรู้ร่วมกัน ทุกคนมีคุณภาพเสียงที่ดีอยู่แล้ว
ฟุรกอน ตาซา และ อริชา มามะ นักร้องประสานเสียงจากโรงเรียนอัตตัรกียะห์อิสลามียะห์ จ.นราธิวาส กล่าวว่านักร้องคอรัสทั้ง 30 คนรู้สึกตื่นเต้นและเป็นเกียรติอย่างมากที่ได้ร่วมขับร้องเพลงประสานเสียงในครั้งนี้ บทเพลงที่พวกเราร้องมีความไพเราะและซาบซึ้งมาก เป็นสื่อสันติภาพที่สื่อความหมายถึงให้ทุกคนมอบความรักให้แก่กัน คนทุกศาสนาสามารถอยู่ร่วมกันได้
เชิญชวนนิสิตร่วมโครงการประเมินผลการเรียนการสอนออนไลน์ผ่านระบบ myCourseVille
อาจารย์และนิสิตสถาปัตย์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษา Tokyo Metropolitan University ที่ญี่ปุ่น
อาจารย์และนิสิตภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษาจาก Faculty of Urban Environmental Sciences, Tokyo Metropolitan University ประเทศญี่ปุ่น (TMU)
จุฬาฯ ร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายสักการะและจัดพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเนื่องใน “วันนวมินทรมหาราช”
ละครนิเทศจุฬาฯ 2567 “ด้ายแดงเป็นเหตุ Unfortunate Love”
24 - 26 มกราคม 2568
ณ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ ชั้น 7 อาคารสยามสแควร์
จุฬาฯ ต้อนรับคณะศึกษาดูงานด้านการบริหารความเสี่ยงจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แบ่งปันประสบการณ์การพัฒนาระบบบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัย
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมเรื่อง “กัญชาทางการแพทย์: ความรู้ที่ต้องมีสำหรับเภสัชกรยุคใหม่”
11 ธ.ค. 67 เวลา 09.00 – 12.15 น.
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ และ Zoom
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้