รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
9 มกราคม 2563
วันปีใหม่สากลผ่านไปแล้ว แต่สำหรับคนจีนหรือคนไทยเชื้อสายจีน ปีใหม่จีนหรือตรุษจีนกำลังจะมาถึงในวันที่ 25 มกราคมนี้ แม้ว่าจะไม่ใช่วันหยุดราชการของไทย แต่ชาวไทยเชื้อสายจีนก็ตั้งตารอช่วงเวลานี้เพื่อรวมญาติ พบปะครอบครัว ไหว้เทพเจ้า และไหว้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วด้วยกัน
รองศาสตราจารย์ ดร.เมี่ยว หรง ผู้อำนายการสถาบันขงจื่อแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงที่มาของวันตรุษจีนว่า “ในประเทศจีนเรียกวันตรุษจีนว่า “ชุนเจี๋ย” (春节) หมายถึง “เทศกาลแห่งฤดูใบไม้ผลิ” วันตรุษจีนนับเป็นวันสิ้นสุดฤดูหนาวและเริ่มต้นฤดูเพาะปลูกเป็นวันแรกตามปฏิทินจันทรคติจีน”
“ในอดีตสังคมจีนเป็นสังคมเกษตรกรรม ช่วงเทศกาลตรุษจีนเป็นช่วงเวลาที่เกษตรกรว่างจากการทำงาน ทุกคนในครอบครัวจึงสามารถมาพักผ่อนร่วมกันได้ ด้วยเหตุนี้เทศกาลตรุษจีนจึงเป็นช่วงเวลาที่คนจีนใช้เวลาอยู่กับครอบครัวจวบจนปัจจุบัน”
ครอบครัวคือหัวใจของเทศกาลตรุษจีนมาแต่อดีต แต่ในเรื่องอื่นๆ ที่เป็นรายละเอียดของเทศกาล ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลาการเฉลิมฉลอง ความเชื่อ สิ่งต้องห้าม สีเสื้อผ้าที่สวมใส่ ต่างๆ เหล่านี้ คนจีนในประเทศจีนและคนไทยเชื้อสายจีนให้ความหมายแตกต่างกันไปบ้าง ซึ่งอาจารย์เมี่ยวให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่า “หลายความเชื่อและกิจกรรมในเทศกาลตรุษจีนของคนไทยเชี้อสายจีนและคนจีนมีความต่างกัน วัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากของเดิมไม่ใช่เรื่องผิด ยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไปเสมอในทุกสังคม แม้กระทั่งตรุษจีนในสังคมจีนปัจจุบันก็แตกต่างไปจากอดีต เช่น คนจีนบางกลุ่มไม่ได้ทานเจหรือไหว้เทพเจ้าในช่วงเทศกาลตรุษจีน เพราะไม่ได้นับถือศาสนาพุทธแล้ว แม้ว่าพวกเขาจะยังเผากระดาษเงินกระดาษทองให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วก็ตาม”
เทศกาลตรุษจีนที่คนไทยเชี้อสายจีนคุ้นเคยแบ่งออกเป็น 3 วัน ได้แก่ วันจ่าย วันไหว้ และวันเที่ยว แต่เทศกาลตรุษจีนในประเทศจีนซึ่งรัฐบาลประกาศเป็นวันหยุดราชการนั้นยาวนานถึง 7 วัน! โดยแบ่งออกเป็น 3 ช่วงเช่นเดียวกัน ได้แก่
ช่วงที่ 1 เตรียมตัว: เป็นช่วงที่คนจีนจะออกจากบ้านมาซื้อของใช้ อาหาร และทำความสะอาดบ้านล่วงหน้าเพื่อเตรียมตัวต้อนรับเทศกาลตรุษจีนที่กำลังจะมาถึง
ช่วงที่ 2 ก่อนวันตรุษจีน 1 วัน: เป็นวันที่สมาชิกในครอบครัวมารวมตัวกันพร้อมหน้าพร้อมตา เพื่อเผากระดาษเงินกระดาษทองให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ไหว้ญาติผู้ใหญ่ และรับประทานอาหารร่วมกัน ซึ่งนับเป็นวันหยุดราชการวันแรกในช่วงเทศกาลตรุษจีน
ช่วงที่ 3 วันตรุษจีน: เป็นช่วงเวลาที่คนจีนจะได้ไปเที่ยว และพักผ่อนตามอัธยาศัย
“คนไทยเชื้อสายจีนคุ้นเคยกับ “อั่งเปา” หรือ “หงเปา” (红包) มีความหมายว่า ซองแดง ซึ่งผู้น้อยมักได้รับจากผู้ใหญ่ แต่คนจีนจะเรียกว่า “ยาซุ่ยเฉียน” (压岁钱) หรือ “เงินกำจัดปีศาจ” ซึ่งเป็นเงินที่ใส่ซองสีแดงเหมือนกัน โดยคนจีนมีความเชื่อว่าในช่วงเทศกาลตรุษจีนจะมีปีศาจร้ายมาที่บ้านแล้วจะจับตัวเด็กๆ ไป ผู้ใหญ่จึงให้ “ยาซุ่ยเฉียน” แก่เด็กๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ปีศาจลักพาตัวเด็กไป นอกจากนี้ คนจีนยังขับไล่ปีศาจด้วยการจุดประทัดหน้าบ้านด้วย เสียงดังจะทำให้ปีศาจกลัวจนไม่กล้ามาบ้าน” อาจารย์เมี่ยว อธิบายและเสริมว่า ปัจจุบันหากพูดถึง “หงเปา” คนจีนจะนึกถึงฟีเจอร์ในแอปพลิเคชันวีแชท (WeChat) ที่สามารถส่งเงินให้ญาติๆ เพื่อนๆ ในวีแชทได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นกิจกรรมที่คนจีนนิยมทำกันในช่วงตรุษจีนเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา
นอกจากนี้ อาจารย์เมี่ยวยกตัวอย่างความเชื่อเรื่องการกวาดบ้าน สีของเสื้อผ้าในช่วงตรุษจีน และสิ่งต้องห้ามต่างๆ ที่คนจีนและคนไทยเชื้อสายจีนเชื่อต่างกันไปบ้าง
“คนไทยเชื้อสายจีนเชื่อว่า ช่วงเทศกาลตรุษจีนห้ามกวาด หรือทำความสะอาดบ้าน เพราะจะเป็นการกวาดโชคลาภ เงินทองออกไปจากบ้าน แต่สำหรับคนจีน ยังทำความสะอาดบ้านได้ แต่ห้ามเอาทรัพย์สินทุกชนิด แม้แต่ขยะออกไปทิ้งไว้ข้างนอกบ้าน เพราะเชื่อว่าสิ่งของทุกอย่างที่อยู่ในบ้านเป็นทรัพย์สินเงินทอง การเอาของในบ้านไปทิ้งถือว่าเป็นการเอาทรัพย์สินเงินทองไปทิ้ง ต้องรอจนกว่าจะผ่านวันที่ 5 ของเทศกาลตรุษจีนไปแล้วจึงสามารถเอาขยะออกไปทิ้งได้”
สำหรับสีเสื้อผ้า คนไทยเชื้อสายจีนเชื่อว่าควรใส่เสื้อผ้าสีแดงหรือสีสดใสในวันตรุษจีน แต่สำหรับคนจีน เสื้อที่ใส่ช่วงเทศกาลตรุษจีนจะเป็นสีใดก็ได้ แต่ต้องเป็นเสื้อตัวใหม่เท่านั้น!
“คนจีนในชนบทมักจะนิยมสวมใส่เสื้อผ้าสีแดง เพราะมีความหมายดี ในขณะที่คนจีนในเมืองจะสวมใส่เสื้อผ้าตามแฟชั่นร่วมสมัย” อาจารย์เมี่ยว กล่าว
“ในอดีตคนจีนค่อนข้างมีฐานะยากจน ช่วงตรุษจีนเป็นช่วงเดียวที่พวกเขาจะมีโอกาสได้กินของดีๆ ได้ใส่เสื้อผ้าใหม่ๆ คนจีนสมัยก่อนจึงให้ความสำคัญกับเทศกาลตรุษจีนมาก ในขณะที่คนรุ่นใหม่ไม่ได้รู้สึกว่าตรุษจีนสำคัญมากขนาดนั้น เพราะพวกเขาสามารถซื้อเสื้อผ้าใหม่เมื่อไรก็ได้ และจะกินของดีๆ เมื่อไรก็ได้เช่นกัน”
ส่วนเรื่องหรือสิ่งต้องห้ามต่างๆ ก็ต่างกันไปตามบริบทพื้นที่ บางพื้นที่ในประเทศจีนห้ามอาบน้ำในเทศกาลตรุษจีน บางพื้นที่ห้ามใช้ของมีคม บางพื้นที่ห้ามทำงานหนัก
“แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกคนยึดถือร่วมกันคือ ห้ามพูดสิ่งที่ไม่เป็นสิริมงคลทุกประเภท” อาจารย์เมี่ยวเน้น ซึ่งไม่เพียงคนจีน แต่คนไทยเชื้อสายจีน ก็ให้ความสำคัญกับข้อห้ามนี้เช่นกัน
แม้ว่าตรุษจีนจะแปรเปลี่ยนไปตามกาลเวลาและวัฒนธรรมท้องถิ่น และคนจีนในปัจจุบันไม่ได้เคร่งเรื่องประเพณีมากนัก แต่สิ่งที่ไม่เคยเลือนหายคือการใช้เวลาร่วมกับครอบครัวและการเคารพบรรพบุรุษ
“สถาบันครอบครัวยังคงเป็นหัวใจหลักของเทศกาลตรุษจีนเสมอ” อาจารย์เมี่ยวกล่าว และเล่าถึงการฉลองปีใหม่จีนของอาจารย์เองว่า “กิจกรรมที่จะพยายามทำให้ได้ในทุกๆ เทศกาลตรุษจีน คือ รับประทานอาหารร่วมกับครอบครัว ไปเยี่ยมเคารพญาติผู้ใหญ่ และเผากระดาษเงินกระดาษทองให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับ แม้ว่าบางปีไม่ได้อยู่ที่ประเทศจีน ซึ่งทำให้ไม่สามารถทำกิจกรรมบางอย่างได้ แต่ก็หาโอกาสไปร่วมรับประทานอาหารกับกลุ่มเพื่อนอาจารย์ที่สถาบันฯ ที่เป็นเหมือนครอบครัวของดิฉันที่ประเทศไทย” อาจารย์เมี่ยวกล่าวพร้อมรอยยิ้ม
สุดท้ายนี้เนื่องในเทศกาลตรุษจีนอธิการบดีฝากคำอวยพรให้ผู้อ่านทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรง ประสบความสำเร็จทุกประการ คิดหรือทำสิ่งใดขอให้ราบรื่นเสมอ “สุขสันต์วันตรุษจีน”
สถาบันขงจื่อแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นคลังข้อมูลทางวัฒนธรรมและเป็นสะพานเชื่อมโยงไทย-จีน ผ่านการเรียนภาษา กิจกรรมทางวัฒนธรรม และการศึกษาต่อที่ประเทศจีน
แวะมาค้นคว้า เรียนรู้เกร็ดเรื่องราวของมังกร “จีน” ได้เสมอ หรือมาทักทายพูดคุยกันได้ที่สถาบันฯ หรือติดตามข่าวสารได้ที่ Facebook: สถาบันขงจื่อแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ WeChat: gh_a43e1ff235b0
สามารถติดตามอ่านเรื่องราวที่น่าสนใจอีกมากมายได้ใน วารสาร CU Around
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมบริจาคโลหิต โครงการ “MDCU Give Blood for All”
30 ก.ย. - 4 ต.ค. 67
ลานอเนกประสงค์ อาคารอานันทมหิดล คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
นิสิต BBA จุฬาฯ คว้ารางวัลระดับโลกจากการแข่งขัน ASEAN-CHINA-INDIA Youth Leadership Summit 2024
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมการประชุมมนุษยศาสตร์ดิจิทัลไทย 2024: วิถีดิจิทัลในมนุษยศาสตร์สู่การพัฒนาทุนมนุษย์อย่างยั่งยืน
SHECU จัดประชุมเครือข่ายความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ครั้งที่ 4 ชูแนวคิด Digital Transformation เพื่อยกระดับความปลอดภัยระดับประเทศ
วิศวฯ จุฬาฯ จับมือประเทศญี่ปุ่น เสริมสมรรถภาพโครงสร้างพื้นฐานไทย พร้อมรับมอบระบบทดสอบความล้ามูลค่า 19 ล้าน
โครงการ “เล่นเพลิน” ต้อนรับปิดเทอมสำหรับน้อง ๆ ปฐมวัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้