รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
17 มกราคม 2563
ข่าวเด่น
สภาคณาจารย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเวทีการแสดงวิสัยทัศน์ของผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นผู้สมควรดำรงตำแหน่งอธิการบดี จุฬาฯ ปี 2563 – 2567 ในนาม “สภาคณาจารย์” เมื่อวันศุกร์ที่ 17 มกราคม 2563 ณ ห้องประชุม 101 อาคารประชุมสุข อาชวอำรุง คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ รับฟังมุมมองวิสัยทัศน์จากผู้ได้รับการเสนอชื่อเพื่อดำรงตำแหน่งอธิการบดีจุฬาฯ พ.ศ.2563 – 2567 โดยเรียงลำดับจากการจับฉลากเพื่อแสดงวิสัยทัศน์ดังนี้
รศ.ดร.พสุ เดชะรินทร์ นำเสนอนโยบายโดยเน้นเรื่องการแก้ไขระบบพื้นฐานในการบริหารมหาวิทยาลัยเพื่อเป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนประเทศ มุ่งสร้างคุณค่า (Value) ส่งผลกระทบ (Impact) ผ่านความหลากหลาย (Diversity) ของศาสตร์สาขาต่างๆ ในจุฬาฯ และการทำงานผสานพลัง (Synergy) โดยเชื่อมโยงการเรียนข้ามศาสตร์ สร้างหลักสูตรให้สอดคล้องกับบริบทของสังคม นิสิตเมื่อจบแล้วต้องพร้อมทำงาน มีความเป็นนานาชาติและต้องเรียนรู้ในภูมิภาคเอเชียนและภูมิภาคอื่นๆ ด้วย ปรับปรุงระบบการบริหารงานวิจัย กำหนดเป้าที่ชัดเจนในการบูรณาการศาสตร์ด้านงานวิจัย เชื่อมโยงองค์ความรู้สู่ภูมิภาค ดึงนิสิตเก่าให้เข้ามามีส่วนร่วมในองค์กร พัฒนาอาจารย์ที่มีความโดดเด่นให้ได้รางวัลระดับนานาชาติ เพิ่มศักยภาพของบุคลากรและดูแลสุขภาวะทั้งกายใจ
ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ กล่าวว่า จุฬาฯ ต้องก้าวสู่การเป็น Globalization สร้างจุฬาฯ ให้เป็น Thailand Global University และเพิ่มอันดับของจุฬาฯ ก้าวสู่ 100 อันดับแรกของโลก ปรับระบบการบริหารจัดการองค์กร สร้างระบบบูรณาการในศาสตร์สาขาต่างๆ การสร้างบัณฑิตที่มีทักษะและตอบโจทย์สังคมโลก สร้างจิตสาธารณะให้บัณฑิตออกไปช่วยเหลือสังคม สร้างระบบการเรียนรู้ทั้งระดับ Degree และ Non-Degree เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต สร้างสภาพแวดล้อมให้เกิดการสร้างงานวิจัยและการให้ทุนวิจัยในศาสตร์ต่างๆ มากขึ้น บุคลากรต้องมีความสุขกายและสุขใจ มีบริการทางสุขภาพที่ทำให้บุคลากรอยู่ในองค์กรอย่างมีความสุข รวมทั้งมีการจัดสรรทรัพยากรด้านต่างๆ ให้คุ้มค่ากับเป้าหมายขององค์กร
ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ กล่าวถึงบทบาทของจุฬาฯว่า จะต้องตอบโจทย์และสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม จะผลักดันการปรับเลื่อนตำแหน่งทางวิชาการของคณาจารย์ ในส่วนของบุคลากร จะให้สิทธิในการให้บุตรของบุคลากร P7C เข้าโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ได้ พัฒนาการให้บริการด้านสุขภาพของจุฬาฯ การดูแลพนักงานหลังเกษียณ สำหรับนิสิตจะสร้างความสะดวกสบายให้นิสิตและสร้างการเรียนรู้นอกห้องเรียน ต่อยอดงานวิจัยและนวัตกรรมให้เห็นผลในระดับประเทศและอาเซียน ทุกคณะและหน่วยงานในจุฬาฯ ต้องดำเนินงานที่ส่งผลต่อสังคมด้วยหลัก 4 ประการคือ สร้างคน สร้างความแข็งแกร่งให้จุฬาฯ เพื่อส่งเสริมงานวิจัย สร้างสรรค์สังคม และต้องขับเคลื่อนจุฬาฯ ให้ก้าวหน้าอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ทั้งนี้ พร้อมเดินหน้าต่อทันทีจากสิ่งที่เริ่มต้นไว้แล้ว และปรับแก้ไขปัญหาจากเงื่อนไขและข้อมูลจริงโดยผ่าน 4 หมุดหมายใหม่ข้างต้น
รศ.ดร.เอก ตั้งทรัพย์วัฒนา กล่าวว่า จุฬาฯ ต้องดูภาพรวมของทิศทางโลก แผนยุทธศาสตร์ 15 ปีของจุฬาฯ เน้นเรื่องคน งาน และเงินที่สัมพันธ์กัน ต้องสร้างดุลยภาพของความเป็นอิสระและการกำกับดูแล สร้างความสมดุลให้แต่ละคณะและส่วนงานสามารถสร้างผลงานโดยได้รับการสนับสนุนจากส่วนกลาง จุฬาฯ ต้องพัฒนาไปพร้อมกันทั้งด้านวิทยาศาสตร์ สุขภาพ เทคโนโลยี และด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในส่วนของ KPI ต้องมีการรับฟังจากทุกภาคส่วน มี International College ดูแลด้านนานาชาติในภาพรวม มีการบูรณาการด้านการเรียนการสอนและสร้างความหยืดหยุ่นทั้งสาขาวิชาและการเรียนในระดับต่างๆ ได้ทั้งปริญญาตรี โท เอก เน้นการประยุกต์ใช้องค์ความรู้และงานวิจัยไปสู่วงกว้าง สร้างประโยชน์ต่อสังคม
PMCU ร่วมกับ “ศิลปินรวมใจเปิดหมวก” ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมภาคเหนือ กับคอนเสิร์ตเปิดหมวก ตอน “น้ำลดเพื่อนผุด” @SiamSquare Walking Street
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2566 เป็นวันที่สาม
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ ร่วมกับ Degree Plus เปิดอบรมหลักสูตรผู้บริหาร “Decentralized Finance and Blockchain”
วิศวฯ จุฬา จัดเสวนา “เข้าใจน้ำท่วม แนวคิดวิศวกร”
10 ต.ค. 67 เวลา 14.00 น.
ห้องประชุมชั้น 2 อาคารเจริญวิศวกรรม (ตึก 4) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2566 เป็นวันที่สอง
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2566
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้