ข่าวสารจุฬาฯ

ความร่วมมือพัฒนาวัสดุสร้างปะการังเทียมด้วยเทคโนโลยี 3D Printing

คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมมือกับบริษัท เอสซีจี ซิเมนต์ จำกัด กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในการพัฒนาวัสดุ Advanced Materials ด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์แบบ 3 มิติ (3D Printing Technology) สำหรับเป็นฐานลงเกาะของตัวอ่อนปะการังและการปลูกปะการังธรรมชาติ สร้างต้นแบบปะการังเทียมรุ่นใหม่ที่มีความเสมือนจริง และใกล้เคียงธรรมชาติมากยิ่งขึ้น ด้วยเทคโนโลยีขึ้นรูปจาก Advanced Materials ที่เอสซีจี ซิเมนต์ พัฒนาขึ้น สามารถใช้เศษคอนกรีตรีไซเคิลเป็นส่วนผสมทดแทนหินปูนถึง 40% โดยความร่วมมือครั้งนี้ครอบคลุมการศึกษา วิจัย และพัฒนาออกแบบรูปแบบวัสดุให้มีความเหมาะสมตามแนวทางการฟื้นฟูระบบนิเวศแนวปะการังและทรัพยากร  ทางทะเลและชายฝั่ง ขยายภาพโครงการ “รักษ์น้ำ จากภูผา…สู่มหานที” คืนความสมดุลให้กับระบบนิเวศทางทะเลอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ สร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับทะเลไทยเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคมส่วนรวม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เตรียมนำร่องทดลองจัดวางจริงในทะเล 3 พื้นที่ ได้แก่ เกาะราชาใหญ่ จังหวัดภูเก็ต  เกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี และเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี ภายในเดือนพฤษภาคม 2563

ศ.น.สพ.ดร.รุ่งโรจน์ ธนาวงษ์นุเวช คณบดี คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ  กล่าวว่า การดำเนินงานด้านการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และบริหารจัดการทรัพยากรและระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งนั้นเป็นเรื่องที่มีความซับซ้อน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้องค์ความรู้ด้านวิชาการเพื่อรองรับการดำเนินงานในด้านของการบริหารจัดการที่เหมาะสม สำหรับการฟื้นฟูระบบนิเวศแนวปะการัง สามารถดำเนินการได้หลายวิธี หนึ่งในนั้นคือการฟื้นฟูปะการังที่ดำเนินการกับแนวปะการังโดยตรงด้วยการฟื้นฟูทางกายภาพ (Physical Restoration) เช่น การสร้างฐานลงเกาะของตัวอ่อนปะการัง หรือการสร้างปะการังเทียม ซึ่งเป็นการปรับปรุงสภาพพื้นที่ให้เหมาะสมต่อการฟื้นตัวของปะการัง ทำให้แนวปะการังกลับมามีสภาพความอุดมสมบูรณ์และสามารถเอื้อประโยชน์ในแง่ต่างๆ ให้กับสิ่งมีชีวิตในทะเลรวมไปถึงมนุษย์ ซึ่งการคิดค้นและพัฒนารูปแบบวัสดุเพื่อใช้ในการฟื้นฟูแนวปะการัง ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 3D Printing จึงเป็นอีกวิธีที่จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการดำเนินงานด้านการฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเลให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ  ให้การสนับสนุนด้านวิชาการที่เกี่ยวข้องกับปะการัง พร้อมทั้งติดตามและรวบรวมข้อมูลผลการทดลองเพื่อศึกษา วิจัย และนำข้อมูลไปใช้สนับสนุนการพัฒนารูปแบบวัสดุให้มีความเหมาะสมกับการใช้งานมากขึ้นในอนาคต

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า