รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
6 มีนาคม 2563
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
ในยุคที่สื่อสังคมออนไลน์มีบทบาทในชีวิตประจำวัน ส่งผลให้คนไทยเสพสื่อสังคมออนไลน์มากขึ้น ซึ่งมีความแตกต่างกันไปตามเพศและวัย ผลงานวิจัยเรื่อง “ผลกระทบของสื่อสังคมออนไลน์ต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมไทยในมุมมองของนักมานุษยวิทยา” โดย รศ.ดร.จุลนี เทียนไทย ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งได้รับรางวัลผลงานวิจัยระดับดีมาก ประจำปี 2563 จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้ให้คำตอบเป็นอย่างดีเกี่ยวกับสื่อสังคมออนไลน์ว่ามีผลกระทบต่อสังคมไทยอย่างไร
ผลงานวิจัยเรื่องนี้ใช้เวลาในการศึกษาวิจัยกว่า 5 ปี มีการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้เทคนิค Re-reading Analysis อาศัยองค์ความรู้ที่มีอยู่แล้วในศาสตร์อื่นมาวิเคราะห์ใหม่ในมุมมองของนักมานุษยวิทยา ซึ่งสามารถนำงานวิจัยนี้ไปประยุกต์ใช้ในการศึกษาปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรม (Cultural Phenomena) เกี่ยวกับสื่อสังคมออนไลน์ประเภทต่างๆ ในสังคมไทยซึ่งปัจจุบันยังมีงานศึกษาในเรื่องนี้อยู่น้อย สำหรับองค์ความรู้และผลการศึกษาที่ได้รับจากงานวิจัยนี้สามารถนำไปใช้ต่อยอดให้เกิดประโยชน์ใน วงกว้างในสังคมไทย เช่น การพัฒนาการศึกษา การสร้างนโยบาย ฯลฯ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศต่อไป
รศ.ดร.จุลนี กล่าวถึงผลการวิจัยพบว่าสื่อสังคมออนไลน์สร้างการดำเนินชีวิตรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า Mobile Life หรือพลวัตวิถี ทำให้ข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่หายไป ส่งผลให้การติดต่อสื่อสารและการใช้งานต่างๆ สามารถทำได้ในทุกที่ทุกเวลา ผลกระทบที่เป็นลักษณะเด่นในบริบทของสังคมไทยคือ สื่อสังคมออนไลน์ที่เข้ามานั้นก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทั้งทางความคิดและพฤติกรรมของคนในสังคม เนื่องจากโลกออนไลน์ได้สร้างพื้นที่ใหม่ในการนำเสนอตนเอง ผู้หญิงมีความกล้าในการนำเสนอตนเองมากขึ้นในสื่อของตน
รศ.ดร.จุลนี กล่าวว่าสื่อสังคมออนไลน์ทำให้การเริ่มต้นสร้างความสัมพันธ์ได้ง่ายขึ้นกว่าการพบเจอกันบนโลกความจริงในสังคมไทย เนื่องจากคนไทยมีความเกรงใจ เขินอาย และมักไม่ค่อยพูดคุยกับคนแปลกหน้า แต่เมื่อมีสื่อสังคมออนไลน์เกิดขึ้นทำให้การปฏิสัมพันธ์กับคนแปลกหน้าเป็นเรื่องปกติ คำศัพท์และรูปแบบของภาษาในสื่อสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น เพศหญิง และเพศทางเลือก มีการสร้างและใช้คำศัพท์ใหม่ในหลากหลายรูปแบบ เช่น การตั้งใจสะกดผิด การเขียนย่อคำ หรือการนำภาษาต่างประเทศ มาใช้ เป็นต้น นอกจากนี้สื่อสังคมออนไลน์เข้ามามีอิทธิพลต่อการรวมตัวทางการเมืองในสังคมไทย โดยเฉพาะการสนับสนุนกลุ่มทางการเมืองที่มีความแตกต่างกัน ซึ่งทำได้อย่างรวดเร็วและกว้างขวางเมื่อเปรียบเทียบกับการรวมตัวทางการเมืองในอดีตที่ยังไม่มีสื่อสังคมออนไลน์
“วัยถือเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้พฤติกรรมการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ของคนมีความแตกต่างกัน สังคมผู้สูงอายุ กลุ่มที่อยู่ในช่วงอายุ 61 ปีขึ้นไป เป็นกลุ่มที่ใช้สื่อสังคมออนไลน์ในปริมาณมาก เนื่องจากเป็นช่วงวัยที่มีเวลาและมีความต้องการเข้าสังคมเพื่อหากิจกรรมทำเพื่อคลายเหงา จะเน้นการใช้เพื่อสร้างเครือข่ายเพื่อนเก่าและครอบครัว การติดตามเรื่องราวและพูดคุยระหว่างกัน มีการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อความบันเทิง แต่สื่อสังคมออนไลน์ก็ยังเป็นสิ่งใหม่สำหรับคนวัยนี้ จึงพบปัญหาการแชร์สิ่งที่ไม่เป็นความจริง โดยเฉพาะการแชร์เพราะความสงสาร การอยากช่วยเหลือมากเป็นพิเศษ อาจเป็นเพราะวัยนี้มีความเห็นอกเห็นใจ ชอบทำบุญ ประกอบกับประสบการณ์ในการรู้เท่าทันของการใช้สื่อสังคมออนไลน์น้อยกว่าวัยอื่นๆ จึงถูกหลอกได้ง่าย ดังนั้นเราจึงควรให้ความสำคัญกับสังคมผู้สูงอายุในด้าน Internet literacy คือการให้ความรู้ในเรื่องการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างถูกต้องและถูกทาง” รศ.ดร.จุลนี กล่าว
“การกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ในสังคมไทย (Cyber/Internet Bullying) เกิดขึ้นในสังคมตะวันตกมานานแล้ว ตอนที่เริ่มทำวิจัยชิ้นนี้พบว่าในสังคมไทยยังเกิดขึ้นน้อยมาก แต่ปัจจุบันกลับพบว่ามีมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นถ้าเราเรียนรู้จากสังคมตะวันตก และป้องกันปัญหาการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ตามกลไกวัฒนธรรมของเรา รู้ว่าควรจะเรียนรู้และป้องกันอย่างไร ปัญหาเรื่องนี้จะเกิดขึ้นน้อยลง” รศ.ดร.จุลนี กล่าวในที่สุด
PMCU เชิญร่วมงานเทศกาลอิ่มเจ อิ่มบุญ อิ่มความสุข ที่สามย่าน-บรรทัดทอง
ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาฯ และ PMCU รับมอบคอมพิวเตอร์ให้โรงเรียนที่ประสบอุทกภัยจังหวัดน่าน
จุฬาฯ แสดงความยินดีอาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น “ราชบัณฑิต” สาขาวิชาแพทยศาสตร์ สำนักวิทยาศาสตร์
PMCU ร่วมกับ “ศิลปินรวมใจเปิดหมวก” ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมภาคเหนือ กับคอนเสิร์ตเปิดหมวก ตอน “น้ำลดเพื่อนผุด” @SiamSquare Walking Street
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2566 เป็นวันที่สาม
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ ร่วมกับ Degree Plus เปิดอบรมหลักสูตรผู้บริหาร “Decentralized Finance and Blockchain”
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้