รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
6 มีนาคม 2563
ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับเป็นมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดของประเทศไทยมากกว่า 20 สาขาวิชา ตามการจัดของ QS World University Ranking by Subject 2020 ซึ่งถือว่าครอบคลุมสาขาที่เป็นที่หนึ่งมากกว่าทุกมหาวิทยาลัยในประเทศไทย
ในการจัดอันดับเปรียบเทียบในระดับโลก สาขาวิชาการศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนา (Development Studies) ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยังคงอยู่ในอันดับต้นๆ คือ 51-100 ที่ดีที่สุดของโลก ขณะที่อีก 4 สาขาวิชาสำคัญ คือ สถาปัตยกรรม วิศวกรรมเคมี ภูมิศาสตร์ การเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ถูกจัดอันดับให้อยู่ในอันดับที่ 101-150 ที่ดีที่สุดในโลกตาม QS World University Ranking by Subject ประจำปี 2563
ในการจัดอันดับของหมวดวิชาที่ครอบคลุมรายวิชาต่างๆ กว้างขวางขึ้น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังคงครองอันดับ 1 ของประเทศไทย จาก 4 ใน 5 หมวดวิชา ได้แก่ ศิลปะและมนุษยศาสตร์ (Arts & Humanities) วิศวกรรมและเทคโนโลยี (Engineering & Technology) วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (Natural Sciences) สังคมศาสตร์และการจัดการ (Social Sciences & Management) สำหรับวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพและการแพทย์ (Life Sciences & Medicine) มหาวิทยาลัยมหิดลอยู่อันดับแรก ขณะที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอยู่ในอันดับสอง
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สุริชัย หวันแก้ว ผู้อำนวยศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนา (Development Studies) ที่จุฬาฯ นั้น มีความพิเศษกว่าที่อื่นๆ เนื่องจากเป็นความพยายามมากกว่า 10 ปี ในการรวมพลังไปสู่เป้าหมายเดียวกันขององคาพยพต่างๆ ในมหาวิทยาลัย อีกทั้งยังสะท้อนการเป็นตัวแทนของประเทศไทยที่มีข้อได้เปรียบสำคัญในด้านวิชาการ การพัฒนาในระดับภูมิภาค และระดับโลก
“ที่จุฬาฯ เราไม่ได้มีเพียงหลักสูตรนานาชาติที่เป็นที่รู้จักในด้านนี้ เช่น หลักสูตรปริญญาโท สาขาการพัฒนาระหว่างประเทศ (Master of Arts in International Development Studies or MAIDS) แต่ยังมีสถาบันที่เป็นคลังสมอง อาทิ ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง (Center for Peace and Conflict Studies) สถาบันวิจัยสังคม (Institute of Social Research) ศูนย์ศึกษาการพัฒนาสังคม (Center for Social Development Studies) รวมถึงเครือข่ายนักวิชาการนักวิจัยที่มีส่วนร่วมในการกำหนดนิยามใหม่ของการศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาในแบบสหสาขาวิชาวิทยาการ (Multi-disciplinary) และการเรียนรู้ในลักษณะก้าวข้ามศาสตร์และขอบเขตองค์ความรู้แบบดั้งเดิม”
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สุริชัย กล่าวเสริมว่า ด้วยความที่ตั้งอยู่ใจกลางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นสถานที่ตั้งสำนักงานใหญ่ขององค์กรระหว่างประเทศชั้นนำหลายแห่ง ทำให้ประเทศไทยได้รับประโยชน์อย่างมากจากแหล่งข้อมูล และประสบการณ์การพัฒนา นับเป็นเวลากว่าทศวรรษที่การศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเติบโตขึ้นอย่างมั่นคง ผ่านความร่วมมือ การวิจัย และการสนับสนุนจากภาคส่วนขององค์การระหว่างประเทศ และภาคประชาสังคมที่กำลังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
PMCU ร่วมกับ “ศิลปินรวมใจเปิดหมวก” ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมภาคเหนือ กับคอนเสิร์ตเปิดหมวก ตอน “น้ำลดเพื่อนผุด” @SiamSquare Walking Street
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2566 เป็นวันที่สาม
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ ร่วมกับ Degree Plus เปิดอบรมหลักสูตรผู้บริหาร “Decentralized Finance and Blockchain”
วิศวฯ จุฬา จัดเสวนา “เข้าใจน้ำท่วม แนวคิดวิศวกร”
10 ต.ค. 67 เวลา 14.00 น.
ห้องประชุมชั้น 2 อาคารเจริญวิศวกรรม (ตึก 4) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2566 เป็นวันที่สอง
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2566
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้