ข่าวสารจุฬาฯ

“Do not panic” ประธานทีม Chula COVID-19 เตือนประชาคม

นับแต่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้มีมาตรการในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดมาอย่างต่อเนื่อง โดยเป็นมหาวิทยาลัยแรกที่ออกประกาศห้ามนิสิตและบุคลากรเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยงตลอดจนวางแนวทางเฝ้าระวังอย่างชัดเจน

เบื้องหลังสำคัญหนึ่งในการออกและดำเนินมาตรการป้องกันและควบคุมต่างๆเหล่านี้ คือ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล ผู้นอกจากจะดำรงตำแหน่งรองอธิการบดีด้านแผนและยุทธศาสตร์แล้วยังมีดีกรีเป็นถึงศาสตราจารย์โรคติดเชื้อและระบาดวิทยาจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยด้วย

ล่าสุด ท่านได้รับมอบหมายจากอฺธิการบดีให้เป็นประธานคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของจุฬาฯ ซึ่งประกอบด้วยผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา

จากการพบกรณีการติดเชื้อแรกในประชาคมจุฬาฯเมื่อวันที่ 15 มีนาคมก่อให้เกิดกระแสตระหนกกันไปกว้างขวางในประชาคมจุฬาฯ แม้ทางมหาวิทยาลัยได้ประกาศให้การเรียนการสอนทำบนแพลทฟอร์มออนไลน์ทั้งหมดและให้บุคลากรสามารถทำงานจากบ้านได้ เพื่อลดความเสี่ยงแล้วก็ตาม

ต่อกรณีดังกล่าว ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุลได้แสดงทัศนะว่าสิ่งสำคัญที่สุดในเวลานี้คือ ทุกคนต้องมีสติและขอให้มั่นใจในมาตรการของมหาวิทยาลัยในเรื่องนี้

“ขออนุญาตเตือนพวกเราว่า Do not panic เพราะการตื่นตระหนกมีแต่จะทำให้เราขาดสติ สับสน และไม่สามารถตอบสนองกับภาวะวิกฤติได้อย่างมีประสิทธิภาพ จุฬาฯ เราให้ความสำคัญกับชีวิตและความปลอดภัยของคณาจารย์ นิสิต บุคลากรจุฬาฯทุกคนสูงสุด เราไม่อยากให้มีประชาคมจุฬาฯติดเชื้อแม้แต่คนเดียว

แต่จากการระบาดของ COVID-19 ในประเทศไทยขณะนี้ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดร.นรินทร์มองว่าคงไม่สามารถป้องกันได้ทุกคน แต่ต้องมีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนสำหรับทุกส่วนงานและประชาคมก็ต้องให้ความร่วมมืออย่างเคร่งครัด (ดูแนวทางปฏิบัติสำหรับคณะและหน่วยงานภายในจุฬาฯกรณีของการพบผู้ติดเชื้อ COVID-19 และ ผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรค (Patient under Investigation)

“ตั้งแต่เราทราบว่ามีบุคลากรของเราติดเชื้อ เราก็ดำเนินการตามรีบดำเนินการติดตามหาผู้สัมผัสอย่างเร่งด่วนและครอบคลุมให้มากที่สุด พร้อมทั้งดำเนินการตรวจคัดกรองผู้สัมผัสทันที จากการตรวจหาเชื้อที่ศูนย์บริการสุขภาพของจุฬาฯ ยังไม่พบว่ามีกรณีติดเชื้อเพิ่มจนถึงตอนนี้ครับ”  

“โดยธรรมชาติ COVID-19 ส่วนใหญ่จะติดต่อจากการสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย (ไม่เกิน 1-2 เมตร) และการสัมผัสเชื้อที่ปนเปื้อนสิ่งแวดล้อมรอบตัวผู้ป่วยมาไม่นาน โดยไม่ระมัดระวังเท่านั้น ดังนั้น ถ้าประชาคมจุฬาฯ ดูแลสุขอนามัยตัวเองอย่างเคร่งครัด และให้ความร่วมมือปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันที่มหาวิทยาลัยกำหนด โอกาสที่จะติดเชื้อเป็นไปได้ น้อยมากครับ” ประธานคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการ(COVID-19) ของจุฬาฯกล่าวทิ้งท้าย

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า