รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
31 มีนาคม 2563
ข่าวเด่น
จากข่าวการพบเชื้อไวรัสที่ก่อโรค COVID-19 ในสุนัขที่ฮ่องกงเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ และล่าสุดพบในแมวที่ประเทศเบลเยียมเมื่อ 27 มีนาคมที่ผ่านมา ทำให้คนรักสัตว์เริ่มวิตกกังวลว่าสัตว์เลี้ยงตัวโปรดมีโอกาสติดเชื้อ COVID-19 และอาจเป็นพาหะนำเชื้อสู่คนได้
ศ.น.สพ.ดร.รุ่งโรจน์ ธนาวงษ์นุเวช คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงกรณีที่เกิดขึ้น อนุมานได้ว่าเจ้าของที่ป่วยจากโรค COVID-19 ไปมีปฏิสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสัตว์เลี้ยงของตนเอง เมื่อมีการสัมผัสปริมาณไวรัสในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะมีไวรัสบางส่วนเล็ดลอด เข้าไปเกาะติดกับเซลล์เยื่อบุทางเดินหายใจหรือทางเดินอาหารของสัตว์เลี้ยง ทั้งนี้ในสัตว์ดังกล่าวอาจมีตัวรับ (receptors) บางตำแหน่งที่เอื้อให้ไวรัสมาเกาะติดได้
“ข้อมูลในปัจจุบันสุนัขไม่แสดงอาการป่วยแต่อย่างใด แต่พบปริมาณไวรัสในระดับต่ำและพบการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันในสุนัขดังกล่าว ส่วนในแมวมีอาการป่วยทั้งระบบทางเดินหายใจและระบบทางเดินอาหาร รวมทั้งตรวจพบไวรัสก่อโรคในอาเจียนและในมูลแมว อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีรายงานการติดเชื้อไวรัสก่อโรค COVID-19 จากสัตว์เลี้ยงสู่มนุษย์” ศ.น.สพ.ดร.รุ่งโรจน์ กล่าว
จากสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ในขณะนี้ การรณรงค์ลดความเสี่ยงของการติดโรค COVID-19 ในสัตว์เลี้ยงและปศุสัตว์จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ศ.น.สพ.ดร.รุ่งโรจน์ ได้แนะข้อปฏิบัติสำหรับเจ้าของสัตว์เลี้ยง ควรหลีกเลี่ยงพาสัตว์เลี้ยงออกนอกบ้าน หากสัตว์เลี้ยงหลุดออกนอกบ้าน การอาบน้ำสามารถลดการปนเปื้อนตามตัวสัตว์ได้ หากท่านอยู่ในกลุ่มเสี่ยงของโรคนี้ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์เลี้ยง สำหรับสัตว์เลี้ยงที่มีความเสี่ยงในการสัมผัสโรคควรกักไว้ในกรงที่บ้านเป็นระยะเวลา 14 วัน โดยใช้ข้อปฏิบัติเช่นเดียวกับในคนกลุ่มเสี่ยง หากสงสัยว่าสัตว์เลี้ยงสัมผัสโรคหรือมีอาการที่เข้าข่ายของโรค ให้โทรศัพท์สอบถามสัตวแพทย์ ไม่ควรนำสัตว์เลี้ยงมาโรงพยาบาลสัตว์ หากสัตว์เลี้ยงที่สัมผัสโรคเสียชีวิต ให้แจ้งสัตวแพทย์และเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ในท้องที่
สำหรับเจ้าของฟาร์มสัตว์เลี้ยง ควรมีมาตรการคัดกรองพนักงานที่ปฏิบัติงานในฟาร์ม โดยเฉพาะผู้ที่ต้องสัมผัสกับสัตว์อย่างเข้มงวดตามมาตรการของกรมปศุสัตว์ พนักงานที่มีความเสี่ยงควรหยุดพักงานตามระเบียบ พนักงานที่ปฏิบัติงานในฟาร์มต้องมีการอาบน้ำ ฆ่าเชื้อ และเปลี่ยนเสื้อผ้าก่อนเข้าฟาร์มทุกครั้ง ตามมาตรฐานฟาร์ม ควรสวมใส่หน้ากากผ้าและถุงมือหากต้องสัมผัสสัตว์ หากพบอัตราการป่วย อัตราการตายที่ผิดปกติ ให้แจ้งสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มโดยด่วน
รศ.สพ.ญ.ดร.รสมา ภู่สุนทรธรรม ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ อธิบายว่า สัตว์เลี้ยงหลายชนิดสามารถติดเชื้อไวรัสโคโรนาได้ โดยเชื้อไวรัสโคโรนาที่ก่อให้เกิดโรคในสัตว์เลี้ยงปัจจุบัน จะมีความจำเพาะของเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคเฉพาะในสุนัขและแมวเท่านั้น เชื้อดังกล่าวจะไม่ก่อให้เกิดโรคในคน จนถึงปัจจุบันยังไม่มีรายงานว่าสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข หรือแมวสามารถแพร่โรค COVID-19 สู่คน ในทางตรงข้าม การติดเชื้อในสัตว์เลี้ยงทั้งหมดเกิดจากการแพร่เชื้อไวรัสที่ก่อโรค COVID-19 จากผู้ป่วยสู่สัตว์เลี้ยงทั้งสิ้น “ในช่วงที่มีการระบาดของโรค COVID-19 เจ้าของสัตว์เลี้ยงควรดูแลเรื่องความสะอาดและสุขลักษณะ โดยล้างมือก่อนและหลังให้อาหารและน้ำ เวลาจับอุปกรณ์หรือเล่นกับสัตว์เลี้ยงควรล้างมือทุกครั้ง ทำความสะอาดภาชนะใส่อาหารและน้ำ ตลอดจนบริเวณที่เลี้ยงสัตว์เป็นประจำ เมื่อพบความผิดปกติเกิดขึ้นกับสัตว์เลี้ยงต้องปรึกษาสัตวแพทย์ทันทีเพื่อรับคำแนะนำ ขอย้ำว่าไม่ควรนำสัตว์เลี้ยงที่สงสัยว่าสัมผัสโรค COVID-19 มาพบสัตวแพทย์ที่โรงพยาบาลสัตว์ แต่ให้ขังไว้ในกรงเพื่อเฝ้าระวังอาการเท่านั้น นอกจากนี้ หากเจ้าของสัตว์เลี้ยงสงสัยหรือมีอาการป่วยด้วยโรค COVID-19 ต้องห้ามเล่น สัมผัส หรือใกล้ชิดกับสัตว์เลี้ยง กักตัวอยู่แต่ในบ้าน และกักบริเวณสัตว์เลี้ยงไม่ให้ออกนอกบ้าน ซึ่งจะช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสที่ก่อโรคจากคนสู่สัตว์เลี้ยงแสนรักของท่านได้เป็นอย่างดี” สพ.ญ.ดร.รสมา กล่าวในที่สุด
อาจารย์และนิสิตสถาปัตย์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษา Tokyo Metropolitan University ที่ญี่ปุ่น
อาจารย์และนิสิตภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษาจาก Faculty of Urban Environmental Sciences, Tokyo Metropolitan University ประเทศญี่ปุ่น (TMU)
จุฬาฯ ร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายสักการะและจัดพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเนื่องใน “วันนวมินทรมหาราช”
ละครนิเทศจุฬาฯ 2567 “ด้ายแดงเป็นเหตุ Unfortunate Love”
24 - 26 มกราคม 2568
ณ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ ชั้น 7 อาคารสยามสแควร์
จุฬาฯ ต้อนรับคณะศึกษาดูงานด้านการบริหารความเสี่ยงจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แบ่งปันประสบการณ์การพัฒนาระบบบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัย
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมเรื่อง “กัญชาทางการแพทย์: ความรู้ที่ต้องมีสำหรับเภสัชกรยุคใหม่”
11 ธ.ค. 67 เวลา 09.00 – 12.15 น.
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ และ Zoom
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมโครงการ “Next-Gen Arts: พัฒนาศักยภาพครูศิลปะด้วย Soft Power”
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้