รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
3 เมษายน 2563
ข่าวเด่น
จากกรณีที่มีข่าวการล้มตายของม้าอย่างเฉียบพลันเป็นจำนวนมากในพื้นที่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา และล่าสุดพบที่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ผลการตรวจเลือดของม้าจากห้องปฏิบัติการ สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติพบว่าเป็นโรคกาฬโรคในม้า ซึ่งเป็นโรคอุบัติใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทยมาก่อน ไม่ได้เกิดจากเชื้อ COVID-19 ซึ่งกำลังระบาดในปัจจุบันแต่อย่างใด
ผศ.น.สพ.ดร.สว่าง เกษแดงสกลวุฒิ ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวถึงสาเหตุของการเกิดกาฬโรคในม้า หรือโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า ว่าเกิดจากเชื้อไวรัส RNA ชนิด ไม่มีเปลือกหุ้มที่มีตัว “ริ้น” เป็นพาหะ ซึ่งจะติดต่อในสัตว์เฉพาะตระกูลม้า ล่อ ม้าลายเท่านั้น สัตว์ที่มีความไวต่อการติดต่อมากที่สุดคือม้า แต่ไม่มีการติดต่อสู่คนได้
“การติดต่อหลักของโรคนี้คือการโดนริ้นที่เป็นแมลงดูดเลือดไปกัดม้าที่ป่วย เพราะม้าที่ป่วยจะมีไวรัสอยู่ในกระแสเลือด ริ้นที่ได้รับเชื้อไวรัสจะไปกัดม้าตัวอื่นทำให้ม้าได้รับเชื้อติดต่อไปทันที ยิ่งถ้ามีอากาศร้อนชื้นมากๆ ตัวริ้นจะเพิ่มจำนวนได้เยอะก็ยิ่งทำให้โรคนี้แพร่ระบาดได้ดียิ่งขึ้น ฉะนั้นการที่จะหยุดการแพร่ระบาดโรคนี้ได้ดีคือต้องกำจัดตัวริ้นให้หมดไป” ผศ.น.สพ.ดร.สว่าง อธิบาย
ส่วนสาเหตุที่มีการระบาดของโรคนี้ในบ้านเรานั้น กำลังสืบสวนหาต้นเหตุกันอยู่ แต่ที่สันนิษฐานได้ในปัจจุบันคืออาจจะมีการนำเข้าม้าลายที่เป็นตัวพาหะ เพราะว่าม้าลายเป็นสัตว์ที่ติดเชื้อแล้วไม่มีอาการแสดงออก และไวรัสจะอยู่ในตัวม้าลายได้นาน เมื่อมีแมลงดูดเลือดมากัดม้าลายแล้วไปกัดม้าตัวอื่นต่อก็มีโอกาสแพร่เชื้อได้อย่างง่ายดาย แต่ก็ยังไม่มีการพิสูจน์ที่แน่ชัดว่ามาจากม้าลายจริงหรือเปล่า
ในส่วนของการตรวจวินิจฉัยโรคนี้ ผศ.น.สพ.ดร.สว่าง อธิบายว่า ทำได้ด้วยการเก็บตัวอย่างเลือดจากม้าที่ป่วยนำมาตรวจด้วยวิธี PCR ซึ่งเป็นวิธีที่เร็วที่สุด หรืออาจมีการเพาะแยกไวรัสจากตัวอย่างเลือดม้าที่ป่วย หรือม้าที่ตาย ด้วยการนำเอาม้าม ต่อมน้ำเหลือง ปอด มาเพาะเชื้อในเซลล์เพาะเลี้ยง แต่อาจต้องใช้เวลานานกว่าจะรู้ผล แต่ถ้าในพื้นที่ที่มีการระบาดแล้วอาจใช้วิธีการตรวจทางซีรั่มวิทยา โดยการตรวจหา โรคติดเชื้อด้วยวิธี ELISA เพื่อตรวจหาแอนติเจนของเชื้อ และแยกชนิดของเชื้อ ทั้งนี้การตรวจด้วยวิธีทางซีรั่มวิทยา จะพบแอนติบอดีต่อเชื้อได้ในวันที่ 8 – 14 หลังจากติดเชื้อ และพบว่าสัตว์จะมีแอนติบอดีในร่างกายได้นาน 1-4 ปี
ผศ.น.สพ.ดร.สว่าง ชี้ว่า “การรักษาโรคนี้ยังไม่มีการรักษาที่เฉพาะ และยังไม่มีวัคซีนที่ให้ผลได้ 100% เนื่องจากไวรัสที่ระบาดอยู่ในเวลานี้มีถึง 9 สายพันธุ์ ซึ่งเรายังไม่รู้ว่าไวรัสในบ้านเราเป็นสายพันธุ์ใด เรื่องการใช้วัคซีนจึงยังมีข้อจำกัด เราต้องหาสายพันธุ์ให้เจอก่อนถึงจะผลิตวัคซีนได้ตรงกับการใช้งาน”
ในส่วนของวิธีการควบคุมและป้องกันโรค ผศ.น.สพ.ดร.สว่าง แนะนำว่าควรให้ม้าอยู่ในคอกที่ใช้มุ้งหรือตาข่ายในการป้องกันแมลงดูดเลือดซึ่งเป็นพาหะของโรค ฉีดพ่นยาฆ่าแมลงบริเวณคอกม้า และที่ ตัวม้า รวมถึงกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์แมลงดังกล่าวในบริเวณใกล้เคียงให้หมดสิ้น กรณีที่มีการระบาดของโรค ต้องมีการควบคุมเคลื่อนย้ายสัตว์เข้า-ออกบริเวณที่เกิดโรค ทำความสะอาดคอก บริเวณที่เลี้ยงสัตว์ และอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
“การช่วยลดหรือป้องกันการแพร่ระบาดของโรคกาฬโรคในม้าได้ต้องอาศัยความร่วมมือกันของ ทุกภาคส่วน โดยเฉพาะผู้ที่เลี้ยงม้าต้องปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ข้อแนะนำของกรมปศุสัตว์อย่างเคร่งครัด ที่สำคัญต้องงดการเคลื่อนย้ายม้า ห้ามนำอาหารหรืออุปกรณ์ที่อยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดออกไปยังพื้นที่อื่น และที่สำคัญต้องช่วยกันกำจัดแมลงที่เป็นพาหะของโรค นอกจากนี้ถ้ามีม้าป่วยต้องรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ให้รีบดำเนินการทันที นี่คือสิ่งที่ทำได้ดีที่สุดในตอนนี้” ผศ.น.สพ.ดร.สว่าง กล่าวทิ้งทาย
อาจารย์และนิสิตสถาปัตย์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษา Tokyo Metropolitan University ที่ญี่ปุ่น
อาจารย์และนิสิตภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษาจาก Faculty of Urban Environmental Sciences, Tokyo Metropolitan University ประเทศญี่ปุ่น (TMU)
จุฬาฯ ร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายสักการะและจัดพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเนื่องใน “วันนวมินทรมหาราช”
ละครนิเทศจุฬาฯ 2567 “ด้ายแดงเป็นเหตุ Unfortunate Love”
24 - 26 มกราคม 2568
ณ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ ชั้น 7 อาคารสยามสแควร์
จุฬาฯ ต้อนรับคณะศึกษาดูงานด้านการบริหารความเสี่ยงจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แบ่งปันประสบการณ์การพัฒนาระบบบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัย
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมเรื่อง “กัญชาทางการแพทย์: ความรู้ที่ต้องมีสำหรับเภสัชกรยุคใหม่”
11 ธ.ค. 67 เวลา 09.00 – 12.15 น.
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ และ Zoom
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมโครงการ “Next-Gen Arts: พัฒนาศักยภาพครูศิลปะด้วย Soft Power”
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้