รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
8 เมษายน 2563
ข่าวเด่น
จากรายงานข่าวที่มีการพบเชื้อโควิด-19 ในสัตว์หลายชนิดในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็น สุนัข แมว และล่าสุด เสือโคร่ง จนก่อให้เกิดความตื่นตระหนกในกลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์และปศุสัตว์ ศ.สพ.ญ.ดร.เกวลี ฉัตรดรงค์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอดีตนายกสมาคมสัตวแพทย์ผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์แห่งประเทศไทย ได้อธิบายถึงข่าวดังกล่าวว่า ยังไม่มีหลักฐานยืนยันการติดต่อจาก “สัตว์เลี้ยงสู่คน” ดังนั้นผู้ที่ใกล้ชิดกับสัตว์เลี้ยงและ ปศุสัตว์ จึงควร “ตระหนัก” ในการดูแลสัตว์เลี้ยงของตนให้ปลอดภัย แต่ไม่ควร “ตระหนก” กับข่าวที่เกิดขึ้น
“การตรวจพบเชื้อในเสือโคร่ง ซึ่งเป็นสัตว์ตระกูลแมวที่แสดงอาการทางระบบหายใจในสวนสัตว์ที่เมืองนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกานั้น เป็นการติดเชื้อจากพนักงานดูแลสัตว์ ซึ่งมีผลเลือดเป็นบวกต่อเชื้อโควิด -19 โดยไม่แสดงอาการ ทำให้ยังคงปฏิบัติงานอยู่ หลังจากนั้นทางสวนสัตว์ได้ปิดทำการ โดยสัตว์ในกลุ่มนี้แสดงอาการทางระบบหายใจในเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ถัดมา การตรวจพบเชื้อโควิด-19 ในเสือโคร่ง จึงอนุมานได้ว่าติดมาจากพนักงานดูแลสัตว์ที่ทำหน้าที่ให้อาหารและทำความสะอาดกรงเลี้ยงในช่วงเวลาก่อนหน้านี้” ศ.สพ.ญ.ดร.เกวลี อธิบายถึงที่มาของข่าวดังกล่าว
นอกจากนี้ ศ.สพ.ญ.ดร.เกวลียังได้อธิบายเพิ่มเติมว่าข่าวการเกิดโรคโควิด-19 ในสัตว์เลี้ยง ที่สร้างความตื่นตระหนกในเวลานี้มาจากงานเขียนที่ถูกเผยแพร่ก่อนได้รับการพิจารณารับรองตามหลักวิชาการ (อ้างอิง 1) และงานวิจัยเรื่องการติดต่อของเชื้อไวรัสก่อโรค SARS ในแมวและตัวเฟอเร็ทที่ตีพิมพ์ตั้งแต่ ปี 2003 (อ้างอิง 2) ซึ่งเป็นเพียงการศึกษาในห้องทดลองเท่านั้น ทางสมาคมสัตวแพทย์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (The American Veterinary Medical Association) ได้ออกมาสรุปว่าข้อมูลดังกล่าวทำให้เกิดความสับสนและเกิดความตระหนกเกินไปในกลุ่มเสี่ยง ซึ่งอาจนำไปสู่การปล่อยสัตว์เลี้ยงทิ้งในที่สาธารณะ จึงให้คำแนะนำว่าหากสัตว์เลี้ยงมีอาการทางระบบทางเดินหายใจร่วมกับระบบทางเดินอาหาร ควรปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อขอคำแนะนำในการหาสาเหตุของโรค และยังไม่มีความจำเป็นต้องตรวจหาเชื้อในสัตว์เลี้ยงทุกตัว
“สำหรับคนทั่วไปก็ยังคงเลี้ยงสัตว์ได้ แต่ต้อง “ตระหนัก” และเฝ้าระวังอย่างมีสติ การปฏิบัติตามสุขอนามัยที่ดี ได้แก่ การล้างมือบ่อย ๆ ก่อนและหลังสัมผัสสัตว์เลี้ยง เป็นสิ่งที่พึงปฏิบัติอย่างยิ่งในเวลานี้ แต่สำหรับผู้ป่วยและคนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงนั้น นอกจากจะต้องกักตัวและหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดคนแล้ว ยังควรอยู่ห่างไกลจากสัตว์เลี้ยงซึ่งเปรียบเสมือนสมาชิกคนหนึ่งของครอบครัว โดยเฉพาะสัตว์ตระกูลแมว” รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าว
ที่มาของข้อมูล:
1. SARS-CoV-2 in animals, including pets. American Veterinary Medical Association (AVMA), https://www.avma.org/: updated on April 5, 2020.
2. Martina et al. 2003. SARS virus infection of cats and ferrets. Nature 425, 915.
PMCU ร่วมกับ “ศิลปินรวมใจเปิดหมวก” ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมภาคเหนือ กับคอนเสิร์ตเปิดหมวก ตอน “น้ำลดเพื่อนผุด” @SiamSquare Walking Street
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2566 เป็นวันที่สาม
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ ร่วมกับ Degree Plus เปิดอบรมหลักสูตรผู้บริหาร “Decentralized Finance and Blockchain”
วิศวฯ จุฬา จัดเสวนา “เข้าใจน้ำท่วม แนวคิดวิศวกร”
10 ต.ค. 67 เวลา 14.00 น.
ห้องประชุมชั้น 2 อาคารเจริญวิศวกรรม (ตึก 4) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2566 เป็นวันที่สอง
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2566
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้