รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
15 เมษายน 2563
ภาพข่าว
เมื่อวันพุธที่ 15 เมษายน 2563 ณ ห้องประชุม 101 มูลนิธิชัยพัฒนา ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา รับมอบ “หุ่นยนต์ปิ่นโต” และ “หุ่นยนต์กระจก” – ระบบสื่อสารทางไกล Telepresence จาก ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ เพื่อส่งมอบแก่โรงพยาบาลทั้ง 73 แห่งในต่างจังหวัด
โอกาสนี้ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ได้สนับสนุนชุดตรวจคัดกรองโรค COVID-19 เบื้องต้นแบบรวดเร็ว “Chula COVID-19 Strip Test” เพื่อช่วยควบคุมการระบาดของโรค COVID-19 จำนวน 5,000 ชุด แก่มูลนิธิชัยพัฒนา เพื่อส่งมอบแก่โรงพยาบาลที่ต้องการต่อไป
หลังจากพิธีส่งมอบนวัตกรรมดังกล่าว ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนาได้ชมการสาธิตการทำงานของหุ่นยนต์ปิ่นโตและหุ่นยนต์กระจก และชุดตรวจคัดกรองโรค COVID-19 เบื้องต้นแบบรวดเร็ว “Chula COVID-19 Strip Test” โดยมี ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล และ รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย รองอธิการบดี พร้อมด้วย รศ.ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณาจารย์จากคณะวิศวกรรมศาสตร์และคณะเภสัชศาสตร์ผู้พัฒนานวัตกรรมร่วมในงานครั้งนี้ด้วย
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระราชานุมัติให้มูลนิธิชัยพัฒนา ใช้งบประมาณจาก “กองทุนชัยพัฒนาสู้ภัยโควิด 19 (และโรคระบาดต่างๆ) จัดซื้อ “หุ่นยนต์ปิ่นโต” และ “หุ่นยนต์กระจก” – ระบบสื่อสารทางไกล เพื่อพระราชทานแก่โรงพยาบาล 73 แห่ง โดยหุ่นยนต์ทั้งสองชนิดเป็นนวัตกรรมจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อช่วยบุคลากรทางการแพทย์ดูแลผู้ป่วย ใช้งานง่ายและช่วยลดความเสี่ยงในการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ
หุ่นยนต์ช่วยเหลือทางการแพทย์ “CU-RoboCOVID” เป็นนวัตกรรมที่พัฒนาโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับบริษัท เอชจี โรโบติกส์ จำกัด และบริษัท โอโบดรอยส์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทสตาร์ทอัพภายใต้การบ่มเพาะของศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU Innovation Hub) เป็นโครงการพัฒนาหุ่นยนต์และอุปกรณ์สนับสนุนการแพทย์สู้ภัย COVID-19 ภายใต้แนวคิดหลักเพื่อ “อำนวยความสะดวก ลดความเสี่ยง เพิ่มประสิทธิภาพ” หุ่นยนต์ “ปิ่นโต” และ “กระจก” ระบบสื่อสารทางไกล Telepresence เป็นส่วนหนึ่งของ “CU-RoboCOVID” ช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อจากคนไข้สู่บุคลากรทางการแพทย์ สร้างระบบเครือข่ายในการสื่อสารระหว่างแพทย์และผู้ป่วยให้เข้าถึงการรักษาได้อย่างทั่วถึง ปัจจุบันได้มีส่งมอบหุ่นยนต์ให้โรงพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศนำไปใช้งานจริงกับผู้ป่วยโรค COVID-19
ในการนี้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โปรดเกล้าฯ พระราชทานหุ่นยนต์ CU-RoboCOVID “ปิ่นโต” และ “กระจก” เพื่อช่วยบุคลากรทางการแพทย์ปฏิบัติหน้าที่อำนวยความสะดวกในการรักษาและป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 ณ โรงพยาบาลน่าน จ.น่าน และโรงพยาบาลสันทราย จ.เชียงใหม่ โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และกองทัพอากาศได้เร่งดำเนินการนำหุ่นยนต์ดังกล่าวไปติดตั้งที่โรงพยาบาลทั้งสองแห่งตามพระราชประสงค์
สำหรับชุดตรวจคัดกรองโรค COVID-19 เบื้องต้นแบบรวดเร็ว “Chula COVID-19 Strip Test” เป็นนวัตกรรมซึ่งพัฒนาโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกับทีมกลุ่มสตาร์ทอัพนิสิตเก่าจุฬาฯ และเครือข่ายพันธมิตร ภาครัฐและเอกชน จากผลงานวิจัยการผลิตโปรตีนด้วยพืชของ รศ.ดร.วรัญญู พูลเจริญ และ ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด ซึ่งก่อตั้งโดยทีมสตาร์ทอัพที่บ่มเพาะจากศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาฯ(CU Innovation Hub) เป็นนวัตกรรมการตรวจคัดกรองโรค COVID-19 ที่อาศัยหลักการทางภูมิคุ้มกันร่างกาย (Serology test) ซึ่งเป็นการตรวจหาแอนติบอดี (IgG & IgM) ในเลือด ซีรัม หรือพลาสมาของผู้ป่วย โดยใช้ชุดตรวจคัดกรอง BAIYA RAPID COVID-19 IgM/IgG test kit ที่สามารถตรวจได้อย่างรวดเร็ว เพียงแค่ใช้ตัวอย่างเลือดที่ปลายนิ้ว และใช้เวลาอ่านผลไม่เกิน 10 นาที ใช้ทดสอบการสร้างภูมิคุ้มกันที่จำเพาะต่อการติดเชื้อของผู้ป่วย หากมีการสร้างภูมิคุ้มกันก็อาจจะเป็นไปได้ที่จะมีการติดเชื้อ เพื่อที่จะแยกและสกัดการแพร่กระจายของการติดเชื้อในวงกว้างได้ ชุดตรวจคัดกรองนี้จะช่วยคัดกรองเบื้องต้นจากการตรวจคัดกรองแบบมาตรฐานคือ Real-time PCR ซึ่งต้องใช้เวลานานในการรอผล และมีราคาสูง
อาจารย์และนิสิตสถาปัตย์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษา Tokyo Metropolitan University ที่ญี่ปุ่น
อาจารย์และนิสิตภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษาจาก Faculty of Urban Environmental Sciences, Tokyo Metropolitan University ประเทศญี่ปุ่น (TMU)
จุฬาฯ ร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายสักการะและจัดพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเนื่องใน “วันนวมินทรมหาราช”
ละครนิเทศจุฬาฯ 2567 “ด้ายแดงเป็นเหตุ Unfortunate Love”
24 - 26 มกราคม 2568
ณ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ ชั้น 7 อาคารสยามสแควร์
จุฬาฯ ต้อนรับคณะศึกษาดูงานด้านการบริหารความเสี่ยงจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แบ่งปันประสบการณ์การพัฒนาระบบบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัย
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมเรื่อง “กัญชาทางการแพทย์: ความรู้ที่ต้องมีสำหรับเภสัชกรยุคใหม่”
11 ธ.ค. 67 เวลา 09.00 – 12.15 น.
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ และ Zoom
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมโครงการ “Next-Gen Arts: พัฒนาศักยภาพครูศิลปะด้วย Soft Power”
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้