รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
22 เมษายน 2563
ข่าวเด่น
ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ในขณะนี้ “หน้ากากอนามัย” มีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับทุกคน รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ต้องใกล้ชิดกับสารคัดหลั่งของผู้ป่วย หน้ากากอนามัยจึงเป็นที่ต้องการอย่างมาก ส่งผลให้ประสบปัญหาขาดแคลนหน้ากากอนามัย นำไปสู่การนำหน้ากากผ้ามาซักทำความสะอาดเพื่อใช้ซ้ำ ซึ่งไม่มีมาตรฐานรองรับความปลอดภัยจากการทำความสะอาดหน้ากากอนามัยด้วยวิธีดังกล่าว
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับอาจารย์และนักวิจัยผู้เชี่ยวชาญในหลากหลายสาขา ได้แก่ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลล้านนา โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์ โรงพยาบาลรามาธิบดี บริษัท รีเทล บิซีเนส โซลูชั่นส์ จำกัด และกลุ่ม SOS เพื่อตรวจสอบคุณภาพและฆ่าเชื้อหน้ากากอนามัยสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ให้สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้อย่างปลอดภัย
รศ.ดร.บุญรัตน์ โล่วงศ์วัฒน ภาควิชาวิศวกรรมโลหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้ศึกษาเรื่อง “การยับยั้งเชื้อไวรัส COVID-19บนหน้ากากอนามัยด้วยตู้ฉายภายใต้หลอดรังสีอัลตราไวโอเลต (UVC)” ว่า หลอดไฟ UVC ที่ใช้ทำการทดสอบอยู่ในคลื่นความถี่ประมาณ 254 นาโนเมตร มีความสามารถในการฆ่าเชื้อหรือยับยั้งไวรัสไม่ให้เติบโตอีกต่อไป ซึ่งสามารถทำได้จริง แต่มีประเด็นเรื่องความเข้มของแสงที่จะต้องมากพอ ปัจจัยเรื่องการตกกระทบของแสงมีผลต่อการฆ่าเชื้อบนหน้ากากอนามัยโดยตรง ถ้าหน้ากากอนามัยไม่มีการจัดวางที่ดีภายในตู้อบ อาจทำให้เกิดเงา ส่งผลให้ไม่สามารถฆ่าเชื้อได้อย่างทั่วถึง หรือระยะทางระหว่างหน้ากากกับหลอดไฟมีระยะห่างเกินไปก็ลดประสิทธิภาพของการฆ่าเชื้อได้เช่นกัน รวมไปถึงปัจจัยอื่นๆ ซึ่งมีผลในการทดสอบ เช่น ความหนาของหน้ากากอนามัย วัสดุที่ใช้ทำหน้ากาก ฯลฯ
“ในการทดสอบเพื่อหาค่ากลางที่ทำให้รู้ว่าเราต้องใช้หลอดไฟกี่วัตต์จึงจะส่งพลังงานไปถึงหน้ากาก หลอดที่ใช้จึงจำเป็นต้องมีความถี่สูงมาก ซึ่งหลอด UVC เป็นคลื่นความถี่ที่สายตาเรามองไม่เห็นและเป็นอันตรายต่อผู้ใช้เนื่องจากมีส่วนผสมของสารปรอท โดยค่าพลังงานส่วนใหญ่จะลดลงไป 1 ใน 3 ของการใช้งานจริง เช่น ถ้าซื้อหลอดไฟ UVC ขนาด 15 วัตต์ พลังงานที่ได้จะอยู่ที่ 4 วัตต์ ยิ่งวัตถุอยู่ไกลหลอดไฟ พลังงานก็ยิ่งลด เราจึงต้องนำหน้ากากไปวางไว้ใกล้ๆ หลอด UVC” รศ.ดร.บุญรัตน์ อธิบาย
ผลการทดสอบสรุปได้ว่า หลอดไฟกับหน้ากากควรวางห่างกัน 5-7 ซม. และไม่เกิน 10 ซม. การฆ่าเชื้อบนหน้ากากอนามัยในตู้ UVC ควรใช้เวลา 15 นาทีเป็นอย่างต่ำ สามารถฆ่าเชื้อบนหน้ากากชิ้นเดิมได้ทั้งหมด 8 ครั้ง ซึ่งหลอด UVC ที่ใช้ควรมีกำลังไฟ 15 วัตต์ขึ้นไป รวมถึงการจัดวางหน้ากากในตู้สำหรับหลอด UVC 1 หลอด สามารถเรียงหน้ากากห่างกันได้ 1 แถว
นอกจากการทำวิจัยเรื่องการหาค่าความเหมาะสมในการใช้ UVC เพื่อนำหน้ากากอนามัยกลับมาใช้ใหม่สำหรับบุคลากรทางการแพทย์แล้ว ยังมีเรื่องของการตรวจสอบคุณภาพเส้นใยของหน้ากากอนามัยด้วย รศ.ดร.บุญรัตน์ กล่าวว่าได้มีการทดสอบผลจากการอบหน้ากากต่อประสิทธิภาพการกรอง โดยนำหน้ากากมาตรวจคุณภาพของเส้นใยหลังอบเพื่อศึกษาว่าเราสามารถอบซ้ำสูงสุดได้กี่ครั้ง ซึ่งพบว่าหน้ากากมีความหนาอย่างน้อย 3-4 ชั้น และมี Finger Print (ลายเส้นใยเฉพาะ) ของหน้ากาก ซึ่งแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อจะมีลักษณะเส้นใยที่ต่างกัน เราสามารถนำตัวอย่างเหล่านี้มาเก็บเป็นฐานข้อมูล เมื่อมีหน้ากากล็อตใหม่ส่งมาก็สามารถวิเคราะห์ควบคู่กันได้ โดยการใช้เส้นใยเพื่อตรวจสอบได้ว่ามีคุณภาพเหมือนเดิมหรือเป็นของแท้หรือไม่ ทั้งนี้เพื่อศึกษาการอบหน้ากากอนามัยให้สามารถนำไปใช้อย่างปลอดภัยตามมาตรฐานที่ได้ศึกษาจริง
รศ.ดร.บุญรัตน์ได้ฝากข้อควรระวังในการซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ที่มีส่วนประกอบของหลอด UVC ว่า “ UVC มีผลต่อผิวหนังทำให้เกิดอาการไหม้และเป็นมะเร็งผิวหนังได้ จึงไม่ควรให้หลอด UVC ใกล้กับผิวหนังของเราโดยตรง แสงสีม่วงที่เห็นอาจอยู่ในย่านความถี่อื่น เช่น UVA, UVB ซึ่งมีความสามารถในการฆ่าเชื้อไม่เท่ากัน ควรดูให้ดีว่าเป็น UVC จริงหรือไม่ด้วยวิธีการสังเกตง่ายๆ คือ หลอด UVC ที่ไม่แพงจะใช้สารปรอทเป็นส่วนประกอบ ซึ่งเป็นสารพิษที่มีอันตรายต่อสุขภาพ มีการประทับตราที่หลอดตามที่กฎหมายทั่วโลกบังคับไว้ เพื่อแสดงให้ผู้ใช้ทราบว่ามีสารปรอท โดยมีสัญลักษณ์ทางเคมี “Hg” แสดงอยู่บนหลอด โดยหลอด UVC ที่ใช้ฆ่าเชื้อได้อยู่ที่ 15 วัตต์ขึ้นไป”
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2566 เป็นวันที่สอง
การประชุมวิชาการ “พระเสด็จโดยแดนชล” วัฒนธรรมเห่เรือในวรรณคดีและศิลปกรรมไทย และพิธีมอบรางวัลการประกวดบทร้อยกรองประเภทกาพย์เห่ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 72 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
อาสาสมัครกาชาดจากจุฬาฯ ร่วมกิจกรรมช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์
ความประทับใจของบัณฑิตจุฬาฯ ในรั้วจามจุรี และพิธีพระราชทานปริญญาบัตรที่ภาคภูมิใจ
นิสิตคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมแสดงผลงานแฟชั่นและสิ่งทอในงาน centralwOrld Thailand Graduate Fashion Week 2024
วิศวฯ จุฬาฯ เชิญร่วมบริจาคโลหิตถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้