ข่าวสารจุฬาฯ

How to ฟื้นฟูปอดสู้ COVID-19 ด้วยคลิปวีดีโอจากภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ

การเตรียม “ปอด” ให้แข็งแรงในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อโรคนี้ รวมถึงกลุ่มเสี่ยงและประชาชนทั่วไป ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดทำคลิปบริหารปอดแบบง่ายๆ ทำตามได้แม้อยู่ในช่วง    กักตัวที่บ้านเพื่อฟื้นฟูปอดสู้ภัย COVID-19

“เนื่องจากเชื้อโรคตัวนี้แพร่กระจายได้ง่ายมาก ทางฝ่ายเวชศาสตร์ฟื้นฟูจึงได้จัดทำวิดีโอสาธิตวิธีการฟื้นฟูปอด ฟื้นฟูสภาพร่างกายสำหรับผู้ป่วยที่นอนโรงพยาบาลเป็นเวลานาน และเชิญชวนให้มาออกกำลังกาย ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องมาโรงพยาบาล เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อและแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้ สำหรับผู้ที่มีอาการไม่รุนแรงหรือผู้ป่วยติดเชื้อแต่ไม่มีอาการก็สามารถออกกำลังหรือฟื้นฟูกายภาพได้ตามคลิปวิดีโอ ซึ่งมีความปลอดภัย แต่เมื่อใดก็ตามที่ทำกายภาพแล้วรู้สึกเหนื่อยมากกว่าปกติ เจ็บแน่นหน้าอก เวียนหัว หน้ามืด จะเป็นลม หรือมีอาการผิดปกติก็ให้รีบมาโรงพยาบาล อย่าชะล่าใจ” อ.พญ.ฑิมภ์พร วิทูรพงศ์ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ แนะนำ

คลิปวีดีโอฟื้นฟูปอดมี 3 ตอน โดยเรียงลำดับจากการหายใจง่ายๆ จนถึงการออกกำลังกายทั้งตัวเพื่อกระตุ้นให้ปอดทำงานสร้างภูมิคุ้มกัน โดยมีการแบ่งระดับจากผู้ป่วยหลังการพักฟื้นในโรงพยาบาลเป็นเวลานาน ผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรงหรือไม่แสดงอาการ และประชาชนทั่วไปที่กักตัวอยู่ที่บ้าน นอกจากนี้ยังมีการฝึกระบายเสมหะที่ถูกต้อง ช่วยบรรเทาอาการและช่วยให้การหายใจดีขึ้น

“สำหรับผู้ป่วย COVID-19 จำเป็นต้องฟื้นฟูปอดเนื่องจากเนื้อปอดถูกทำลายทำให้การหายใจไม่ดีเหมือนปกติ วิธีฟื้นฟูปอดโดยการหายใจให้ถูกต้องจะทำให้การหายใจดีขึ้น สำหรับคนไข้ที่มีเสมหะก็มีการสอนวิธีขับเสมหะที่ถูกต้อง เพื่อให้สามารถขับเสมหะได้ดีขึ้น บางทีการไอไม่แรงพอก็ไม่สามารถขับเสมหะได้ หากมาพบนักกายภาพบำบัดอาจจะมีเทคนิคอื่นๆ อีก การทำตามคลิปวิดีโอเป็นวิธีการปฏิบัติอย่างง่ายและเป็นวิธีเบื้องต้นที่จะช่วยบรรเทาอาการได้” ผศ.พญ.สริสสา แรงกล้า ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวเสริม

เชื้อไวรัส COVID-19 สามารถติดต่อได้ในระบบทางเดินหายใจจากการสูดละอองไอ-จามของผู้ติดเชื้อ รวมทั้งการสัมผัสและการใกล้ชิดผู้ป่วย เชื้อโรคที่เข้าไปสู่ปอดจะทำลายเนื้อปอด ส่งผลต่อการหายใจของผู้ติดเชื้อทำให้หายใจหอบถี่ เหนื่อยง่าย ซึ่งความเสียหายของปอดขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงในการติดเชื้อของแต่ละคน อีกทั้งมีหลายปัจจัยที่ทำให้อาการแย่ลง เช่น สายพันธุ์ของเชื้อไวรัส โรคประจำตัว และสภาพร่างกายของผู้ติดเชื้อ ซึ่งไม่สามารถระบุได้ด้วยการสังเกตว่าอาการมีความรุนแรงมากน้อยเพียงใด แต่สามารถตรวจได้จากการ X-ray หรือการทำ CT Scan เพื่อดูระดับความรุนแรงที่เกิดจากการทำลายของเชื้อไวรัส ทั้งในกลุ่มที่ไม่แสดงอาการ รวมถึงกลุ่มที่มีความรุนแรงสูง

สามารถติดตามคลิปการฟื้นฟูปอดจากภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ทั้ง 3 ตอนดังนี้

ตอนที่ 1 ให้ลองฝึกหายใจเพื่อช่วยขยายปอด สู้โควิด19

https://youtu.be/9qWEiO38fDA

ตอนที่ 2 ให้ลองออกท่าบริหารเพื่อฟื้นฟูร่างกาย สู้โควิด19

https://youtu.be/t3BH1HH2_Yo

ตอนที่ 3 ให้ลองกระตุ้นภูมิสู้โควิด19 ด้วยการออกกำลังกายแบบ Aerobic Exercise https://youtu.be/D8B8SGm5-Xo

 

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า