รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
25 เมษายน 2563
ข่าวเด่น
สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยในปัจจุบันดูเหมือนจะคลี่คลายในระดับหนึ่ง อ้างอิงจากตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่ในประเทศที่มีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่อง มาตรการต่างๆ ที่ภาครัฐออกมาคุมเข้ม ดูเหมือนจะใช้ได้ผลจริง แม้ว่าจะต้องแลกมาด้วยการสูญเสียทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างใหญ่หลวง
แต่คำถามหนึ่งที่คนไทยหลายคนคงมีอยู่ในใจตอนนี้คือ หากเปิดเมืองแล้วจะเป็นอย่างไร รัฐจะมีมาตรการอะไรออกมาเพื่อทำให้ประชาชนมั่นใจว่าโควิด-19 จะไม่กลับมาระบาดอีกครั้ง เราจะทำอย่างไรไม่ให้เรา “การ์ดตก” ตามคำเปรียบเปรยของ นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ทั้งในด้านจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 และด้านผลกระทบทางเศรษฐกิจของประเทศ
คณาจารย์จากสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ฯ ได้ศึกษาในเรื่องนี้โดยอาศัยข้อมูลของ O*NET หรือฐานข้อมูลที่ถูกจัดทำขึ้นจากการสนับสนุนของกระทรวงแรงงานประเทศสหรัฐอเมริกา โดยทำการสำรวจลักษณะและรูปแบบการทำงานของอาชีพต่างๆ มากกว่า 900 อาชีพ โดยอาศัยสมมุติฐานที่ว่าโดยรวมแล้วการทำงานประเภทเดียวกันในประเทศต่างๆ จะมีลักษณะและรูปแบบการทำงานที่ใกล้เคียงกัน นอกจากนี้ยังพบว่ามีอาชีพจำนวนไม่น้อยที่การประยุกต์ใช้แนวคิดการเว้นระยะห่างทางสังคมในการทำงานอาจจะเป็นเรื่องยาก
อาชีพต่างๆ มีความจำเป็นในการเว้นระยะห่างทางสังคมที่แตกต่างกันไปแล้วแต่ลักษณะกลุ่มอาชีพ บางอาชีพเป็นงานที่ต้องทำเป็นทีมและใช้การสื่อสารแบบซึ่งหน้าเป็นหลัก อาชีพเหล่านี้ก็จะเป็นอาชีพที่การเว้นระยะห่างทางสังคมเป็นไปได้ยากกว่าโดยธรรมชาติของงานเอง ดังนั้นในการพิจารณาที่จะเปิดเมืองเพื่อที่จะนำไปสู่การเดินต่อของภาคธุรกิจ และเป็นการควบคุมการระบาดของ โควิด-19 ด้วยนั้น การคำนึงถึงลักษณะของอาชีพและความจำเป็นในการทำงานใกล้ชิดกับผู้อื่นมาเป็นส่วนประกอบในการวางนโยบายและมาตรการต่างๆในการเปิดเมือง อาจจะส่งผลไม่มากก็น้อยต่อการบริหารจัดการคลื่นลูกที่สองของการระบาดของโควิด-19 และการขับเคลื่อนของภาคธุรกิจต่อไป
คณาจารย์ศศินทร์ได้นำเสนอตัวอย่างนโยบายตามลักษณะกลุ่มอาชีพที่สามารถนำไปเป็นกรอบกำหนดนโยบายดังนี้
สรุปประเด็นสำคัญสองประการจากการศึกษาข้อมูล O*NET ที่ทางคณาจารย์ศศินทร์นำเสนอมีดังนี้
– มาตรการช่วยเหลือ: การเปิดเมืองคือการลดการเว้นระยะห่างทางสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งถ้าหากรัฐให้ทุกอาชีพกลับไปทำงานตามปกติพร้อมๆกัน แม้ว่าจะมีการรณรงค์เรื่องสุขอนามัยก็ตาม อาชีพที่ยากในการเว้นระยะห่างทางสังคมก็จะมีความเสี่ยงสูงและอาจจะเป็นสาเหตุให้เกิดคลื่นลูกที่สองของการระบาดของโควิด-19 ได้ อาชีพกลุ่มนี้ควรได้รับการดูแลในเชิงนโยบายเป็นกรณีพิเศษ อาทิ รัฐอาจจะต้องมีผู้เชี่ยวชาญที่เข้ามาช่วยเหลือคนในอาชีพเหล่านี้ให้ปรับตัวและทำงานโดยให้มีระยะห่างทางสังคมให้มากที่สุด อาจจะมีมาตรการที่เกี่ยวกับอุปกรณ์หรือเทคโนโลยีการสื่อสาร อุปกรณ์ป้องกันเชื้อโรคแพร่ระบาดที่เฉพาะสำหรับงานในอาชีพกลุ่มนี้ หรือการให้น้ำหนักกับการตรวจโควิด-19 ในสาขาอาชีพที่มีความจำเป็นต้องทำงานใกล้ชิดกับผู้อื่นสูงก่อน เช่น ทันตแพทย์
– มาตรการเยียวยา: หากรัฐเปิดเมืองอย่างค่อยเป็นค่อยไป อาทิ ค่อยๆ ทยอยเปิดในบางจังหวัดที่มีความเสี่ยงน้อยก่อน และอาจจะไม่ให้ทุกอาชีพกลับไปทำงานตามปกติพร้อมๆกัน รัฐจำเป็นจะต้องมีการเยียวยาคนกลุ่มที่ยังไม่สามารถกลับไปทำงานได้อย่างเหมาะสม เพราะคนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 มากเท่าไหร่ ก็จะต้อง“ดิ้นรน” เพื่อเอาชีวิตรอดจากพิษเศรษฐกิจมากขึ้นเท่านั้น จนอาจเกิดปัญหา เช่น ต้องเดินทางกลับบ้านที่ต่างจังหวัดเพราะไม่มีเงินจ่ายค่าเช่าบ้านในเมือง แอบทำงานถ้าหากรัฐให้คนในอาชีพเหล่านี้หยุดงานต่อ หรือกลายไปเป็นมิจฉาชีพ
ดังนั้นการเปิดเมือง รัฐจะต้องทำอย่างเป็นระบบเพื่อที่จะนำสังคมกลับไปสู่การปลอดเชื้อโควิด-19 หรืออย่างน้อย ต้องสามารถควบคุมการแพร่และการติดเชื้อโควิด-19 ในระดับที่ระบบสาธารณสุขของไทยสามารถบริหารจัดการได้ โดยคำนึงถึงผลกระทบต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและความเสี่ยงของประชาชนในการติดเชื้อโควิด-19 ควบคู่กันไป
ผู้สนใจสามารถติดตามอ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ https://www.sasin.edu/content/insights/unlock_model_covid-19-social-distancing-and-the-new-normal
อ้างอิง:Koren, M. &Peto, R. (2020), “Business disruptions from social distancing”, Covid Economics, Issue 2, 8 April 2020.
บทความโดย ผศ.ดร.สบิณฑ์ ศรีวรรณบูรณ์, ผศ.ดร.ภัทเรก ศรโชติ, รศ.ดร.พัฒนาพร ฉัตรจุฑามาส, ผศ.ดร.ปิยะชาติ ภิรมย์สวัสดิ์, ศ.ดร.เกื้อ วงศ์บุญสิน คณาจารย์สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Sasin School of Management)
การประชุมวิชาการ “พระเสด็จโดยแดนชล”และพิธีมอบรางวัลการประกวดบทร้อยกรองประเภทกาพย์เห่ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 72 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
อาสาสมัครกาชาดจากจุฬาฯ ร่วมกิจกรรมช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์
ความประทับใจของบัณฑิตจุฬาฯ ในรั้วจามจุรี และพิธีพระราชทานปริญญาบัตรที่ภาคภูมิใจ
นิสิตคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมแสดงผลงานแฟชั่นและสิ่งทอในงาน centralwOrld Thailand Graduate Fashion Week 2024
วิศวฯ จุฬาฯ เชิญร่วมบริจาคโลหิตถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2566
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้