ข่าวสารจุฬาฯ

แพทย์จุฬาฯ แนะลดเค็ม ลดโรค ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคเพื่อสุขภาพ

ทุกวันนี้คนไทยจำนวนมากหลงใหลอาหารรสจัด โดยเฉพาะอาหารที่มีรสเค็ม เช่น ขนมกรุปกรอบที่มากับรสชาติแปลกใหม่ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปหลากรส น้ำซุปและน้ำจิ้มเข้มข้นในเมนูชาบูและหมูกระทะ พฤติกรรมการบริโภคอาหารรสเค็มในชีวิตประจำวันจะส่งผลทำให้เกิดโรคต่างๆ ตามมา

รสเค็มในอาหารมาจากเกลือ หรือที่เรียกว่า “โซเดียม”  ซึ่งเป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย ช่วยรักษาความสมดุลของน้ำในร่างกายและความดันโลหิต ในหนึ่งวัน ร่างกายของคนเราต้องการโซเดียมไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัม หรือเทียบเท่ากับน้ำปลา 2 ช้อนชา เกลือ 1 ช้อนชาเท่านั้น แต่ปัจจุบันพบว่าคนไทยบริโภคโซเดียมเกินความจำเป็นต่อร่างกายถึง 2 เท่า

รศ.นพ.ณัฐชัย ศรีสวัสดิ์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า “โซเดียมมีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ในปัจจุบันมีแนวโน้มการบริโภคโซเดียมมากเกินไปในชีวิตประจำวัน ซึ่งอาจมาจากความชอบกินอาหารเค็ม  หรือจากความไม่รู้ว่าอาหารประเภทนั้นๆ มีโซเดียมแฝงอยู่ การกินเค็มมากเกินไปเป็นระยะเวลานานส่งผลให้เกิดโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดสมอง ความดันโลหิตสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคไตเรื้อรัง เนื่องจากไตเป็นอวัยวะที่กรองของเสียและน้ำออกนอกร่างกาย ดังนั้นเมื่อมีโซเดียมในร่างกายสูง ไตก็จะทำงานหนัก และเสื่อมเร็วขึ้น จากสถิติที่ผ่านมาคนไทยป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังถึง 17.5% หรือประมาณ 8 ล้านคนต่อประชากรของประเทศ และประเทศไทยมีอัตราการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยฟอกไตสูงเป็นอันดับหนึ่งของโลก ส่งผลให้ต้องสูญเสียเงินไปกับผู้ป่วยที่ต้องฟอกไตระยะสุดท้ายประมาณ 8.5 พันล้านบาทต่อปี

“ขอให้เราตระหนักถึงโทษในการบริโภคโซเดียมที่เกินความจำเป็นอยู่เสมอ หากไม่อยากป่วยด้วยโรคที่มากับความเค็ม สิ่งที่ดีที่สุดคือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมติดเค็มของเรา”  รศ.นพ.ณัฐชัย กล่าวแนะนำ

การทานเค็มก่อให้เกิดโรคต่างๆ ตามมา ดังนี้
1.ความดันโลหิตสูงขึ้น
2.การดำเนินของโรคไตเรื้อรังเร็วมากขึ้น
3.โรคหัวใจ
4.เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง

วิธีเลี่ยงโซเดียมเกินจำเป็น
1.ปรุงอาหารกินเองที่บ้าน
2.หลีกเลี่ยงการกินน้ำซุป หรือกินน้อยลง เพราะน้ำซุปมีปริมาณโซเดียมสูงมากจากเครื่องปรุงรสหรือซุปก้อน
3.หลีกเลียงการกินอาหารรสจัดด้วยการหันมากินอาหารรสจืดแทน
4.ชิมก่อนปรุง และไม่เพิ่มรสชาติอาหารด้วยการเติมเครื่องปรุงรสทุกอย่าง รวมถึงน้ำจิ้ม หรือซอสต่างๆ
5.ลดการกินอาหารแปรรูป เพราะในอาหารประเภทนี้มีปริมาณโซเดียมเพิ่มขึ้นหลายเท่าเพื่อยืดอายุในการเก็บรักษาอาหาร
6.อ่านสลากโภชนาการทุกครั้ง เพื่อดูปริมาณโซเดียมของอาหารในแต่ละประเภท

 

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า