ข่าวสารจุฬาฯ

“สั่ง Delivery” อย่างไรให้ปลอดภัยจาก COVID-19

สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID-19 ทำให้คนส่วนใหญ่มีการรักษาระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) หลายหน่วยงานมีนโยบายให้ทำงานจากที่บ้าน (Work from Home) ร้านอาหารแบบนั่งทานที่ร้านปิดให้บริการและเปลี่ยนเป็นการซื้อกลับบ้านหรือสั่ง Delivery แทน แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการสั่ง Delivery ให้ปลอดภัยห่างไกลจากเชื้อไวรัส ตั้งแต่ร้านอาหาร คนขนส่งอาหาร ไปจนถึงการดูแลเรื่องความสะอาดของตัวเราเองในฐานะผู้สั่งซื้ออาหาร เพื่อให้ทุกคนได้ปฏิบัติอย่างถูกวิธี ดังนี้

ร้านอาหาร Delivery

  • เลือกร้านที่รักษาความสะอาดของสถานที่ และอุปกรณ์ประกอบอาหาร
  • อาหารของร้านจะต้องปรุงให้สุก เช่น อาหารประเภทเนื้อสัตว์ปรุงให้สุกด้วยความร้อนไม่ต่ำกว่า 70 องศาเซลเซียส
  • มีการจัดภาชนะบรรจุอาหารให้เหมาะสมกับอาหารแต่ละประเภท ปิดฝามิดชิดเพื่อป้องกันการปนเปื้อนในระหว่างการขนส่ง
  • ติดฉลากระบุ วันผลิต วันหมดอายุ และอุณหภูมิที่เหมาะสมในการเก็บรักษาอาหาร
  • ร้านอาหารมีการจัดสถานที่ให้เพียงพอกับจำนวนคนขนส่งอาหารที่เข้ามาใช้บริการ โดยจัดระยะห่างอย่างน้อย 1 เมตร และมีการระบายอากาศที่เหมาะสม

คนขนส่งอาหาร Delivery

  • ผู้ขนส่งอาหารควรสวมหน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันการไอ จาม ปนเปื้อนอาหาร และเป็นการป้องกันตนเองจากการได้รับเชื้อโรคระหว่างให้บริการ
  • ผู้ขนส่งอาหารต้องล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ ก่อนเข้าร้านอาหาร หลังการส่งอาหาร และหลังจับเงิน
  • ไม่รับอาหารจากคนขนส่งอาหารที่มีอาการป่วย เช่น ไอ จาม มีน้ำมูก หรือเหนื่อยหอบ
  • ระบุจุดรับ-ส่งอาหาร โดยทิ้งระยะห่างระหว่างคนขนส่งอาหารอย่างน้อย 1 เมตร

ผู้สั่งซื้ออาหาร Delivery

  • หลีกเลี่ยงการสั่งซื้ออาหารกลุ่มเสี่ยง เช่น อาหารที่ปรุงไม่สุก อาหารที่เน่าเสียง่าย อาหารที่ทำโดยวิธีใช้มือสัมผัสมาก เป็นต้น
  • สวมหน้ากากอนามัยระหว่างการรับอาหารจากคนขนส่งอาหาร
  • หลังจากรับอาหารจากคนขนส่งอาหารต้องล้างมือด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ทันที
  • ตรวจสอบคุณภาพอาหารและภาชนะบรรจุให้อยู่ในสภาพปกติ
  • เลือกวิธีชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อหลีกเลี่ยงการจับเงิน

นอกจากนี้ รศ.ดร. ขนิษฐา ธนานุวงศ์ หัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ได้แนะนำวิธีเลือกรับประทานอาหารในช่วงที่ต้องทำงานจากที่บ้าน (Work from Home) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอาหารประเภท Delivery ว่า เราควรเลือกบริโภคอาหารให้หลากหลาย ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนอาหารที่ทานในแต่ละวัน เพื่อที่จะได้คุณค่าทางอาหารที่ครบถ้วน ควรเพิ่มเมนูผักเข้าไป ซึ่งบางท่านไม่ชอบทานผักก็อาจจะเริ่มต้นวันละนิด โดยไม่จำเป็นต้องเป็นเมนูผัดผัก แต่เป็นเมนูปกติที่ใส่ผักเข้าไปเพิ่ม หรือเปลี่ยนมาเป็นผักที่เตรียมเองจากที่บ้านจะสะอาดกว่า ส่วนอาหารจำพวก ปิ้ง ย่าง ทอด ควรทานให้น้อยลง เนื่องจากอาหารทอดมีไขมันค่อนข้างสูง อาหารปิ้งย่างมีสารก่อมะเร็ง ควรเปลี่ยนเป็นอาหารประเภทผัดหรือต้มแทน

“Work from Home อาจทำให้เครียด หลายคนมีการรับประทานมากขึ้นเพื่อลดความเครียด เราควรเปลี่ยนเป็นการทานผลไม้ น้ำผลไม้ แทนขนมขบเคี้ยว และพยายามควบคุมการปริมาณการทาน เช่น คนส่วนใหญ่เปิดถุงขนมแล้วก็จะทานจนหมดถุง วิธีแก้คือ ให้เทขนมใส่ภาชนะ ถ้วย หรือชามเล็กๆ แทนที่จะทานในถุง เราจะได้จำกัดว่าหมดชามนี้แล้วให้พอ” รศ.ดร. ขนิษฐา กล่าว

จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด

คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า