รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
12 พฤษภาคม 2563
ข่าวเด่น
ในภาวะวิกฤตเช่นสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในปัจจุบัน หนึ่งในผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการภาวะวิกฤตให้ผ่านพ้นไปได้คือผู้นำองค์กรในระดับต่างๆ ผู้นำในภาวะวิกฤตควรมีลักษณะอย่างไร? เป็นประเด็นที่มีการพูดถึงกันมากตามสื่อต่างๆ คณาจารย์จากสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้นำเสนอบทความเรื่อง“บทเรียนจากผู้นำหญิงในภาวะวิกฤต: ผู้นำควรรับมือวิกฤตโควิด-19 อย่างไร?” สะท้อนมุมมองและข้อคิดเกี่ยวกับบทบาทความสำคัญของผู้นำที่เป็นผู้หญิงในภาวะวิกฤต ที่คนทุกเพศทุกวัยสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คณาจารย์จากศศินทร์ได้เผยถึงจุดเด่นของผู้นำหญิง และเหตุผลที่ทำให้ผู้นำหญิงสามารถบริหารจัดการสถานการณ์วิกฤตได้ดีกว่าผู้ชาย ทั้งในเรื่องของความละเอียดอ่อน ความเข้าอกเข้าใจ ความเห็นอกเห็นใจ อีกทั้งลักษณะเด่นโดยปกติของผู้หญิงคือจะมีความอ่อนหวาน เป็นกันเอง แต่เวลาที่ต้องตัดสินใจ ก็จะใช้ทั้งเหตุผลผสมกับอารมณ์ความรู้สึกและตัดสินใจได้อย่างเด็ดขาดในบางเรื่อง ยิ่งไปกว่านั้น ผู้หญิงยังมีทักษะในการสื่อสารที่ดี ชัดเจน ตรงไปตรงมาและเข้าถึงได้ง่าย ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในภาวะวิกฤต โดยมีงานวิจัยหลายชิ้นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันสนับสนุนสมมุติฐานดังกล่าว เช่นงานวิจัยทางจิตวิทยาสังคมของ George และคณะ (ปี 1998) พบว่า โดยเฉลี่ยผู้หญิงมักจะช่วยแก้ปัญหาของผู้อื่นได้ “ตรงกับความต้องการ” ของผู้รับการช่วยเหลือมากกว่าผู้ชาย ซึ่งเป็นทักษะที่มีความสำคัญอย่างมากในช่วงวิกฤต
ในงานวิจัยของ รศ.ดร.พัฒนาพร ฉัตรจุฑามาส จากสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ศ.ดร.ภรศิษฐ์ จิราภรณ์ จากมหาวิทยาลัย Penn State ประเทศสหรัฐอเมริกา (ปี 2019) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคณะผู้เขียนในบทความนี้ ได้ศึกษาบทบาทและความสำคัญของผู้นำหญิงในช่วงภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่ในปี 2008 หรือวิกฤตทางเศรษฐกิจที่ถูกเรียกว่า Hamburger Crisis ทางคณะผู้วิจัยได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสัดส่วนกรรมการบริหารที่เป็นผู้หญิงและผลประกอบการของบริษัท พบว่าบริษัทที่มีสัดส่วนกรรมการบริหารที่เป็นผู้หญิงมากกว่า จะมีผลประกอบการของบริษัทที่สูงกว่าทั้งตัวชี้วัดเชิงบัญชี เป็นต้น
ในสถานการณ์โควิด-19 ในปัจจุบัน น่าจะเป็นบททดสอบที่ท้าทายสำหรับผู้นำ ทั้งในระดับชุมชน ระดับองค์กร และระดับประเทศ บทความของนิตยสาร Forbes (2020) ได้ยกตัวอย่างผู้นำหญิงของประเทศเยอรมนี ไต้หวัน นิวซีแลนด์ ไอซ์แลนด์ ฟินแลนด์ นอร์เวย์และ เดนมาร์ก ว่าเป็นผู้นำหญิงที่มีการบริหารจัดการควบคุมการระบาดของโรคโควิค-19 ที่มีประสิทธิภาพ โดยผู้นำหญิงเหล่านี้ได้ให้ความสำคัญต่อการสื่อสารกับประชาชนเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ยังมีความละเอียดอ่อน ความเห็นอกเห็นใจ และความเอาใจใส่ ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของผู้นำต่อความสำเร็จในการบริหารจัดการการระบาดของโรคโควิด-19
ส่วนการบริหารจัดการวิกฤตโควิด-19 ในประเทศไทยนั้นถือได้ว่าเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่ได้รับการชื่นชมจากระดับนานาชาติว่ามีการบริหารจัดการที่ดี สามารถควบคุมจำนวนผู้ติดเชื้อ และมีจำนวนผู้ที่ได้รับการรักษาจนหายดีเป็นระดับต้นๆ ของโลก คณะผู้เขียนเห็นว่าความเข้าอกเข้าใจ ความเห็นอกเห็นใจ และการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพจะเป็นปัจจัยสำคัญที่สร้างความเชื่อมั่นให้กับทุกคน และเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในการบริหารจัดการในภาวะวิกฤติเช่นนี้ จุดเด่นของผู้นำหญิงที่ได้กล่าวไว้ในบทความนี้จึงเป็นสิ่งที่ผู้นำทุกคนสามารถนำมาปฏิบัติได้
อ่านเนื้อหาฉบับเต็มได้ที่
https://sasin.edu/content/insights/lessons-from-women-leaders-how-to-deal-with-the-covid-19-crisis
จุฬาฯ จัดงาน Chulalongkorn University’s Open House for International Programs 2025 แนะนำหลักสูตรภาษาอังกฤษของจุฬาฯ สู่การเป็นผู้นำทางการศึกษาระดับนานาชาติ
ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ ปัตตานี คว้ารางวัลระดับชาติ โล่ประกาศเกียรติคุณ “ผู้มีคุณูปการต่อเยาวชนมุสลิมดีเด่นแห่งชาติ” สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ศ.ดร.นพ.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล อดีตรองอธิการบดีจุฬาฯ ได้รับรางวัลบุคคลดีเด่น ประเภทบริหาร ด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2567 จากกระทรวงสาธารณสุข
จุฬาฯ เปิดโครงการอบรมครู “พิพิธภารัต 2567” และพิธีลงนาม MOU ส่งเสริมการสอนภาษาฮินดี
เชิญชวนนิสิตร่วมโครงการประเมินผลการเรียนการสอนออนไลน์ผ่านระบบ myCourseVille ปีการศึกษา 2567
อาจารย์และนิสิตสถาปัตย์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษา Tokyo Metropolitan University ที่ญี่ปุ่น
อาจารย์และนิสิตภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษาจาก Faculty of Urban Environmental Sciences, Tokyo Metropolitan University ประเทศญี่ปุ่น (TMU)
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้