ข่าวสารจุฬาฯ

อยู่บ้านนาน จนรู้สึกหมดไฟ “ดูแลใจในช่วง COVID-19”

หน่วยส่งเสริมสุขภาวะนิสิต (Chula Student Wellness) นำเสนอบทความ เรื่อง “ดูแลใจในช่วง COVID-19 อยู่บ้านนาน จนรู้สึกหมดไฟ ใครเป็นอย่างฉันบ้าง” โดยคุณชญานุช ศรีจันทร์ นักจิตวิทยาการปรึกษา ซึ่งได้กล่าวถึง

สภาวะหมดไฟ (Burnout)ว่า เป็นอาการที่อธิบายถึงการทำงานหนักอย่างต่อเนื่องและเร่งรีบ จนถึงจุดหนึ่งที่ร่างกายเกิดความอ่อนเพลียและจิตใจรู้สึกเหนื่อยหน่าย ทุกวันนี้ทุกคนถูกปิดกั้นไม่ให้ได้ใช้ชีวิตอย่างอิสระแบบแต่ก่อน หันไปมองทางใดในสถานการณ์โรคระบาด COVID-19 ก็จะเห็นอาการหมดไฟที่รายล้อมอยู่รอบตัว เราจึงควรเข้าใจที่มาของสภาวะหมดไฟในตัวเรา เพื่อการจัดการความเหนื่อยล้าเหล่านี้ให้ดีขึ้น

เหนื่อยล้ากับทางเลือกที่ต้องตัดสินใจ

ตื่นมาในแต่ละวันเราต้องนึกถึงอะไรบ้าง ข้อมูลมากมายในแต่ละวันที่เราได้รับและจำเป็นต้องตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ที่มีมากเกินไป ย่อมส่งผลต่อการลดลงของประสิทธิภาพการทำงานซึ่งในทางจิตวิทยาเรียกว่า “Decision fatigue” กล่าวอีกนัยหนึ่งคือโรคระบาดนี้บังคับให้ทุกคนต้องปรับเปลี่ยนและดิ้นรนในการตัดสินใจให้เร็วที่สุดว่าจะทำอย่างไรต่อไปกับชีวิตที่ไม่มั่นคงนี้ ในบริบทใหม่ที่เราไม่เคยถูกฝึกฝนให้เตรียมพร้อมรับมือมาก่อนและไม่มีใครคาดเดาได้ว่าอนาคตจะเกิดอะไรขึ้น ถึงกระนั้นมนุษย์มีสัญชาตญาณการเอาตัวรอดในสายเลือดและยังคงพยายามหาวิธีการที่จะมีชีวิตอยู่บนโลกนี้ต่อไป โดยการรื้อปรับโครงสร้างชีวิตแต่ละวันใหม่ด้วยการจัดลำดับสิ่งสำคัญในชีวิตและเลือกตัดสินใจเฉพาะเรื่องที่จำเป็นกับชีวิตจริงๆ

เหนื่อยล้ากับคาดหวังที่ต้องทำได้

ในสถานการณ์โรคระบาด COVID-19 ทุกคนประสบกับความอ่อนล้าทางอารมณ์และความวิตกกังวลและอาจพบว่าทักษะการรับมือ เดิมที่เคยใช้ได้ผล อาจไม่ได้ช่วยให้ความรู้สึกเหนื่อยล้าหมดไฟลดลง บางคนเกิดความเครียดมากขึ้นว่าตนไม่ได้ใช้ทุกนาทีให้คุ้มค่าและไม่ได้ทำสิ่งใหม่อย่างที่ใจคาดหวัง ซึ่งเพิ่มความรู้สึกวิตกกังวลและหมดไฟมากขึ้นกว่าเดิม ดังนั้นทุกคนจำเป็นต้องค้นหาสิ่งที่เหมาะสมกับตนเอง มีความเฉพาะเป็นรายบุคคล และไม่มีถูกผิดในสิ่งที่เลือกทำให้กับชีวิตตนเอง ให้สำรวจงานอดิเรกของตนเองและจงเลือกทำกิจกรรมใดก็ได้ในแบบของตน

ไม่ใช่กิจกรรมที่ยิ่งทำให้รู้สึกเครียดหรือเหนื่อยเพิ่มขึ้น เลือกทำสิ่งที่ช่วยให้ตัวเรามีความสุขได้แม้เพียงเล็กน้อย เป็นไปได้ว่าเราจะรู้สึกว่าตนเองล้มเหลวทั้งที่มีเวลาเพิ่มขึ้นในชีวิตตอนนี้ แต่ก็ไม่ใช่ว่าเราจะคาดหวังให้ตัวเองต้องทำอะไรได้มากกว่าเดิม ได้ผลงานเยอะกว่า เรียนได้ดีกว่าเดิมจากที่มีเวลาอยู่บ้านมากขึ้น ซึ่งนั่นอาจไม่จริงเสมอไป เพราะนี่อาจจะเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งแรกในชีวิตที่ต้องปรับรูปแบบการทำงาน การเรียนที่บ้าน การควบคุมค่าใช้จ่ายทางการเงิน และการดูแลคนในครอบครัวพร้อมกันในคราวเดียว

เหนื่อยล้าตอนนี้ไม่ได้คงอยู่ตลอดไป

สถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่มีเข้ามาและผ่านไป ทุกคนเผชิญโรคระบาดนี้ร่วมกัน มุมมองของเราจะเปลี่ยนไปหลังจากเรียนรู้ที่จะปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ชีวิตใหม่ เราจะมีความสามารถและความยืดหยุ่นในการรับมือกับข้อจำกัดของสถานการณ์ชีวิตในอนาคตได้เพิ่มขึ้น หากทุกคนได้กลับไปใช้ชีวิตอิสระตามปกติและมองย้อนกลับมาสถานการณ์ในวันนี้จะเห็นว่า เรื่องราวในวันนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของภาพชีวิตทั้งหมด ขอให้ลองนึกทบทวนข้อดีและข้อเสียของความเสี่ยงแต่ละทางเลือกที่เราพอจะสามารถลงมือทำได้ ลองเรียบเรียงเขียนออกมาให้ตัวเองได้เห็นตัวเลือกที่สามารถลงมือทำได้ทันทีตามศักยภาพของตน การกระทำบางอย่างแม้เพียงเล็กน้อยย่อมเสี่ยงน้อยกว่าไม่ได้กระทำการใดเลย ยิ่งไม่ได้เริ่มต้นกระทำการใดแล้วยิ่งกระตุ้นความรู้สึกเหนื่อยหน่ายและหมดไฟให้คงอยู่ต่อไปนานขึ้นโดยไม่จำเป็น

อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ >> https://wellness.chula.ac.th/?q=node/324

แปลจาก https://www.bbc.com/worklife/article/20200330-covid-19-how-to-learn-a-new-skill-in-coronavirus-quarantine

จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด

คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า