รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
18 พฤษภาคม 2563
ข่าวเด่น
จากการเสวนาออนไลน์ Young MHESI Scholar’s Townhall ครั้งที่ 6 เรื่อง“ภูมิทัศน์ใหม่ของการศึกษาไทยในยุค New Normal” โดยกระทรวงการอุดมศึกษาฯ เมื่อ 15 พฤษภาคมที่ผ่านมา รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย รองอธิการบดีฝ่ายการพัฒนางานใหม่และนวัตกรรม จุฬาฯ ร่วมเป็นวิทยากรบรรยายในโจทย์เรื่อง New Landscape ภูมิทัศน์ทางด้านการศึกษาจะเป็นอย่างไรในยุค New Normal
รศ.ดร.ณัฐชา กล่าวว่าการเรียนการสอนในอนาคตจะต้องมีความสนุก ต้องตอบโจทย์ความต้องการของผู้เรียนและสังคม และสร้างคนที่มีความสามารถให้อยู่รอดได้ในระยะยาว โดยอาศัย 3 สิ่งคือ 1. นวัตกรรมองค์กรแบบบูรณาการ (Integrated Innovation Enterprise) เป็นโจทย์หรือ model หลัก ซึ่งก็คือการนำความคาดหวังและความต้องการของสังคมมาบูรณาการเข้ากับหัวใจของมหาวิทยาลัย 2. งานวิจัยและองค์ความรู้ใหม่ๆ (Research) และการสร้างคนที่มีคุณภาพ ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของอุดมศึกษา รวมไปถึงมุ่งเป้าไปที่ประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจหรือความยั่งยืนขององค์กรที่มี่รายได้ และ 3. ประโยชน์ทางด้านสังคม (Education towards Socio-Economic Impacts) เช่นเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆ อาทิ การระบาดของโควิด-19 หรือปัญหาฝุ่น PM2.5 มหาวิทยาลัยได้นำองค์ความรู้ไปช่วยเหลือสังคมอย่างไร
ทั้งนี้ในอนาคต มหาวิทยาลัยจะต้องเผชิญกับปัญหาการเติบโตของเทคโนโลยี (Growth of Technology) ความเปลี่ยนแปลงไม่แน่นอนต่างๆ (Uncertainty) และวงจรของนวัตกรรมต่างๆ ที่สั้นลง (Short Innovation Cycle) จนงานวิจัยหรือองค์ความรู้ที่มีอยู่ของมหาวิทยาลัยตามไม่ทัน Keyword ที่สำคัญที่จะให้มหาวิทยาลัยอยู่รอดได้ ประกอบด้วย 3 สิ่ง ได้แก่ Relevancy, Impact และ Speed คือสามารถแปลงความต้องการเหล่านั้นให้ออกมาเป็นวิธีการแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว ตราบใดที่มหาวิทยาลัยยังตอบโจทย์คุณค่าหลักที่ผู้เรียนและสังคมต้องการได้อย่างรวดเร็วและสร้าง Impact ได้ มหาวิทยาลัยก็จะยังคงอยู่รอด
ตัวช่วยที่จะทำให้ทั้ง 3 Keyword ประสบความสำเร็จก็คือ สมรรถนะหลัก (Core Competency/ Core Value) ขององค์กร ซึ่งมหาวิทยาลัยมีสินทรัพย์ (asset) ที่สำคัญคือ ทรัพยากรมนุษย์ที่มีความสามารถจำนวนมาก (Entrepreneurial Talents) และองค์ความรู้ใหม่ที่แตกต่างหรือต้นทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) จากงานวิจัยที่เป็นเป้าหมายหลักของมหาวิทยาลัยอยู่แล้ว แต่จะทำอย่างไรให้เกิดความเกี่ยวข้องและเกิดประโยชน์สู่สังคมได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจุฬาฯ ได้พยายามบูรณาการให้สอดคล้องกับ SDGs หรือเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) ขององค์การสหประชาชาติ มาใช้ในการสร้างคน และสร้างงานวิจัย ซึ่งเป็นพันธกิจที่สำคัญ
ดังนั้น ภูมิทัศน์ใหม่ทางด้านการศึกษาหลังโควิด-19 จึงมีมากกว่าเรื่องของออนไลน์และดิจิทัล แต่จะต้องผนวกเข้ากับสมรรถนะหลักของมหาวิทยาลัยเพื่อให้เกิดการนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างสูงสุด คือเป็น Global Integrated Relevant and Life-Long Learning ซึ่งจะได้ผลลัพธ์ที่สำคัญคือ 1. Policy Development (การพัฒนาด้านนโยบาย )2. Innovation (นวัตกรรม) และ 3. Community Engagement (การมีส่วนร่วมกับชุมชน) ซึ่งหากทำทั้งสามผลลัพธ์นี้ได้ดี สิ่งที่ประเทศไทยจะได้ก็คือ Intellectual Impact หรือสังคมอุดมปัญญา เกิดประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจและสังคมจากการนำ Innovation และ Community Engagement มาใช้ ท้ายที่สุดแล้วเราก็จะได้สังคมที่มีความสุข มั่นคง และยั่งยืน
การเสวนาออนไลน์ Young MHESI Scholar’s Townhall ครั้งที่ 5 ดำเนินรายการโดย รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ จากวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น ม.ขอนแก่น โดยมีผู้ร่วมเสวนา ประกอบด้วย ศ.ดร.ทพญ.ศิริวรรณ สืบนุการณ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อ.อธิษฐาน์ คงทรัพย์ รองคณบดีฝ่ายวัฒนธรรมองค์กร คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดร.พัฒนพล เหรียญโมรา รองคณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และคุณสรวิศ ไพบูลย์รัตนากร ผู้ก่อตั้งมูลนิธิโรงเรียนวันเสาร์ Saturday School Foundation
ผู้สนใจสามารถติดตามรับชมย้อนหลังได้ทาง Facebook Live ของกระทรวงการอุดมศึกษาฯ https://www.facebook.com/groups/youngmhesischolars/permalink/679718655935482/
นิสิต BBA จุฬาฯ กวาดรางวัลจากเวทีระดับโลก ASEAN-CHINA-INDIA Youth Leadership Summit 2024
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเยี่ยมชมศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ ชื่นชมความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมฮาลาล
สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ ร่วมมือ สสส. – พม. สานพลังภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนงานคนไร้บ้าน
โครงการ Dogcoola กิจกรรมดี ๆ ที่สร้างสรรค์โดยนิสิตสัตวแพทย์ จุฬาฯ เชิญชวนบริจาคโลหิตช่วยชีวิตคนและส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์
นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเปิดการประชุมวิชาการนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์สาธารณสุข ครั้งที่ 24 Public Health 360: From Policy to Practice
เชิญร่วมกิจกรรม Chula Lunch Talk : GenAI x งานวิจัย: 1 ปี ที่เปลี่ยนไป! ความท้าทายใหม่ ที่นักวิจัยต้องรู้
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้