รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
29 พฤษภาคม 2563
ข่าวเด่น
ก่อนที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะเปิดให้บุคลากรบางส่วนเข้ามาปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยระยะแรกตั้งแต่วันที่ 4 – 21 มิถุนายน 2563 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้มีแนวปฏิบัติให้บุคลากรทุกคนต้องผ่านการประเมินความเสี่ยงทางระบบออนไลน์ก่อน ซึ่งผู้ที่ได้รับผลการประเมินว่าเป็นกลุ่มที่มีความจำเป็นต้องเข้ารับการตรวจคัดกรองเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยเร็ว จะสามารถทำนัดเพื่อเข้าได้รับการตรวจคัดกรองด้วยชุดตรวจ Chula Baiya COVID-19 Strip Test ควบคู่ไปกับการตรวจแบบ RT–PCR ที่ศูนย์บริการสุขภาพฯ
ทั้งนี้ ต้องเข้าใจก่อนว่าวิธีการตรวจโดย Chula Baiya COVID-19 Strip Test เป็นการตรวจหาภูมิคุ้มกันเชื้อ COVID-19 จากตัวอย่างเลือด (ทราบผลทันที) ในขณะที่การตรวจแบบ RT-PCR เป็นการตรวจเพื่อหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จากสารคัดหลั่งหลังโพรงจมูกและคอหอย (ทราบผลในวันถัดไป) ในกรณีที่ผลการตรวจด้วบชุดตรวจ Chula Baiya COVID-19 Strip Test ออกมาเป็นบวก (Positive) ก็ยังไม่สามารถระบุแน่นอนได้ว่าบุคคลนั้นเป็นผู้ป่วยโรค CIVID-19 แต่มีโอกาสเป็นไปได้ว่าร่างกาย“เคย” ได้สัมผัสกับผู้ที่ติดเชื้อ หรือมีภูมิต้านทานเชื้ออยู่ในร่างกายแล้ว ซึ่งต้องรอผลการตรวจแบบ RT-PCR ในวันถัดไปเพื่อยืนยัน ระหว่างนี้แพทย์จะแนะนำให้กักตัวแยกจากบุคคลอื่นเป็นเวลา 7 วัน แล้วให้กลับมาตรวจซ้ำอีกครั้ง นอกจากนี้ ข้อมูล ณ วันที่ 29 พฤษภาคม 2563 จากศูนย์บริการสุขภาพฯ พบว่ายังไม่มีบุคลากรที่เข้าร่วมโครงการคัดกรองมีผลการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR เป็นบวกแม้แต่รายเดียว
ในตารางสรุปการแปรผลการตรวจด้านล่างนี้ เป็นการสรุปผลการตรวจโดย Chula Baiya COVID-19 Strip Test และการตรวจแบบ RT–PCR พร้อมทั้งแนวทางการปฏิบัติตนที่ถูกต้องตามคำแนะนำของแพทย์ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ตรงกันและลดความตื่นตระหนกหลังทราบผลการตรวจ
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่โทรศัพท์สายด่วน COVID-19 ศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาฯ โทร. 08-0441-9041 (เวลา 08.00-20.00 น.) โทร. 0-2218-0568 (เวลา 08.00-15.00 น.)
พิธีเปิดกิจกรรม Enrichment Program for CU รุ่นที่ 2 และกิจกรรมประเมินความสุข (CU Happiness)
มีนาคม - กรกฎาคม 2568
PMCU เปิดโอกาสให้เยาวชนไทยประกวดออกแบบพื้นที่อุทยาน 100 ปีจุฬาฯ ให้เป็นสวนแห่งความสุข ภายใต้แนวคิด CHULA FOR ALL
จุฬาฯ จับมือธนาคารออมสิน เปิดตัวโครงการ “GSB CED 2568” หนุนชุมชนท้องถิ่นพัฒนาสู่ความยั่งยืน
จุฬาฯ จัดการประชุมชี้แจงให้ความรู้แก่สมาชิก กบข. สิทธิประโยชน์ที่ควรรู้
เชิญร่วมสัมมนาออนไลน์ครูผู้สอนภาษาอังกฤษ มาตรฐาน CEFR
3 เม.ย. 68
โปรแกรม Zoom
จุฬาฯ อันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทย Top ของประเทศ 34 สาขา จัดอันดับโดย QS University Rankings by Subject 2025
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้